“งาน Safety เป็นงานที่ฉันภูมิใจ และเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข”

เผยแพร่เมื่อ:  23/03/2563....,

เขียนโดย นางสาววรรณธนา วุฒิรัตน์, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
               บริษัท จีซี ไกลคอล จำกัด ในกลุ่ม พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
...,

 

“ทำไมงาน Safety ทำแล้วถึงทำให้รู้สึกภูมิใจ และมีความสุข เพราะงาน Safety ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองแต่ทำเพื่อคนอื่น และต้องทำงานกับคน ดังนั้นจึงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและตั้งใจเพื่อคนอื่นอย่างแท้จริง”...

เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานี้ เป็นเรื่องจริงที่และเป็นสิ่งที่อยากจะถ่ายทอดความรู้สึก ที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานจากคนที่เคยทำงานด้านสิ่งแวดล้อมแล้วได้โอกาสมาดูแลงานด้านความปลอดภัย แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนนะคะ ว่าเดิมดิฉันทำงานด้านสิ่งแวดล้อม แต่คนใกล้ตัวทำงานด้านความปลอดภัย โดยเราได้แต่เฝ้ามองและมีคำถามในใจเสมอว่า คนที่เคยทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจะมาเป็นหัวหน้างานด้านความปลอดภัยได้หรือไม่ แล้วจะทำได้ดีหรือไม่ มันจะเหนื่อยหรือยุ่งยากมากหรือไม่ แต่แล้ววันหนึ่ง เราได้รับโอกาสที่สำคัญยิ่ง ได้มาดูแลงานด้านความปลอดภัยและขึ้นมาเป็นผู้จัดการส่วนความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมแบบเต็มตัว ก็พบว่าเป็นงานที่ทำให้ฉันรู้สึกว่าทำแล้วเกิดความภูมิใจในตัวเองและมีความสุขมาก เพราะงาน Safety นั้น เราต้องประสานงานกับผู้คน มีระบบการจัดการ ควบคู่ไปกับการใช้เทคนโนโลยีมาจัดการให้เกิดความปลอดภัย แต่สิ่งที่สำคัญยิ่ง เราพบว่า งานด้านความปลอดภัยนี้เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ “คน” เป็นอย่างมาก เพราะ

  • คนเป็นคนคิด และออกแบบโรงงาน
  • คนเป็นคนคิด ระบบการจัดการ
  • คนเป็นคนตรวจสอบอุปกรณ์ภายในโรงงาน
  • คนเป็นคนควบคุมและบริหารจัดการ
  • คนเป็นคนวัดผล และปรับปรุงพัฒนา 


ดังนั้นคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ การดูแลงานด้านความปลอดภัยจะต้องเกี่ยวข้องกับ “คน” ดังนั้น เป้าหมายแรกที่ดิฉันคิด เมื่อต้องมาดูแลงานด้านความปลอดภัย ดิฉันต้องดูแล “คน” ให้ปลอดภัย แล้วทุกอย่าง จะปลอดภัยตามมา โดยพยายามสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เข้มแข็ง เริ่มต้นด้วยพฤติกรรมของแต่ละคน ต้องรู้และเข้าใจในอันตรายและความเสี่ยง เมื่อตัวเองรู้แล้วเข้าใจแล้ว ก็ส่งต่อพฤติกรรมไปยังเพื่อนร่วมงานโดย “เพื่อนเตือนเพื่อน” และสิ่งสำคัญยิ่งคือสร้างSafety Role model รวมถึงต้องสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยต้องยั่งยืนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการPlan Do Check Act แล้ว Continuous Improvement มาใช้ในกับการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เช่น “การสร้างพฤติกรรม เพื่อนเตือนเพื่อน” ต้องมีการกำหนดแผนการทำงาน มี Tool ที่ใช้ โดยในการตรวจสอบ พบว่าผู้รับเหมาจะรู้และเข้าใจความเสี่ยงหรือไม่นั้น มากกว่า 50% ผู้รับเหมาจะรู้และเข้าใจความเสี่ยงได้ต้องผ่านการสื่อสารจากหัวหน้างานหรือจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างดี ถึงจะเข้าใจ แล้วจึงจะมีพฤติกรรม ที่จะไปกล้าไปเตือนเพื่อน จึงต้องไม่หยุดนิ่งที่ต้องพัฒนาต่อเรื่องของการสื่อสารจากหัวหน้างานไปยังผู้รับเหมา เป็นต้น เพื่อให้วัฒนธรรมความปลอดภัยก้าวต่อไปไม่หยุดนิ่งและพัฒนาอย่างต่อเนื่องนอกจากนั้นกลุ่มคนในองค์กรยังแบ่งเป็น ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน และ ผู้รับเหมา ก็ต้องมีรูปแบบของการผลักดันที่แตกต่างกันไป แต่เป้าหมายเดียวที่เราต้องการคือ ทุกๆ คนที่อยู่ในองค์กรจะต้องปลอดภัย ดังนั้นความแตกต่างกันของแต่ละคน Safety จึงต้องมีศิลปะในการโน้มน้าวให้ทุกคนได้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่เราตั้งใจจริงที่อยากเห็นเค้าปลอดภัย เมื่อเราทำได้สำเร็จเราจึงรู้สึกภูมิใจมากที่ได้ทำงาน Safety

และงาน Safety ทำให้ฉันมีความสุข ทั้งๆ ที่งาน Safety เป็นงานที่ต้องปะทะกับคนจำนวนมาก ภาพที่คนอื่นมอง Safety จะมองว่าSafety มาจับผิด มาบังคับใช้กฎระเบียบ เหมือนตำรวจไล่จับขโมยเป็นต้น แต่ทำไมดิฉันถึงบอกว่า เป็นงานที่ทำให้มีความสุขเพราะเราได้ช่วยชีวิตคน เราได้ดูแลคน ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงคนในองค์เท่านั้น แต่ยังเหมือนเราได้ทำให้ครอบครัวเค้ามีความสุข ลูกได้เห็นหน้าพ่อแม่กลับมา เฉกเช่นเดียวกับที่ฉันกลับถึงบ้าน พบว่าเห็นรอยยิ้มของลูก รอเรากลับบ้าน เมื่อเราได้ดูแลพนักงานแล้วพนักงานปลอดภัย ก็เหมือนเราได้เห็นรอยยิ้มของลูกเรานั้นเอง รอยยิ้มเล็กๆ นี้แหละที่ทำให้ งาน Safetyในแต่ละวันนี้มีความสุข นอกจากนั้น 

“จึงอยากจะส่งต่อความรู้สึกถึงทุกท่านที่ต้องทำงาน Safety หากพบว่า วันไหนเราทำงานแล้วเหนื่อย ทำงานแล้วท้อ รู้สึกหมดกำลังใจ อยากให้ท่านอ่านบทความนี้แล้ว มีกำลังใจกลับขึ้นมา ว่างาน Safety เป็นงานที่ทำแล้วน่าภูมิใจและมีความสุข เป็นงานที่ไม่ใช่ทำเพื่อตนเองแต่ทำงานเพื่อให้ทุกคนนั่นเอง”

 

@Safety Professional

Visitors: 417,593