แนะนำ OHSWA Meet the Academic - New Series: Health Promotion for JorPor

เผยแพร่เมื่อ: 25/09/2563 ....
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)...,

แนะนำ OHSWA Meet the Academic - New Series: Health Promotion for JorPor โพสต์ทุกวันที่ 3 ของเดือนที่เว็บไซต์สอป.

          พนักงานจะเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องจากการทำงานหรือโรคทั่วไป ย่อมส่งผลกระทบกับการทำงานทั้งสิ้น ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพที่แท้จริงจึงควรทำให้ครอบคลุมทุกด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จป.วิชาชีพและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพพนักงานต้องทราบถึงแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง
          การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการไม่สามารถลอกเลียนวิธีการ หรือคัดลอกโครงการส่งเสริมสุขภาพกันได้ เนื่องจากแต่ละโรงงานย่อมมีบริบทและมีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป
          อาจารย์ดร.พว.วชุธิตาคงดี จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จึงมีความสนใจท่ีจะแบ่งปันความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในสถานประกอบการ ตลอดจนความรู้ด้านการกําจัดสิ่งคุกคาม การกําจัดสาเหตุของการเกิดโรค การทําโครงการเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ สําหรับจป.ทุกท่าน เพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของคนทํางานให้มีความปลอดภัยและมีภาวะสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรค ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนทางธุรกิจอย่างหน่ึง ทําให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจต่อ องค์กร เพราะจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เจ็บป่วยและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน
          ในเนื้อหาแต่ละตอนในซีรีส์ Health Promotion for JorPor นี้จะครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพสำหรับสถานประกอบการ ซึ่งแตกต่างกับการส่งเสริมสุขภาพในประชาชนทั่วไป วิธีการรวบรวมข้อมูล การสำรวจการหาข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน ตามบริบทโรงงานของแต่ละโรงงาน และวิธีการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น ส่วนย่อยคร่าวๆ ดังนี้
                    1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกายและด้านจิตใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ/ในโรงงาน
                    2. สถานการณ์และปัญหาภาวะสุขภาพของกลุ่มคนวัยทำงานในยุคปัจจุบัน
                    3. How to : วิธีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (Health Risk Assessment) ซึ่งจะมีวิธีการประเมินที่แตกต่างกันออกไป ตามบริบทของแต่ละโรงงาน ได้แก่ การ Walk through Survey, แนวทางการตรวจสุขภาพรายบุคคล, การตรวจสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงทางอาชีวเวชกรรม Occupational Health Examinations และการวิเคราะห์รายงานผลสุขภาพในภาพรวมของโรงงานหรือภาพรวมขององค์กร (Corporate Health Report)
                    4. How to : แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและแนวทางการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพตามแนวคิดระบาดวิทยาและกระบวนการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
                    5. How to : การจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ จะมีวิธีการอย่างไร ให้เหมาะสมกับบริบทและปัจจัยเสี่ยงของโรงงาน
                    6. How to : การทำอย่างไรให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) แบบยั่งยืนและธำรง (Maintenance) ไว้ซึ่งสุขภาพดีในพนักงาน

เริ่ม Episode แรก วันที่ 3 ตค.นี้

#OHSWA_Meet_the_Academic

Visitors: 361,552