แนะนำหลักสูตร การจัดทำ OSHA RPP

อบรมวันที่ 28-29 กันยายน 2563
โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

 

แนะนำหลักสูตร การจัดทำ OSHA RPP

          วันที่ 28 กันยายน 2563 หัวข้อ OSHA RPP& Respirator Selection
          
หลักสูตรนี้มีสองวัน วิธีการฝึกอบรมมีทั้งบรรยายภาคทฤษฎี เสริมด้วยสิ่งที่ปฏิบัติกันในโรงงาน มีการสาธิต ให้ทดลองปฏิบัติ และการทำ Workshop สร้างความมั่นใจว่าทำ Respiratory Protection Program ได้เมื่อสิ้นสุดการอบรม

          วันที่ 28 กันยายน 2563 ช่วงเช้า หัวข้อ OSHA RPP& Respirator Selection
          กฎหมายไทยจะกำหนดเรื่องการสวมใส่ PPE เรื่องมาตรฐานของ PPE แต่ไม่มีข้อกำหนดโดยตรงเกี่ยวกับ Respirator และการจัดทำเป็นโปรแกรม (ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่อุดหู/ที่ครอบหู ที่มีรายละเอียดด้านเทคนิคมาด้วยรวมทั้งการทำโปรแกรมอนุรักษ์การได้ยิน) สอป.หยิบยกของข้อกำหนดของ OSHA มาเพราะนอกจากจะมีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วน เป็น Proactive แล้ว กฎหมายบ้านเราก็นิยม copy กฎหมาย OSHA มาใช้งาน จึงเหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาหลักสูตรนี้
          เช้าวันแรกจึงต้องฉายภาพรวมให้เห็นว่า OSHA RPP ประกอบด้วยข้อกำหนดอะไรบ้าง แล้วจึงมาขยายความเป็นเนื้อหารายละเอียด ซึ่งเช้าวันแรกเรื่องสำคัญสุดก็คือ “ต้องเลือกเป็น” ในการอบรมจึงมีการเตรียมการสอนแบบสอนไป บรรยายไป ควบคู่กับการให้ผู้ฟังคิดไป และทำกิจกรรมระหว่างการบรรยาย จึงเป็นการทวนสอบความเข้าใจไปในตัว และตบท้ายด้วยการทำ Workshop โดยมีสถานการณ์จำลองจากชีวิตการทำงานจริงมาเป็นข้อมูลประกอบการทำ Workshop นอกจากนี้ จะมีหัวข้ออื่น ๆ ที่ต้องดำเนินการ ไม่งั้นไม่มีทางประสบความสำเร็จในการป้องกันการสัมผัสทางหายใจด้วย Respirator อย่างแน่นอน
          เช้านี้จึงมุ่งหวังให้จป.วิชาชีพ นักสาธารณสุข แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ พยาบาลอาชีวอนามัย ฯลฯ ที่มาอบรม ได้มีข้อมูลเพื่อนำไปสอนหรือแนะนำหัวหน้างาน ลูกจ้างผู้สวมใส่ ให้มีความเข้าใจในการใช้งานได้ถูกต้อง เพื่อให้การใช้ Respirator มี Effective จริงๆ

          วันที่ 28 กันยายน 2563 ช่วงบ่าย หัวข้อว่าด้วยเรื่อง Fit Test และ ESLI

          เรื่อง Fit Test นี้ ไม่แน่ใจว่าบ้านเราซีเรียสกันมากน้อยแค่ไหน แต่ฝรั่งทางอเมริกาและยุโรปจะให้น้ำหนักความสำคัญมาก เช่นหากพบว่าไม่ได้ทำ ไม่ได้สอน ไม่ได้แจ้งคนงาน ทาง OSHA ฟ้องแจ้งข้อหาและสั่งปรับกันมาแล้ว เรื่องนี้จป.ต้องดำเนินการครับจึงจะมืออาชีพ นักสาธารณสุข แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และพยาบาลอาชีวอนามัยที่ดูแลทั้งลูกจ้างในระบบ นอกระบบ แรงงานรับงานไปทำที่บ้าน แรงงานภาคเกษตรกรรม ก็ต้องแนะนำผู้สวมใส่ครับ เพื่อให้ความมั่นใจในการป้องกันอย่างแท้จริง
          
การทดสอบความฟิต คือการทดสอบความแนบสนิทของการสวมใส่ที่จะไม่ให้สารมลพิษ (รวมถึงเชื้อโรคด้วย) เล็ดลอดเข้าไปในจมูกเราเกินกว่าที่กำหนด มีทั้งการทดสอบแบบง่ายๆ เมื่อจะใช้งานแต่ละครั้ง และการทดสอบเชิงบริมาณและเชิงคุณภาพที่กฎหมาย OSHA กำหนดว่าต้องทำ
          
คุณนันท์นภัส สาระโภค มืออาชีพด้านนี้จากบริษัท 3M ประเทศไทย จำกัด ให้เกียรติเป็นวิทยากรในภาคบ่ายของการอบรมในวันแรก ในการบรรยาย จะมีการสาธิต และให้ลองฝึกปฏิบัติกัน มีอุปกรณ์มาตรฐานมาให้ได้รู้จักกันควบคู่ไปกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง Fit Test ในหลักสูตรนี้ ต้องการสร้างความคุ้นเคยและความมั่นใจในการนำความรู้ไปใช้งานของผู้รับการอบรม ซึ่งหลักสูตรที่คล้ายกันอาจจะไม่มีในกิจกรรมของหัวข้อนี้
          
อีกหัวข้อใหญ่คือเรื่อง End of Service Life Indicator (ESLI) นี้คืออีกเรื่องที่สำคัญมาก เพราะการมี Respirator นั้น ไม่ได้หมายความว่าสามารถใช้ได้จนพังแล้วค่อยมาเปลี่ยน แต่ของมันมีราคาพอควร การจะเปลี่ยนก็ต้องมีเหตุมีผลที่รับฟังได้ จป.วิชาชีพจึงต้องมีเทคนิคและรู้ว่าของพวกนี้จะเปลี่ยนกันเมื่อไร ด้วยเหตุผลใด แล้วนำไปอธิบายกับทางผู้บริหารให้เข้าใจ วิธีการสำหรับนำไปใช้กับ Particulate Respirator และกับ Gas&Vapour Respirator ก็ต่างกัน มาเรียนรู้กันครับ

 

          วันที่ 29 กันยายน 2563 หัวข้อว่าด้วยเรื่อง Medical Evaluation
          
นี้คือประเด็นหลักที่ในบ้านเราน่าจะไม่มีการดำเนินการใด ๆ อย่างจริงจัง ทั้งที่เป็นเรื่องถึงเสียชีวิตได้หากผู้ใช้ไม่แข็งแรงพอ หรือมีโรคเรื้อรังบางอย่างอยู่ รศ.ดร.พญ.เนสินี ไชยเอีย หัวหน้าสำนักงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จากสาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มข.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ที่มีประสบการณ์ในเรื่องการจัดทำ OSHA RPP ให้เกียรติสอป.มาเป็นวิทยากรในหัวข้อดังกล่าวในเช้าวันที่สองของการอบรม โดยตั้งแนวการบรรยายไว้ว่าให้จป.วิชาชีพ และ non Medical มีความรู้ความเข้าใจที่จะสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่าลูกจ้างที่ต้องสวมใส่ Respirator นั้น แข็งแรงพอหรือไม่ และจะสื่อสาร พูดคุยอย่างไรกับพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่มาให้บริการกับทางโรงงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ประสานงานกันได้อย่างดี

          วันที่ 29 กันยายน 2563 ช่วงบ่าย Workshop การจัดทำ OSHA RPP
          
หลายสิบปีมาแล้ว สมัยเป็นนายกสอป.สมัยที่ 2 ด้วยเป็นคนชอบทำหลักสูตรและพบปะคนในแวดวงเดียวกัน เคยจัดอบรมหลักสูตรว่าด้วย Respirator มาแล้ว จำได้ว่ามาเป็นร้อย (เพราะฟรีครับ HA HA โดย 3M สนับสนุน) และครั้งนั้นก็ทำ Workshop ด้วย แยกเป็นกลุ่ม ๆ มีน้อง ๆ ทีมสอป.มาช่วยเป็นวิทยากรกลุ่ม ยังจำภาพได้ จัดที่โรงแรม Ambassador สุขุมวิท สนุกมาก และผู้มารับการอบรมก็ Happy เพียงแต่บอกว่าวันเดียว เวลาน้อยไป มาครั้งนี้ได้ปรับปรุงให้เหมาะสมขึ้น จัดหลักสูตรที่เน้นการจัดทำโปรแกรมแบบเบ็ดเสร็จ ใช้เวลา 2 วัน และแน่นอนว่ามีช่วงทำ Workshop โดยเตรียมข้อมูลให้ แล้วให้ผู้รับการอบรมลองจัดทำโปรแกรมขึ้นมา แล้วผม กับอ.หมอเนสินี จะช่วยกันให้ข้อแนะนำ

           หากสนใจหลักสูตรนี้ เรียนเชิญนะครับ เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ และขอเก็บค่าลงทะเบียนหน่อยนะครับ สอป.จะได้มีทุนบ้างสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายประจำเท่านั้น ไม่ได้ทำธุรกิจแต่อย่างใด ข้าราชการก็เบิกจากต้นสังกัดตามระเบียบของต้นสังกัด (มีหนังสือส่งไปที่สสจ.และรพท.แล้ว) ส่วนพวกเราชาวจป.วิชาชีพ วิศวกรความปลอดภัย หรือคนที่รับผิดชอบงานด้านนี้ ก็ขอทางโรงงานมานะครับ

 

          จัดระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2563 ที่บริษัท 3M ประเทศไทย (สำนักงานที่ถนนพระรามเก้านะครับ)

          Link ลงทะเบียน >> https://forms.gle/LD2D7NGtbwZGiQYt5

          Link ดาวน์โหลดแผนที่และกำหนดการ >> https://drive.google.com/drive/folders/1dOn-lDZOcZVdUfGPPAretAGtLp_bWojc?usp=sharing

 

#OHSWA_OSHA_RPP

Visitors: 366,399