ข้อเสนอ สปอ.ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรื่องการดำเนินการเมื่อระดับการสัมผัสสารเคมีต่ำกว่า OELฯ

เผยแพร่เมื่อ: 29/01/2563 ....,

 

Chemical Exposure Level, Health Risk Assessment, Health Surveillance และ Health Promotion 

Surveillance เป็นคำที่มีรากเหง้ามาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า to watch over ดังนั้นคำว่า Health Surveillance จึงมีความหมายไปในทางที่จะคอยเฝ้าดูว่าสุขภาพยังดีอยู่หรือไม่ เราจึงนิยมเรียกว่า “การเฝ้าระวังสุขภาพ”

การทำ Health Surveillance มันต้องมีที่มาก่อนว่ามันต้องมีอะไรอันตราย เราจึงต้องเฝ้าดู เช่นอย่างล่าสุด เรามีปัญหา Corona virus เราจึงเอาเครื่องไปเฝ้าดูว่าใครเป็นไข้ไหมที่สนามบิน หากเป็น เราก็นำตัวมาดูในรายละเอียดต่อไป จึงเห็นได้ว่าต้องมีอะไรเกิดขึ้นก่อน เราจึงทำการเฝ้าดู ไม่ใช่ไม่มีอะไร เราก็ไปต้ังกล้องดูว่าใครมีไข้หรือไม่

การทำ Health Surveillance ในงานอาชีวอนามัยก็เช่นกัน เขาเริ่มกันด้วยการทำ Health Risk Assessment นั่นคือ ชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) หากมีประเด็น เช่นมีการใช้และมีการสัมผัสสารเคมี ก็ทำการประเมินหาระดับการสัมผัส (Chemical Exposure Level) ว่าเกินมาตรฐาน (ค่า OEL) หรือไม่ หากเกินก็ทำการควบคุม (Risk Control) ซะ

แต่หากไม่เกินค่า OEL ก็แปลว่า (ตามนิยามของค่านี้ อ้างถึง ACGIH, NIOSH, OSHA, HSE เป็นต้น) การสัมผัสเช่นนั้นไปตลอดชีวิตการทำงาน (40 ปี) ก็ยังคงปลอดภัย

คำถามจึงมีว่าแล้วเรา (ประเทศไทย) ทำไมต้องมาเฝ้าดูกันทุกปี แล้วที่กฎกระทรวงปี 49 กำหนดให้จป.วิชาชีพมีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงนั้นจะทำไปทำไม หากว่าเราไม่สนใจค่าระดับการสัมผัสเลย

อ.ดร.วรวิช นาคแป้น Worrawit Nakpan สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสธ.ได้ทบทวนดูว่า OSHA, HSE, WorkSafe Australia และที่ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เขาทำเรื่องนี้อย่างไร ก็พบสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเขาไม่ได้ทำแบบไทยทั้งหมด อย่างเช่น OSHA กำหนดว่าหากสัมผัสสาร ... ไม่เกินค่า OEL ก็ไม่ต้องตรวจสุขภาพ หรือสัมผัสสาร ... น้อยกว่าค่า Action Level ก็ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เป็นต้น

สอป.จึงเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานว่า

 

1. กระทรวงแรงงานควรพิจารณาทบทวนการกำหนดเรื่องการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่มีระดับการสัมผัสสารเคมีอันตราย ในกรณีต่อไปนี้
    1.1) ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย (Action Level)
    1.2) ต่ำกว่าค่าขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

2. กระทรวงแรงงานควรพิจารณาเรื่องการนำแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ซึ่งเป็นมาตรการสุขภาพเชิงรุก (Proactive Measure) มากำหนดเป็นกฎหมาย เพื่อทดแทนการตรวจสุขภาพ (Health Surveillance) ซึ่งเป็นมาตรการสุขภาพเชิงรับ (Reactive Measure) ที่อาจไม่จำเป็นต้องทำทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกจ้างมีสุขภาพที่แข็งแรงมากกว่าที่เป็นอยู่ อันเป็นการดำเนินการในลักษณะของการดูแลสุขภาพครบวงจร (Total Worker Health)

โปรดสังเกตว่า สอป.ไม่ได้เสนอให้ยกเลิกเรื่อง Health Surveillance แต่เสนอให้ทบทวนในเรื่องความถี่ของการดำเนินการ

แล้วเรื่อง Health Promotion เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะอะไร ลองอ่านข้อความต่อไปนี้นะครับ

Workplace health promotion is seen in the Luxembourg Declaration as a modern corporate strategy that aims at preventing ill health at work (including work-related diseases, accidents, injuries, occupational diseases, and stress) and enhancing health promoting potential and wellbeing in the workforce. Expected benefits for workplace health programmes include decreased absenteeism, reduced cardiovascular risk, reduced health care claims, decreased turnover, decreased musculo-skeletal injuries, increased productivity, increased organizational effectiveness and the potential of a return on investment. However, these improvements do not have to be long lasting, and require continuous involvement of employees, employers and society. (ที่มา : Good Practice in Occupational Health Services - A Contribution to Workplace Health, WHO Regional Office for Europe, 2002)

และนี้คือข้อเสนอของสอป.ที่วางบนพื้นฐานของงานวิชาการไปสู่การปฏิบัติ และมีความคุ้มค่าในประเด็นการคุ้มครองสุขภาพลูกจ้างแบบครบวงจร

 

Visitors: 367,331