เฉลย Would these tanks be considered confined spaces?

เผยแพร่เมื่อ: 30/06/2563....,
เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา, นายกสมาคม ส.อ.ป.,

 

เฉลย Would these tanks be considered confined spaces?
 
ทบทวนข้อมูลก่อน คือมีคำถามว่า aircraft fuel cells (tanks) are approximately 12 inches wide but many feet in length ซึ่งพนักงานจะเอาแขน มือ เข้าไปทำงาน และบางกรณีก็มีที่เอาศีรษะเข้าไปด้วย โดยส่วนอื่นของร่างกายจะอยู่นอกถังที่ว่านี้

โจทย์ถามว่า ลักษณะงานนี้ถือเป็นที่อับอากาศหรือไม่ตามกฎหมาย OSHA และตามกฎหมายความปลอดภัยแรงงานของไทยเรา
1. ตอบคำถามแรกก่อน ก็ต้องมาเริ่มต้นที่นิยามกันว่าทาง OSHA เขาให้นิยามว่าอะไร อย่างไร เมื่อทราบแล้วก็มาพิจารณาว่าแล้วกรณีนี้เข้ากับนิยามไหม หากไม่เข้าข่าย ก็แปลว่าไม่ใช่ที่อับอากาศ
 
     ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา ให้นิยามว่า “Confined space means a space that: (1) is large enough and so configured that an employee can bodily enter and perform assigned work; and (2) has limited or restricted means for entry or exit (for example, tanks, vessels, silos, storage bins, hoppers, vaults, and pits are spaces that may have limited means of entry.); and (3) is not designed for continuous employee occupancy.” (สังเกตว่ากฎหมายใช้คำว่า “and” ทุกข้อ)
 
นั่นหมายความว่าต้องเข้าข่ายทั้ง 3 เงื่อนไขจึงจะถือว่าเป็นที่อับอากาศ คือ
     1) พื้นที่ต้องใหญ่พอที่ร่างกายจะเข้าไปได้หมดและ (ยัง) มีพื้นที่พอให้ทำงานที่ได้รับมอบหมายอีกด้วย
     2) มีทางเข้าออกที่จำกัด
     3) ไม่ได้กำหนดเป็นพื้นที่สำหรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง

อ่านเพียงเงื่อนไขที่ 1 ก็ได้คำตอบแล้วว่ากรณีนี้ “ไม่เข้าข่าย” เป็นที่อับอากาศ (เงื่อนไขอีก 2 ข้อก็ตกไปแล้ว ไม่ต้องพิจารณาแล้ว)

      ต่อไปนี้คือคำตอบของ OSHA ครับ
If it is possible for the employee to fit his or her entire body within the tanks, then they would be confined spaces under §1910.146. On the other hand, if an employee cannot enter the tanks with his or her entire body due to the size of the tanks' diameters, then the tanks would not be considered confined spaces. (อย่างไรก็ตามขอให้อ่านตรงหมายเหตุข้างล่างด้วยนะครับ)

2. ทีนี้มาตอบคำถามที่สองที่ถามว่าแล้วตามกฎหมายไทย ถือเป็นที่อับอากาศไหม
แนวทางการตอบก็ต้องไปดูว่ากฎกระทรวงว่าด้วยที่อับอากาศปี 62 ของเรากำหนดไว้อย่างไร อ่านดูครับ

“ที่อับอากาศ” (Confined Space) หมายความว่า ที่ซึ่ง 1) มีทางเข้าออกจํากัด และ 2) ไม่ได้ออกแบบไว้สําหรับเป็นสถานที่ทํางานอย่างต่อเนื่องเป็นประจํา และ 3) มีสภาพอันตราย หรือมีบรรยากาศอันตราย (สังเกตว่ากฎหมายใช้คำว่า “และ” ทุกข้อ)

ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ว่า
—————————————————————————————————
      ที่อับอากาศ = มีทางเข้าออกจํากัด
      + ไม่ได้ออกแบบไว้สําหรับเป็นสถานที่ทํางานอย่างต่อเนื่องเป็นประจํา
      + มีสภาพอันตราย หรือมีบรรยากาศอันตราย
—————————————————————————————————
วิเคราะห์ถึงตรงนี้ก็จะเห็นว่าต้องมี 3 เงื่อนไข จึงจะนับเป็นที่อับอากาศ และจากกรณีนี้พบว่าเข้า 2 เงื่อนไขแรกแล้ว ก็ต้องมีพิจารณาต่อว่าแล้วเงื่อนไขที่ 3 ละ เข้าข่ายด้วยไหม

เงื่อนไขที่ 3 ต้องแยกพิจารณาว่า “มีสภาพอันตรายไหม” หรือ “มีบรรยากาศอันตรายไหม” หากมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ถือว่าเข้าเงื่อนไข 3 แล้ว
กฎหมายไทยบอกว่า จะดูว่า “มีสภาพอันตรายไหม” ให้พิจารณาว่าสภาพหรือสภาวะที่ลูกจ้างทำงานนั้น มีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่ (หากมี ก็เข้าเงื่อนไขทันที)
——————————————————————————————————
      (1) มีวัตถุหรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดการจมลงของลูกจ้างหรือถมทับลูกจ้างที่เข้าไปทํางาน
      (2) มีสภาพที่อาจทําให้ลูกจ้างตก ถูกกัก หรือติดอยู่ภายใน
      (3) มีสภาวะที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากบรรยากาศอันตราย
      (4) สภาพอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
——————————————————————————————————
ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าสภาพอันตรายข้อ (1) & (2) ไม่มีแน่นอน ส่วนข้อ (4) นั้น ทางอธิบดีก็ยังไม่กำหนด จึงต้องมาดูว่าแล้วข้อ (3) จะมีไหม
กฎหมายไทยบอกว่า จะดูว่า “บรรยากาศอันตราย” หรือไม่ ก็ให้พิจารณาว่าจะมีเรื่องข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้หรือไม
——————————————————————————————————-
      (1) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร
      (2) มีก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำ
ของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (lower flammable limit หรือ lower explosive limit)
      (3) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำสุด ของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (minimum explosible concentration)
      (4) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กําหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วย การกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
      (5) สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
——————————————————————————————————
ซึ่งวิเคราะห์แล้ว จะเห็นว่าเรื่องในข้อ (1), (2) และ (4) มีโอกาสเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ดังนั้นสถานที่ทำงานตามโจทย์ จึง “เข้าข่าย” เป็นที่อับอากาศครับ

Tip ดังนั้น หากไม่อยากให้เป็นที่อับอากาศ ก็พยายามขจัดเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่เข้าข่าย ก็จะได้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้

หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม ในฐานะจป.วิชาชีพ ถึงแม้จะไม่เข้าข่าย แต่ก็อย่าลืมประเมินความเสี่ยงงานที่ลูกจ้างทำนะครับ เพราะอาจมีอันตรายอื่น ๆ ก็เป็นได้ ซึ่งแนวทางที่แนะนำนี้ ทาง OSHA ก็แนะนำผู้ถามคำถามนี้เช่นกัน ดังนี้
An employee may still be injured or killed as a result of some atmospheric hazard within such a tank; however, the permit-required confined spaces standard is not intended to address all locations that pose atmospheric hazards. Please be advised that the procedures to protect workers from atmospheric hazards within these tanks would be required by other OSHA standards, such as Subpart Z of Part 1910 General Industry Standards.

หวังว่าสาระที่นำเสนอมานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ พร้อมนี้เชิญชวนกันกด like เพจสอป./ เข้าไปเยี่ยมเยียนเว็บไซต์สอป. / และส่งต่อ ๆ ให้ด้วยนะครับ
หมายเหตุ - ในส่วนของการตอบข้อ 2 กฎหมายไทย หากมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เรียนเชิญแสดงความคิดเห็นครับ จะได้มีหลากหลายมุมมอง และเป็นประโยชน์กับผู้อ่านด้วย

 

Visitors: 361,724