คุณสมบัติของพนักงานขนส่ง ช่วยลดอุบัติเหตุได้อย่างไร

เผยแพร่เมื่อ 7/8/2567
เขียนโดย คุณวีริศ จิรไชยภาส
           ผู้จัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
           SCG Smart Living Business
  

 

คุณสมบัติของพนักงานขนส่ง ช่วยลดอุบัติเหตุได้อย่างไร

          รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเป็นที่นิยมและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าทั้งรถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรรี่ลิเธี่ยมไอออน สถานีชาร์ตไฟ หรือตัวรถยนต์เอง เป็นของใหม่ที่เราต้องทำความรู้จักและเข้าใจ เพื่อเตรียมการ วางแผนป้องกันและควบคุมความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เข้ามาในพื้นที่โรงงานหรือสถานประกอบการของเรา 

          ก่อนอื่น เราควรเข้าใจชนิดของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อน ซึ่ง ณ วันนี้ รถยนต์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
               1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electrical Vehicle : HEV) รถยนต์ที่มีการใช้เครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนร่วมกัน สามารถเปลี่ยนพลังงานที่สูญเสียจากการเบรกไปเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วเก็บในแบตเตอรีภายในรถเพื่อใช้งานต่อได้ เช่น Totoya Camry Hybrid, Toyota C-HR Hybrid, Toyota Alphard Hybrid, Honda Accord, Nissan X-Trail Hybrid
               2. 
รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electrical Vehicle: PHEV)  รถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาต่อยอดมาจากรถยนต์ไฮบริด โดยสามารถประจุพลังงานไฟฟ้าได้จากแหล่งภายนอก (Plug-in) ทำให้รถยนต์สามารถใช้พลังงานพร้อมกันจาก 2 แหล่ง คือเครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้า เช่น กลุ่ม Mercedes plug-in hybrid,  BMW plug-in hybrid, Audi plug-in hybrid เป็นต้น
               3. 
รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electrical Vehicle: BEV)  รถยนต์ไฟฟ้าที่มีเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังหลักให้รถยนต์เคลื่อนที่ และใช้พลังงานไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่เท่านั้น ไม่มีเครื่องยนต์อื่น เช่น Tesla, BYD, Nissan Leaf, MG ZS EV, Hyundai IONIQ EV,BMW i3, Kia Soul EV, BYD E6, Audi e-tron 
               4. 
ยานยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electrical Vehicle : FCEV) รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เซลเชื้อเพลิงมาสร้างกระแสไฟฟ้า และมีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนและใช้พลังานจากเซลเชื้อเพลิงโดยตรง เช่น เชื้อเพลิงไฮโดรเจน  จึงไม่มีการปล่อยมลพิษออกมา  เช่น Toyota Mirai,Hyundai Nexo, Honda Clarity Fuel Cell 

ที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3714980131870328&id=176345352400508&set=a.322226877812354

          เมื่อมีรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว อุปกรณ์ที่ตามมาคือ เครื่องอัดประจุไฟฟ้า (Charger) :หรือเครื่องสำหรับบรรจุพลังงานไฟฟ้าลงไปในแบตเตอรี่ หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆชนิดบรรจุซ้ำได้ของรถยนตฺไฟฟ้า โดยมี 2 ประเภท คือ
               1. การอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charger) เป็นการอัดประจุไฟฟ้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ผ่านอุปกรณ์อัดไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในรถยนต์ไฟฟ้า (On-board Charger) การอัดประจุไฟฟ้าแบบนี้ เหมาะสำหรับการอัดประจุไฟฟ้าที่บ้าน สำนักงาน หรือที่จอดรถสาธารณะ ซึ่งใช้เวลาอัดประจุนานกว่า 2 ชั่วโมง
               2. 
การอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charger) เป็นการอัดประจุไฟฟ้าด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เข้าสู้แบตเตอรี่โดยตรง โดยมีระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (Battery Management System: BMS) ทำหน้าที่ควบคุมการอัดประจุ การอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูง เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดเรื่อง On-board Charger ซึ่งสามารถอัดประจุได้ 50% ภายในเวลาเพียง 15 นาที  การอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็วต้องใช้ไฟ 3 เฟส ที่มีพิกัดกระแสสูง และพบได้ตามสถานีอัดประจุสาธารณะที่เปิดให้บริการทั่วไป

ที่มา : https://evolt.co.th/การชาร์จรถไฟฟ้า AC-DC

          ซึ่งในกรณีที่สถานประกอบการ จะดำเนินการจัดสร้างสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าภายในพื้นที่ของสถานประกอบการนั้น ควรพิจารณาดำเนินการติดตั้งและขออนุญาตให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
               1. มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับบริภัณฑ์จ่ายไฟยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับประเภทสถานีอัดประจุไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและสำนักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2563
               2. 
คู่มือประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(EV) สำนักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2561
               3. 
ข้อกำหนดการเชื่อมต่อและติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2560
               4. 
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วย ข้อกำหนดการเชื่อมต่อสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2563
               5. 
มธพ. 701 – 2564 มาตรฐานความปลอดภัยสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาหรับยานยนต์ไฟฟ้าภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน 2564

          เมื่อเห็นภาพและเข้าใจถึงสภาพและการทำงานของของรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าแล้ว เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ควรทำความเข้าใจและเริ่มการประเมินความเสี่ยงในสถานะการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แม้ว่าอัตราการเกิดเพลิงไหม้จากรถยนต์ไฟฟ้า โดยแท้จริงแล้ว ไม่ได้มากไปกว่ารถยนต์สันดาปภายใน  แต่ประเด็นสำคัญคือ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว จะมีความรุนแรง ลุกลามและควบคุมเพลิงได้ยากกว่ารถยนต์สันดาปภายในอย่างมาก ซึ่งเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Thermal Runaway ในแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน นั่นเอง

          Thermal Runaway  เกิดจากการมีความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเกินปริมาณความร้อนที่กระจายไปยังสภาพแวดล้อม จนทำให้เกิดการระเบิดและลุกไหม้ติดไฟ    ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการชาร์จหรือประจุไฟเกินกำลัง ความเสียหายทางกายภาพต่อเซลล์แบตเตอรี่ ไฟฟ้าลัดวงจร หรือเพราะอุณหภูมิสูงเกินกำหนด  จนทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในจนทำให้แบตเตอรี่ลิเธียม ซึ่งมีความไวต่ออุณหภูมิสูงและไวไฟ สามารถระเบิดและลุกติดไฟได้ และเผาไหม้เป็นเวลานานต่อเนื่อง หลังจากการระเบิดครั้งแรก สามารถกลับมาปะทุซ้ำได้หลายครั้ง  ตามเซลของแบตเตอรี่   การดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ลิเธียม จึงทำได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้สารดับเพลิงและวิธีการเฉพาะ  และต้องมีการควบคุม ติดตาม เฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เกิดการลุกติดไฟ (re-ignite) ขึ้นอีกครั้ง

          ดังนั้น ในสถานประกอบการหรือโรงงาน ที่มีรถยนต์ไฟฟ้าหรือมีการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า ก็จะมีอันตรายและความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามาในพื้นที่ ที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ต้องเข้ามาประเมินความเสี่ยงและอันตราย โดยสถานการณ์หรือกิจกรรมที่ควรทำการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า นั้น ควรครอบคลุมถึง
               1. 
ขณะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า
               2. 
สถานีอัดประจุไฟฟ้าในที่ร่ม ในขณะที่มีการอัดประจุ และไม่มีการอัดประจุไฟฟ้า
               3. 
สถานีอัดประจุไฟฟ้ากลางแจ้ง ในขณะที่มีการอัดประจุ และไม่มีการอัดประจุไฟฟ้า
               4. 
ลานจอดรถยนต์ไฟฟ้าในที่ร่ม  และ
               5. 
ลานจอดรถยนต์ไฟฟ้ากลางแจ้ง

          โดยขอยกตัวอย่างของอันตรายในแต่ละกิจกรรมและสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากรถยนต์ไฟฟ้า และสถานีประจุไฟฟ้า ดังนี้  

 

          แนวทางข้างต้นนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหรือมุมมองเบื้องต้น ที่ระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ท่านสามารถนำไปต่อยอดและนำเข้าสู่การประเมินความเสี่ยงของแต่ละองค์กรต่อไปได้ ทั้งนี้ ในการประเมินความเสี่ยง ควรพิจารณาบนพื้นฐานข้อมูล การจัดการและทรัพยากรที่แต่ละองค์กรมีอยู่อย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้ผลการประเมินความเสี่ยงนั้นอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและเกิดประโยชน์สูงสุด จากนั้นจึงดำเนินการวางแผนควบคุม ป้องกันหรือจัดการ เพื่อลดและความคุมความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรม ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยคำนึงถึงหลักการ Hierarchy of Control ที่เน้นการกำจัด (Eliminate) การลด (Reduce) การแยก (Isolate) และการควบคุม (Control) ตามลำดับต่อไป  

หมายเหตุ : เรียบเรียงจาก มาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Safety Standards) พฤษภาคม 2567 ของ เอสซีจี  

 

Visitors: 401,574