“Safety benchmarking”

เผยแพร่เมื่อ:  01/05/2563....,

เขียนโดย นายวรากร  เดชะ, Vice President...,

 

“การรายงานสถิติอัตราการเกินอุบัติเหตุเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารงานความปลอด เพื่อประเมินหรือวัดผลความสำเร็จด้าน Lagging ซึ่งในแต่ละกลุ่อุตสาหกรรมจะมีทิศทางการเกิดอุบัติเหตุแตกต่างกันอย่างไร มีการรายงานเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ (Benchmarking) และนำมาพิจารณากำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่แต่ละองค์กรจะพัฒนางานต่อไปสู่ Zero accident” 

หน่วยงาน BLS หรือ Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor ได้ทำการสำรวจสถิติอัตราการเกิดการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน โดยมีการรายงานต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี 1994-2018 ตาม Link : https://www.bls.gov/iif/oshsum.htm#18Summary_News_Release ซึ่งจะมีสถิติในภาพรวมและจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม (NAICS: North American Industry Classification System United States, 2012)

สำหรับรายงานปี 2018 มีการระบุว่าสถิติอัตราการเกิดอุบัติเหตุ (Incidence rate) ได้รายงานขึ้นจากการฐานข้อมูล 2.8 ล้านการบาดเจ็บและเจ็บป่วย (2.8 million nonfatal workplace injuries and illnesses)ระบุค่าในช่อง Total recordable case ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มก่อสร้าง (Construction) มีค่า Incidence rate เท่ากับ 3.0 รายต่อ 2000,000 ชั่วโมงการทำงาน ซึ่งลดลงจากรายงานปี 2017 (3.1 รายต่อ 200,000 ชั่วโมงการทำงาน)

นอกจาก Incidence rate ยังมีสถิติอื่นๆ อีก เช่น ลักษณะการบาดเจ็บ และ ประเภทเหตุการณ์ที่เกิดการบาดเจ็บ ดังนี้ 

ตัวอย่างจากการรายงานของ BLS ข้างต้น เป็นข้อมูลที่แต่ละองค์กรสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการตั้งเป้าหมายการลดอุบัติเหตุตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง (Safety benchmarking) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพัฒนางานความปลอดภัยที่เหมาะสมกับธุรกิจ โดยในรายงานมีการนำเสนอข้อมูลแต่ละ Quartile ด้วย ทั้งนี้ สำหรับเกณฑ์การพิจารณาเป็น Recordable case ต้องอ้างอิงตามมาตรฐานของ OSHA Recordkeeping Standards Number 1904 ซึ่งทุกท่านสามารถตรวจสอบและค้นคว้าได้ใน Link : https://www.osha.gov/laws-regs/standardinterpretations/2008-07-14

Visitors: 365,757