Know how & How to in HSE Management, EP.1 Managing QHSSE

เผยแพร่เมื่อ: 15/05/2563....,
เขียนโดย คุณสืบศักดิ์ ชนะชัยสุวรรณ, Know how & How to in HSE Management Series...,

 

“เริ่มต้น ชีวิตนักบริหาร อาชีวอนามัยและความปลอดภัย”

7 มิถุนายน 2531 คือวันแรกของการ  ออกนอกอาณาจักรของ ภาคอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยวันนั้นได้ตามท่านอาจารย์   ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ ไปทำงานโปรเจคแรกในชีวิตคือ JSA ที่ บริษัท Johnson & Johnson Thailand Limited (Consumer Products)  ผมจำได้ว่าเราไปกันหลายท่าน มีผมและ คุณกฤษฏา ประเสริฐสุโข ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด และเพื่อนๆอีก 2 ท่าน ซึ่งในเวลาต่อมา ผมได้ทำงานที่บริษัทนี้เป็นที่แรก และเป็นโรงเรียนอาชีพแห่งแรก ที่เริ่มสอนงานการบริหารจัดการตั้งแต่วันแรกของการทำงาน ในช่วง 2 เดือนแรกกับการทำงานในฝ่ายบุคคลพร้อมไปด้วยกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง ผู้ประสานงานความปลอดภัย (Safety Coordinator) และในฝ่ายขายอีก  2 เดือนถัดมา และเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ที่ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการตลาด และอื่น ๆ  จนครบทั้งบริษัท 

การปฏิบัติด้วยแผนงานแบบนี้ ทำให้ทราบถึงวิธีคิดและวิธีการจัดการในหลายแง่มุม เข้าใจถึงความต้องการ ของพนักงานในแต่ละฝ่ายได้ชัดเจน วิธีนี้ทำให้ผมสามารถประสานงานกับ ทุกฝ่ายได้ง่ายและราบรื่น เนื่องจากความเป็น เพื่อน เป็นพี่ และพนักงานต่างๆ ก็เห็นความเป็นไปในขบวนการประสาน งานของผม ในเวลาต่อมาหลายท่านที่เป็น ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้จัดการแผนกต่างๆ กลายมาเป็น HSE Element Manager ที่รับผิดชอบงานด้านต่างๆ ในการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้บริษัท และช่วยให้พนักงานใต้บังคับบัญชาของแต่ละท่าน ปฏิบัติงานตามแผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแต่ละแผนก และสอดประสานกับแผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทฯ ซึ่งอยู่ในส่วนความปลอดภัย ฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งรายงานตรงกับ ผู้บริหารสูงสุด

การที่ได้มี โอกาส ร่วมงานกับ บริษัทที่มี แนวคิดที่ทันสมัย และต้องการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ตั้งแต่แรกเข้า ตั้งแต่ปี 2531 เป็นสิ่งใหม่มากในเวลานั้น ภายใต้แนวคิดของบริษัทที่ต้องการเป็น World Class Manufacturing การเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงาน ผมจึงต้องเริ่มการพัฒนาตนเองตั้งแต่นั้นมา  ต้องเริ่มสร้างนวัตกรรมในการทำงาน เป็นอย่างมาก ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจพื้นที่การสังเกตการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์ พนักงาน ผู้บริหาร ทุกคน  ทุกวัน เพื่อวางแผนงานที่เรียกว่า BSA (Behaviour Safety Analysis) ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า BBS ในปัจจุบัน เราดำเนินงานด้วยขบวนการที่เรียกว่า Attitude Changing Process (ACP)  การxปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อความปลอดภัยให้เหมือนกับว่า ทุกท่านมีคลื่นความคิดความรู้สึกด้านความปลอดภัยที่ใกล้เคียงกันที่สามารถจูนกันได้ตลอดเวลา

สิ่งนี้ทำให้ผมจำพนักงานในบริษัทได้ทุกท่าน และเขียนแผนงานการป้องกันอันตรายจากการทำงานเฉพาะบุคคล เพื่อสรุป HSE - Personal Protection Scheme ให้กับทุกคน และวัดผลการประเมินการปฏิบัติงาน ของพนักงานเทียบกับ Personal Goals เทียบได้เป็น 20 % เฉพาะเรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย ส่วน 80 % ที่เหลือคือวัดจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบในด้านอื่น ๆ ทั่วไป

ผลงานในการปฏิบัติงานที่ปฏิบัติงาน ที่แรกนี้ คือ สามารถทำให้บริษัท ผ่านการปฏิบัติงานที่ไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานเป็นเวลา 4 ปี (4 Years without LWDC) จนผมลาออกจากบริษัทแห่งนี้ (ผมยังกลับมาปฏิบัติงานที่นี่อีกรอบ ด้วยเวลาที่นานขึ้น 12 ปี ไว้ใน EP อื่น ๆ จะมาเล่า วิธีการ บริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างไร ไม่มีอุบัติเหตุขั้นหยุดงานเลย มากกว่า 15 ปี) 

และจะมาเล่าให้ฟังถึง Find ‘n Fix และ IFCP ว่ามันคืออะไรเป็นนวัตกรรมใหม่หรือไม่ ใน EP ต่อ ๆ ไป  ใน EP นี้ มีงานบริหารอันหนึ่งที่อยากจะกล่าวถึง คือ Management Action Plan (MAP)

Management Action Plan (MAP) คือแผนงานการจัดการและดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริหาร ที่ทางกลุ่มบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ทั่วโลกในสมัยนั้นนำมาใช้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานทุกด้านในองค์กร ในเอกสารแค่ 1 แผ่น สามารถเห็นถึง งาน ชนิดของงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้สนับสนุน หมายกำหนดการแล้วเสร็จ พูดถึงเอกสาร Implementation Plan ในปัจจุบันน่าจะคุ้นกันอยู่ แต่ความพิเศษคือในสมัยนั้น ผมคือคนขับรถขบวนนี้ ที่ต้องคอยตามดู เกจ ของ KPI ในแต่ละทีม และสรุปความก้าวหน้าของการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแบบเกือบจะ Real Time เราเรียกกันว่า Dash Board ในตอนนั้นเป็นบริษัทแรกๆที่นำเอา CIM – Computer Integration Management System มาใช้ในบริษัทครับ   สนุกแต่ก็เหนื่อยในตอนแรกที่นำมาใช้งาน แต่ระยะหลัง มันคือ Big Data ของบริษัทเลยทีเดียว ผมทราบเช่นกันว่าในบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ต่างก็นำระบบที่ผมพูดถึงมาใช้ แต่ที่นี่ให้ผู้จัดการทุกระดับ ส่งผลงาน ความก้าวหน้า ผ่าน MAP ทุกวัน จึงมีส่วนน้อยมากที่อาจจะ overlooked โดยผู้บริหารระดับสูง และใน MAP มีการระบุถึงการจัดการ Resources, Budgets ต่าง ๆ ที่จัดสรร มาเพื่องานต่าง ๆ ที่ระบุใน MAP ในระยะถัดมาจึงเกิด ISO ต่างๆขึ้นมาและเริ่มมี Management Review Session ในระบบการบริหารงานสิ่งแวดล้อม (EMS) ระบบงานคุณภาพ (QMS)

 

หัวข้อที่จะนำมาคุยในตอนต่อ ๆ ไป

  • The 4 colors and 8 Roles 
  • Transactional and Transformational Leadership
  • Work System and Management System
  • QHSSE Life Cycle in the Project Management
  • Performance Oriented not just only results
  • Engagement Management for all functions
  • What is your goals? vs What is your strategy ?
  • Organizational QHSSE Element Manager
  • Critical to QHSSE  
  • WIGs-LAG-LEAD-A4-8P for OHSMS
  • Expertise Transformation and Transition.
  • และอื่นๆ

 

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ใน 2 ขวบปีแรกของการทำงานจริง หลังจบมหาวิทยาลัย มันคือจุดเริ่มต้นของการเป็น “นักบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย” คำว่า นักบริหาร และ ผู้บริหาร ต่างกันในระดับการบังคับบัญชา แต่ในมุมมองของผม มันคือศิลปะที่เราสามารถฝึกและเรียนรู้ได้ ผู้บริหารที่ขาดทักษะของการเป็นนักบริหารในส่วนต่างๆ อาจทำให้งานที่ดำเนินการอยู่ไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้ามีทักษะการบริหารงานและประสานงานได้ จะทำให้งานใดๆที่ว่ายากแสนยาก อาจประสบผลสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็น 

ในส่วนของSoft Skill และความรู้พื้นฐานไม่ใช่เพียงแค่องค์ความรู้ในวิชาชีพเท่านั้น ความรู้เบื้องต้นเชิงธุรกิจขององค์กรที่เราปฏิบัติงานอยู่ ความรู้และความสามารถอื่นๆอีกมากมายทั้ง การบริหารคน การประสานงาน การสื่อสารที่ตรงเป้าหมาย ในด้านการตลาด มันคือตัวช่วยที่สำคัญมากๆ ในปัจจุบันมีวิชาหนึ่งที่ไม่ค่อยมีสอนในมหาวิทยาลัยเพราะมันต้องใช้เวลาและประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานจริงคือ ...การเป็นนักประสานประโยชน์และจัดการให้ สิ่งที่อยู่ในหัวที่เรียกว่าภาพคิดในสมองเรา ออกมามีชีวิตได้จริงครับ คิดว่าสิ่งที่เขียนมาให้อ่านกันใน EP นี้น่าจะไปทำให้เกิดแนวทาง หรือความคิดที่ น่าจะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆ ผู้ร่วมวิชาชีพทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ ในส่วนของผมจะเป็น การถ่ายทอดในมุมมองของ ..นักบริหารและประสานงาน..ครับ ส่วนเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Academic และ Specialist ในด้านต่างๆก็มีให้ติดตามใน Series Meet the Professional ที่นี่นะครับจากนักถ่ายทอดประสบการณ์มท่านอื่นๆอย่างต่อเนื่องเลยนะครับ.

พบกันใหม่ใน EP หน้านะครับผม  ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ครับ  ........... - สืบศักดิ์ ชนะชัยสุวรรณ

 
Visitors: 367,095