“Why We Need Safety manager & officer”

เผยแพร่เมื่อ:  23/03/2563 ....,

เขียนโดย วชิระ  บุญตะนัย, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม  
              บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ..,

 

“ผู้จัดการหน่วยงานความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทำไมต้องมี ??? คำถามที่เชื่อว่าหลายๆ คนในวงการอาจเคยได้ยินมา ท่ามกลางโลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยุคที่เทคโนโลยีเข้าถึงทุกซอกทุกมุมตึก ความรู้ วิชาการ หาได้ง่ายมากในอากู๋(Google) ผมสามารถให้ใครสักคน ศึกษาแล้วมาทำได้ไหม ? ทำไมยังต้องมี Safety…”

เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานี้ เกิดจากการเรื่องจริงที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน จากวิศวกรความปลอดภัย ระดับเริ่มต้น จนก้าวมาถึงผุ้จัดการ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของบริษัทหนึ่ง รวมทั้งการได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากหลักสูตรต่าง ๆ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Management, Leadership จากสถาบันชั้นนำของทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 

ในบทความนี้ขอยก Golden cycle (Why – How – What) มาใช้ในการอธิบาย ซึ่งก่อนอื่น เรามาตั้งคำถามในใจก่อนว่า “Why” ทำไมจึงต้องมี SHE Manager, Safety Officerและทำไมจะต้องเป็นเรา ?? ทำไมละถึงจะต้องมีถ้าเป็นเมื่อก่อน 1 เหตุผลที่เรามักจะได้ยินและสะเทือนใจมากจากคนนอกวงการ คือ “ก็เพราะกฎหมายกำหนดให้มีไง ไม่มีก็ผิดกฎหมายสิ” ไม่ผิดครับนั้นคือ จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในประเทศไทย แล้วทุกวันนี้ละ คงต้องมีไรมากกว่านั้น 

สิ่งที่ผู้เขียน ตอบคำถามในตัวเองคือ ก็เพราะงานความปลอดภัย มันคือวิชาชีพ หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า Professional ด้วยความเสี่ยงที่มีอยู่รอบตัวเราทั้งภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ เราจะเห็นข่าว การเกิดไฟไหม้ ระเบิด คนได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ธุรกิจหยุดชะงักจากปัญหาความปลอดภัย ซึ่งพร้อมที่จะเกิดได้ตลอดเวลา การจัดการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดจึงไม่ใช่ใครก็ทำได้ เหมือนเปิด Google หรือ You tube ดูแล้วสามารถทำได้เลย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะทำให้โรงงานไม่เกิดระเบิดเราจะทำอย่างไร ผมเชื่อแน่ว่าใน Google มีวิชาการมากมาย และสิ่งสำคัญไม่ใช่เนื้อหา แต่มันอยู่ที่การนำมาใช้งาน ที่ต้องอาศัยความเป็นมืออาชีพ หากจะเปรียบเทียบก็เช่นเดียวกับ เครื่องบินราคาแพง ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถขับได้ เปิด You tube ดูวิธีการขับแล้วก็ขับได้ ต้องอาศัยมืออาชีพที่จะทำให้เครื่องบิน บินได้อย่างปลอดภัย ถึงที่หมายตรงเวลากลับมาที่งานด้านความปลอดภัยฯ ก็เช่นกัน ผู้เขียน ในบางเรื่องก็ต้องอาศัยการศึกษาเปิดตำรา เรียนรู้จากประสบการณ์ สิ่งที่ทำได้สำเร็จจากที่อื่นๆ ประกอบ และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมหรือคำไทย ๆ คือ จริต ของแต่ละที่ เรื่องเดียวกับทำที่หนึ่งสำเร็จ และอีกที่หนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมก็ได้ สิ่งนี้ใน Golden cycle คือ “ How และ What”

ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสิ่งที่เป็นเหตุผลสนับสนุนความเป็นมืออาชีพ “Professional” การที่จะเป็นSafety Manager และ Safety Officer ที่มีความเป็นมืออาชีพในยุคที่โลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจะต้องทำอย่างไร คำตอบที่ผู้เขียนคงตอบแทนทุกท่านไม่ได้ เพียงแต่ชวนให้ทุกท่านได้คิดว่าปัจจุบัน โลกเปลี่ยนไปขนาดที่ตำราเนื้อหาหาได้ง่ายดาย เรียนได้ทุกที่ สิ่งที่อากู๋ ยังทำไม่ได้ข้างต้นที่เล่ามา ไม่ใช่ว่าในอนาคต จะไม่มีโอกาสเป็นไปได้ ...... เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน ยิ่งโลกพัฒนาไปเท่าไร Safety Manager และ Safety Officerก็ยิ่งต้องปรับตัวให้เร็วกว่า ให้สมกับคำว่า 

@Safety Professional

Visitors: 417,589