ข้อบังคับ
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
หมวดที่ 1 : ชื่อ เครื่องหมาย ที่ตั้ง
- สมาคมนี้มีชื่อว่า “ สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ” ใช้ชื่อย่อว่า “ ส.อ.ป.” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Occupational Health and Safety at Work Association” ใช้ชื่อย่อว่า “ OHSWA ”
- เครื่องหมายของสมาคมเป็นรูปกากบาดมีแถบ 5 เส้นอยู่ภายในวงกลม มีตัวอักษร ภาษาไทยล้อมรอบว่า “ สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ส.อ.ป.
- สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 420/1 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2644-4067 โทรสาร 0-2644-4068
หมวดที่ 2 : วัตถุประสงค์
สมาคมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อส่งเสริมวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่สมาชิกและสังคมโดยรวม
- เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
- เพื่อสนับสนุนและประสานงานกับสถานประกอบการและชุมชนอุตสาหกรรมในการพัฒนาความปลอดภัยสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพ
- เพื่อประสานงานร่วมมือทางวิชาการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือสมาคมทั้งภายในและต่างประเทศ
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการกระชับความสัมพันธ์ภายในกลุ่มสมาชิก
- เพื่อจัดหาแหล่งประโยชน์สนับสนุนทางวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่สมาชิก
- เพื่อดำเนินกิจกรรมการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
- ไม่ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการเมือง
หมวดที่ 3 : กิจกรรม
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ สมาคมจะดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้
- แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ด้วยอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การจัดทำวารสารของสมาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือส่งเสริมความร่วมมือและความสามัคคีภายในกลุ่มสมาชิกของสมาคม
- เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยในการทำงานและสิ่งแวดล้อม
- เพื่อสนับสนุนบุคลากร หน่วยงาน สถานประกอบการและชุมขนอุตสาหกรรม ในการพัฒนาความปลอดภัยสุขภาพอนามัยและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- เพื่อให้บริการและเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการแก่สมาชิก ส.อ.ป. และบุคคลที่สนใจ
- ส่งเสริมความร่วมมือและความสามัคคีภายในกลุ่มสมาชิกของสมาคม
- ส่งเสริมให้สมาชิกได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม
- ส่งเสริมการจัดหาทุนให้สมาชิกเพื่อการศึกษาและวิจัย
- จัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน แก่ผู้ประกอบอาชีพ และสาธารณชน
- จัดให้มีบริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน แก่สถานประกอบการ และชุมชนอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมการประสานงานร่วมมือทางวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่หน่วยงานทั้งภาคภาครัฐและเอกชนหรือสมาคมทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม
Ω สมาชิกของสมาคมมี 4 ประเภท
- สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือปริญญาโทหรือปริญญาเอกสาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมหรือสาขาความปลอดภัยหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารสมาคมหรือผู้ที่เป็นสมาชิกวิสามัญมาเป็นเวลา 2 ปี อย่างต่อเนื่องและเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคมมาโดยตลอด
- สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- ผู้สำเร็จการศึกษาอย่างต่ำระดับปริญญาตรี สาขาใดสาขาหนึ่งทางสาธารณสุข ศาสตร์ การแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานในทุกระดับหรือหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย
- ผู้ที่สำเร็จการศึกษาอย่างต่ำอนุปริญญา ในสาขาใดสาขาหนึ่ง ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำสถานประกอบการ
- นิสิตนักศึกษาที่เรียนวิชาเอกอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องในสถาบันอุดมศึกษา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือ ทรงเกียรติคุณในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน หรือผู้ที่เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานส่งเสริมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน หรือผู้ที่มีอุปการะคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะกรรมการบริหาร ส.อ.ป. ลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม
- สมาชิกประเภทสถาบัน ได้แก่ หน่วยงานราชการสถาบันการศึกษา สมาคมที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายและองค์กรที่เป็นนิติบุคคล
Ω การเข้าเป็นสมาชิก
ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ยกเว้นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้ยื่นใบสมัครตามแบบวิธีการและเงื่อนไขที่สมาคมกำหนดไว้ต่อเลขาธิการ โดยมีนายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติ รับรองพิจารณาใบสมัครแล้ว ให้เลขาธิการพิจารณารับสมัครเข้าเป็นสมาชิกและแจ้งให้ผู้สมัครทราบผลการพิจารณาว่า จะรับ หรือไม่รับ เข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ภายใน 30 วัน
Ω ค่าบำรุง
สมาชิกสามัญ
- เสียค่าบำรุงตลอดชีพ 2,000 บาท
- เสียค่าบำรุงเป็นรายปีๆ ละ 1,000 บาท
สมาชิกวิสามัญ
- เสียค่าบำรุงตลอดชีพ 2,000 บาท
- เสียค่าบำรุงเป็นรายปี ๆ ละ 1,000 บาท
- นิสิตนักศึกษา 100 บาท
สมาชิกสถาบัน
- เสียค่าบำรุงเป็นรายปีๆ ละ 3,000 บาท
Ω สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
สิทธิของสมาชิก
- ได้รหัสสมาชิกและและรหัสผ่านในการเข้าเว็บไซต์ ส.อ.ป.
- มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการบริหาร
- มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สมาคมจัดขึ้น
- มีสิทธิได้รับเอกสาร หรือสิ่งตีพิมพ์จากสมาคม
- สมาชิกสามัญเท่านั้นที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และมีสิทธิเป็นกรรมการบริหารของสมาคม
- มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
หน้าที่ของสมาชิก
- จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
- ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
- ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆของสมาคม
- ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้แพร่หลาย
- แจ้งให้นายทะเบียนสมาคมทราบเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีการย้ายที่อยู่หรือที่ทำงาน หรือเปลี่ยนชื่อและนามสกุล
Ω สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- ตาย
- ลาออก
- ประพฤติตนเป็นที่น่ารังเกียจหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ชื่อเสียงของสมาคมอย่างร้ายแรง ตามที่คณะกรรมการบริหาร ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของคณะกรรมการทั้งหมดมีมติให้ออก
- ขาดการชำระเงินค่าบำรุงติดต่อกันเกินกว่า 3 ปี โดยสมาคมมีหนังสือทวงถามแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
- ขาดการติดต่อกับสมาคมเกินกว่า 5 ปีโดยสมาคมมีหนังสือติดต่อแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
หมวดที่ 5 : การประชุมใหญ่
- การประชุมใหญ่สามัญของสมาคมให้กระทำเป็นปกติโดยกำหนดให้จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่อ พิจารณาระเบียบวาระดังต่อไปนี้
- แถลงรายงานประจำปีของคณะกรรมการบริหาร
- รายงานการเงินของสมาคมในรอบปีที่ผ่านมาพร้อมทั้งเสนองบประมาณในปีต่อไป
- เลือกตั้งกรรมการบริหาร เมื่อถึงกำหนดตามวาระ
- เลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
- ปรึกษาพิจารณากิจกรรมอื่น ๆ
- การประชุมใหญ่สามัญซึ่งจัดให้มีขึ้น จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าประชุมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิก หากไม่ครบให้รอองค์ประชุมเป็นเวลา ประมาณ 1 ชั่วโมง ให้นับองค์ประชุมใหม่ หากมีจำนวน ครบ 100 คน ให้ถือว่าครบองค์ประชุม ในกรณีที่สมาชิกสามัญมาประชุมไม่ครบองค์ประชุมให้นายกสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนดการประชุมครั้งก่อน ในการประชุมคราวนี้สมาชิกมาประชุมเท่าใดก็ได้ ให้ถือว่าครบองค์ประชุม
- การประชุมใหญ่วิสามัญจะจัดให้มีขึ้นได้ต่อเมื่อ คณะกรรมการบริหารของสมาคมมีมติด้วยเสียงข้างมากไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการบริหารทั้งหมด หรือสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 50 คน ร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ คณะกรรมการบริหารของสมาคม การประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งจัดให้มีขึ้น ถ้าหากมีสมาชิกสามัญเข้าประชุมไม่ถึง 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิก หากไม่ครบให้รอองค์ประชุมเป็นเวลา ประมาณ 1 ชั่วโมง ให้นับองค์ประชุมใหม่ หากมีจำนวน ครบ 100 คน ให้ถือว่าครบองค์ประชุม
- การประชุมใหญ่ ถ้านายกสมาคม อุปนายก ไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการบริหาร ที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคราวนี้
- การประชุมใด ๆ ให้ถือเอามติของคะแนนเสียงข้างมาก ในที่ประชุมเป็นข้อตัดสินในกรณีคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
- หนังสือนัดประชุมใหญ่ ให้ส่งทางไปรษณีย์ไปยังสมาชิกก่อนวันนัดประชุม ไม่น้อยกว่า 30 วัน การนัดประชุมดังกล่าวให้ระบุวัน เวลา สถานที่ และวาระของการประชุมด้วย
หมวดที่ 6 : การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร
- คณะกรรมการบริหารชุมเดิมจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ภายในการประชุมสามัญประจำปีของทุก 2 ปี
- ให้สมาชิกสามัญออกคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกสมาคม 1 คน อุปนายก 3 คน และเลขาธิการ 1 คน จากบัญชีรายชื่อที่เลขาธิการประกาศไว้ว่ามีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารสมาคม
- ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสามัญให้ดำรงตำแหน่ง เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม วิเทศสัมพันธ์ และประชาสัมพันธ์
- ให้สมาชิกสามัญ เลือกกรรมการกลางจำนวน 5 คน กรรมการตามความในข้อ 18,19 รวมกันเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารสมาคม” ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน
- ในระหว่างที่คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ยังมิได้รับตำแหน่งให้คณะกรรมการบริหารชุดเดิมบริหารงานไปพลางก่อน จนกว่าจะได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เสร็จ ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกิน 45วัน
- กรรมการบริหารอยู่ในวาระหนึ่งไม่เกิน 2 ปี
- นายกสมาคมฯ จะอยู่ในวาระได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
- ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง และในการประชุมคณะกรรมการบริหารต้องมีกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะครบองค์ประชุม
- กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
- ออกตามวาระ
- ลาออก
- ขาดจากสมาชิกภาพ ตามข้อ 10
- ขาดการประชุมติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง โดยไม่มีเหตุผลที่สมควรและที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโดยเสียงข้างมากมีมติให้ออก
- ปฏิบัติผิดกฎระเบียบของสมาคมและคณะกรรมการบริหาร โดยเสียงข้างมากของที่ประชุมมีมติให้ออก
- ถ้ากรรมการตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดว่างลงก่อนถึงวาระ คณะกรรมการบริหารอาจจะพิจารณาเชิญสมาชิกที่เหมาะสม เข้าเป็นกรรมการแทนในตำแหน่งที่ว่างและกรรมการผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทน
- ถ้ากรรมการตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดว่างลงก่อนถึงวาระคณะกรรมการบริหารอาจจะพิจารณาเชิญสมาชิกที่เหมาะสมเข้าเป็นกรรมการแทนในตำแหน่งที่ว่างและกรรมการผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทน
หมวดที่ 7 : การบริหารสมาคม
การบริหารงานของสมาคมให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
- การบริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
- กำหนดระเบียบ กฎ ข้อบังคับและวิธีการการปฏิบัติซึ่งไม่ขัดต่อข้อบังคับของสมาคม
- มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
- มีหน้าที่ในการหาทุนอุดหนุนการวิจัยและกิจกรรมอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
- นายกมีหน้าที่เป็นประธานในการบริหารงานของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการภายนอกตามมติของคณะกรรมการบริหารฯ และเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและการประชุมใหญ่ของสมาคม
- อุปนายกมีหน้าที่ทำการแทนนายกในกรณีที่นายกไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และเป็นผู้ช่วยนายกและปฏิบัติการใด ๆ ตามที่นายกมอบหมายในกรณีทำหน้าที่แทนนายกฯ ให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งการแทน
- เลขาธิการมีหน้าที่นัดประชุมกรรมการบริหาร ประชุมใหญ่ บันทึกและเก็บรักษารายงานการประชุม ติดต่อกับสมาชิกหรือบุคคลภายนอกในเรื่องทั่ว ๆ ไป และกิจการอื่น ๆ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการอื่นใดโดยเฉพาะ
- เหรัญญิก มีหน้าที่รับ - จ่ายและเก็บรักษาเงิน ตลอดจนทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเงิน
- นายทะเบียนมีหน้าที่จัดทำและเก็บรักษาทะเบียนสมาชิกตลอดจนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเป็นสมาชิก และเร่งรัดการชำระเงินค่าบำรุงสมาชิกภาพ
- ปฏิคมมีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคมเป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
- วิเทศสัมพันธ์มีหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมาคม
- ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่เผยแพร่กิจการของสมาคม
- กรรมการตำแหน่งอื่นๆ มีหน้าที่คอยช่วยเหลือกิจการฝ่ายต่างๆ ของสมาคมและมีหน้าที่ตามแต่นายกจะมอบหมาย
หมวดที่ 8 : การเงินและการบัญชี
- การเงินของสมาคมให้จัดการไปตามที่คณะกรรมการบริหารเห็นสมควร
- เงินของสมาคมจะเก็บรักษาไว้เป็นเงินสดได้ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนั้นแล้วให้นำฝากธนาคารหรือสถาบันการเงินโดยมีธนาคารรับรองในนามของสมาคมการสั่งจ่ายเงินของสมาคมให้นายกสมาคมและเหรัญญิกหรือเลขาการลงนามร่วมกัน
- นายกสมาคมมีอำนาจในการอนุมัติสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ไม่เกินคราวละ 50,000 บาทถ้าเกิน 50,000 บาทต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร
- สมาคมต้องเก็บรักษาเงินของสมาคมไม่น้อยกว่าร้อยละสิบไว้เป็นทุนสำรองการจ่ายเงินทุน สำรองจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
- ให้เหรัญญิกจัดให้มีบัญชีการเงินของสมาคม พร้อมด้วยใบสำคัญและหลักฐานการเงินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการบัญชีและให้ตรงต่อความจริงเสมอ หลักฐานเกี่ยวกับการเงินให้อยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของนายกสมาคม หลักฐานเกี่ยวกับการเงินให้อยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของนายกสมาคมเหรัญญิกและเลขาธิการ
- ให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งผู้สอบบัญชีอนุญาตซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของสมาคมจำนวน 1 คนผู้สอบบัญชีมีอำนาจเข้าตรวจสอบบัญชีเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการเงินต่าง ๆ ของสมาคมและมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาสอบถาม หรือให้ส่งมอบเอกสารใด ๆ เกี่ยวกับการเงินของสมาคมได้
- ให้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ้นงวดบัญชีสมาคม เมื่อถึงวันสิ้นงวดแล้ว ให้เหรัญญิกทำการปิดบัญชีของสมาคม โดยมิชักช้าแล้วจัดส่งงบดุลให้ผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบและรับรอง
- ให้เหรัญญิกจัดทำบัญชีและงบดุล ซึ่งผ่านการตรวจสอบและรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีของสมาคม แล้วแจ้งให้สมาชิกทราบ
หมวดที่ 9 : การแก้ข้อบังคับของสมาคม
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อบังคับนี้จะกระทำได้โดยมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
หมวดที่ 10 : ยกเลิกสมาคม
- สมาคมนี้จะยกเลิกได้ โดยมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด
- เมื่อสมาคมต้องการยกเลิกไปให้ทรัพย์สินของสมาคมทั้งหมดตกเป็นสมบัติของสถาบันการศึกษาสถาบันใดสถาบันหนึ่ง หรือ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด
หมวดที่ 11 : บทเฉพาะกาล
- ให้ผู้เริ่มก่อตั้งสมาคม 3 คนที่แสดงรายชื่อในคำร้องขออนุญาตจดทะเบียนสมาคมนี้เป็นกรรมการบริหารเริ่มแรกของสมาคมให้คณะกรรมนี้มีสิทธิและหน้าที่ทุกประการของคณะบริหารตามความในข้อนี้และให้คณะกรรมการบริหารเริ่มแรกนี้รับสมัครสมาชิกของสมาคมเป็นการชั่วคราวมีกำหนด 180 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
- เมื่อครบกำหนดตาม ข้อ 39 แล้วให้คณะกรรมการดังกล่าวรักษาการต่อไปเพื่อให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารของสมาคมตามวิธีการในข้อบังคับนี้ให้เสร็จภายในเวลาไม่เกิน 45 วัน
- ให้คณะกรรมการบริการเริ่มแรกร่างระเบียบการดำเนินงานของสมาคมทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับของสมาคม
แนวทางการดำเนินการสมาคม
- ส่งรายงานการประชุมใหญ่สามัญรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญและรายงานการประชุมคณะกรรมการสมาคมทุกครั้งต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติภายใน 14 วันนับแต่วันประชุม
- ส่งรายงานประจำ(ผลการดำเนิน )งบดุลประจำปีและจำนวนสมาชิกทุกประเภทพร้อมกับรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปีต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมใหญ่
- ส่งงบดุลพร้อมรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 3 ชุดให้เขตหรืออำเภอราชเทวีภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปี
- ถ้ามีการแก้ไขข้อบังคับหรือเพิ่มเติมตามมติที่ประชุมใหญ่ต้องส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 1 ชุดพร้อมรายงานการประชุมใหญ่ต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมใหญ่