ข้อคิดของคนอยู่ไกล กรณีเพลิงไหม้ซอยกิ่งแก้ว ทำให้เราคิดทำอะไรบ้าง
เผยแพร่เมื่อ: 09/07/2564....,
เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา, นายกสมาคม ส.อ.ป.,
เรื่อง ข้อคิดของคนอยู่ไกล กรณีเพลิงไหม้ซอยกิ่งแก้ว
ทำให้เราคิดทำอะไรบ้าง
เดิมทีตั้งใจมากที่จะเสาะหาจป.วิชาชีพในซอยกิ่งแก้ว ที่อยู่ใกล้หรืออยู่ละแวกโรงงานที่เกิดเพลิงไหม้ในรัศมี 7-8 กิโลเมตร เพื่อจะได้อารมณ์ของคนใกล้เหตุการณ์ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง รับมืออย่างไรต่อนายจ้าง ผู้บริหาร และลูกจ้าง และการตัดสินใจต่าง ๆ นั้นมาจากการเฝ้าติดตามและประเมินอย่างไร รวมถึงจากประสบการณ์นี้ จะคิดปรับปรุงการทำงานที่ผ่านมาอะไรบ้าง ที่จะทำให้พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นอีก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์มาก ๆ ต่อจป.วิชาชีพโรงงานอื่น และคนในวงการ HSE
อย่างไรก็ตาม ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ ผู้บริหารไม่อนุญาตให้จป.วิชาชีพที่ผมได้พูดคุย จนเข้าใจประเด็นความต้องการเรียบร้อย และมีความกระตือรือร้นมากที่จะได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้กับเพื่อน ๆ ในวงการ ด้วยเหตุผลจริง ๆ ที่ไม่เปิดเผย
ก็ให้กำลังใจกับจป.วิชาชีพไปว่าไม่เป็นไร เราต้องการช่วยเหลือ แต่เมื่อผู้บริหารไม่เข้าใจเจตนา และกลัวในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่อง ก็รอไปโอกาสหน้า ผู้บริหารคงไม่ขี้กลัวจนเกินเหตุไปตลอดชีวิต (มั๊ง) และก็ขอถือโอกาสนี้ ขอโทษสมาชิกสอป. และเพื่อน ๆ HSE ที่สอป. ไม่สามารถจะจัดสนทนาในเรื่องนี้ได้
เอาละครับ ก็มาดูว่าสำหรับผมที่อยู่ไกลจากสถานที่เกิดเหตุ จะมีข้อคิดอะไรต่อเรื่องที่เกิดขึ้นบ้าง ดังนี้
อย่างไรก็ตาม ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ ผู้บริหารไม่อนุญาตให้จป.วิ
ก็ให้กำลังใจกับจป.วิชาชีพไ
เอาละครับ ก็มาดูว่าสำหรับผมที่อยู่ไก
ก. ในวันเกิดเหตุ
หากย้อนเวลาได้ ในเช้าวันเกิดเหตุ เมื่อเข้าที่ทำงาน (หรือจะโทรเข้าหาทีมงานตอนเกิดเหตุ- ตามแต่กรณีของแต่ละแห่ง) สิ่งที่น่าจะดำเนินการก็คือ
1. ตรวจสอบโครงสร้างต่าง ๆ ของอาคาร เครื่องจักร ระบบท่อต่าง ๆ
- อย่าลืมว่ากรณีนี้ (ตามข่าว) มีเสียงระเบิดดังขึ้น โครงสร้างโรงงานที่เกิดเหตุพัง กระจกของชาวบ้านแตกกระจาย นี้คือสิ่งบอกเหตุว่ามีความรุนแรง อีกทั้งความรู้เดิมของเรา น่าจะจำได้ว่าอันตรายจากแรงระเบิดของสารเคมีอันตรายนั้น จะเกิดรังสีความร้อน ซึ่งสามารถประเมินผลกระทบได้ดังนี้
>>>>> ที่ระดับ 37.5 กิโลวัตต์/ตารางเมตร สามารถทำลายโครงสร้างของอาคาร หรือถังเก็บกักได้
>>>>> ที่ระดับ12.5 กิโลวัตต์/ตารางเมตร จะมีผลต่อโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง เช่นพวกไม้ (จะติดไฟ) พวกพลาสติก (จะละลาย) เป็นต้น
>>>>> ที่ระดับ 4.0 กิโลวัตต์/ตารางเมตร เป็นระดับที่ชุมชนเริ่มรู้สึกว่ามีปัญหาเกิดขึ้น
- ดังนั้นจึงต้องให้ทีมงาน เช่นฝ่ายซ่อมบำรุง เดินสำรวจ ตรวจตราอย่างละเอียดว่าโครงสร้างอะไรเสียหายบ้างหรือไม่ อาทิหลังคาแตก? ผนังร้าว? โครงสร้างฝ้าเสียหาย? ถังบรรจุเอียง ทางเดินท่อเสียหาย? เป็นต้น
2. ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ว่ายังอยู่ในตำแหน่งเดิม เช่นถังดับเพลิง Detectors ต่าง ๆ Alarm ต่าง ๆ หรือมีอะไรเสียหายหรือไม่
3. ค้นหาหรือชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) ว่าตกลงที่เกิดเพลิงไหม้ ไหม้สารอะไร มี by product อะไร ไปค้นหา SDS ทันที ว่าสารพวกนี้ที่เราชี้บ่งได้นั้น มีอันตรายต่อสุขภาพอะไร อย่างไร ค่ามาตรฐานการสัมผัสมีกำหนดไว้หรือไม่ หนักหรือเบากว่าอากาศ ไวไฟหรือไม่ ระคายเคืองมากไหม ฯลฯ และอุปกรณ์ PPE โดยเฉพาะ respirators ที่มีอยู่ มันสามารถป้องกันสารมลพิษจากการเผาไหม้สารเคมีหรือไม่ (นั่นคือเมื่อเราทราบว่าสารนั้นคือ Styrene Monomer แล้ว ยังมีสารอื่นอีกหรือไม่) วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่เรามี จะได้รับผลกระทบอย่างใดหรือไม่ เป็นต้น การค้นหาข้อมูลอันตรายเหล่านี้ จะช่วยให้เราสามารถตอบคำถามของนายจ้าง ผู้บริหาร และลูกจ้างได้เป็นอย่างดี
>>>>> ที่ระดับ12.5 กิโลวัตต์/
>>>>> ที่ระดับ 4.0 กิโลวัตต์/
- ดังนั้นจึงต้องให้ทีมงาน เช่นฝ่ายซ่อมบำรุง เดินสำรวจ ตรวจตราอย่างละเอียดว่าโครง
2. ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยต
3. ค้นหาหรือชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) ว่าตกลงที่เกิดเพลิงไหม้ ไหม้สารอะไร มี by product อะไร ไปค้นหา SDS ทันที ว่าสารพวกนี้ที่เราชี้บ่งได
4. ติดตามข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อหาข้อมูลให้มากพอที่จะตัดสินใจเรื่องต้องปิดโรงงาน ต้องอพยพลูกจ้างหรือไม่ รวมถึงทิศทางลม สภาพอุตุนิยมวิทยา
5. ประเมินความเสี่ยงด้วยการใช้โปรแกรมที่มีประโยชน์ เพื่อประเมินการรั่วไหลของสารเคมี (คิด worst case) ใช้เครื่องตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (หากมี) ก็อาจจะทำให้ได้ข้อมูลในระดับหนึ่งประกอบการตัดสินใจ
6. สื่อสารกับนายจ้าง ผู้บริหาร และลูกจ้างเป็นระยะ ๆ อย่าลืมว่าในสภาวะเช่นนี้ การสื่อสารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องไม่พลาดดำเนินการ ด้วยข้อมูลที่พร้อมและถูกต้อง
7. ทวนสอบแผนรับมือเหตุฉุกเฉินที่มีอยู่เดิม ว่าหากเหตุการณ์ยังคงไม่น่าไว้วางใจ แผนที่ออกแบบไว้เดิม จะพอใช้งานได้หรือไม่ หากต้องปรับแผน ก็ต้องสื่อสารทำความเข้าใจด้วย
ข. หลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไป
5. ประเมินความเสี่ยงด้วยการใช
6. สื่อสารกับนายจ้าง ผู้บริหาร และลูกจ้างเป็นระยะ ๆ อย่าลืมว่าในสภาวะเช่นนี้ การสื่อสารความเสี่ยงเป็นเร
7. ทวนสอบแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน
ข. หลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไป
เอาละครับ หากไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราก็ไม่น่าจะปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป แต่ต้องเอามาเป็นประโยชน์ให้ได้ ด้วยการ
1. สำรวจรอบโรงงานเราในรัศมี 10 กิโลเมตร (หรือมากกว่า หากผลประเมินความเสี่ยงพบว่าจำเป็นต้องไกลกว่านี้) ว่ามีโรงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายอะไรบ้าง อยู่แถวไหน (การใช้ Google Map จึงมีประโยชน์มาก) หาข้อมูลปริมาณการจัดเก็บ (หากทำได้) เพื่อนำมาประเมินอันตรายว่าหากเกิดการระเบิดก็ดี รั่วไหลก็ดี จะมีขอบเขตการครอบคลุมถึงโรงงานเราไหม เป็นต้น
สิ่งนี้จะทำให้หากเกิดเหตุร้ายขึ้นมาจริง ๆ ในวันหน้า เราก็สบาย ๆ พร้อมรับมือ เพราะเรารู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร (ซึ่งไม่เหมือนในครั้งนี้ ที่เรามืดแปดด้าน ได้แต่คอยฟังข่าวสาร ซึ่งจริงบ้างเท็จบ้าง) (หมายเหตุ หากมีความสัมพันธ์ที่ดี อาจขอข้อมูลผลการประเมินของโรงงานนั้น ๆ มาเลย จะได้ไม่ต้องทำ)
2. จัดทำบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของโรงงานเหล่านั้น ที่เราอาจต้องใช้งานในอนาคต
3. ทวนสอบ Layout โรงงานเรา จุดติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ตำแหน่งวาล์วปิดเปิดสารเคมีในสถานที่/ภาขนะบรรจุต่าง ๆ หากพบว่ายังไม่มี หรือไม่เป็นปัจจุบัน ก็ปรับปรุงทันที และจากกรณีเพลิงไหม้ครั้งนี้ จะเห็นว่าเมื่อโครงสร้างเสียหาย การค้นหาตำแหน่งวาล์วปิดเปิดทำได้ยากลำบากมาก เราจึงต้องใช้เทคโนโลยี Simply the Best คือปักหมุดตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ เป็นต้น
4. ทวนสอบแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน ว่าต้องปรับปรุงส่วนใดให้รับกับอันตรายหรือสิ่งคุกคามใหม่ ๆ จากการสำรวจในข้อ 1 หรือไม่ (เหมือนเช่นอดีตที่ไม่เคยมีเรื่องน้ำท่วมในแผนประเภทนี้มาก่อน จนเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 54 เรื่องน้ำท่วมจึงถูกบรรจุเข้ามาในแผนดังกล่าว)
ข้อเขียนนี้อาจไม่สมบูรณ์ แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ และให้ข้อคิดที่จะทำให้เราฉุกใจคิดได้ว่ามีอะไรนอกจากนี้อีกไหมที่เราควรคิดทำหลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้
#Meet_OHSWA_President
2. จัดทำบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของโรงงานเหล่านั้น ที่เราอาจต้องใช้งานในอนาคต
3. ทวนสอบ Layout โรงงานเรา จุดติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภ
4. ทวนสอบแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน
ข้อเขียนนี้อาจไม่สมบูรณ์ แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์
#Meet_OHSWA_President