การพัฒนากฎความปลอดภัย และการนำไปสู่การปฎิบัติ

เผยแพร่เมื่อ: 28/05/2563....,
เขียนโดย คุณสวินทร์ พงษ์เก่า, Meet the Professional...,

 

"การพัฒนากฎความปลอดภัย และการนำไปสู่การปฎิบัติ

ในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ให้บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งต้องมีทั้งมาตรการเชิงรุก(มุ่งป้องกัน) และมาตรการเชิงรับ (การแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น)  โดยหลักที่ ใช้กันอยู่ เรา ใช้หลัก 3  ประการ ( 3E ) คือ

1. การควบคุมทางวิศวกรรม (Engineering )
2. การให้การศึกษาและให้ความรู้อย่างท่องแท้และต่อเนื่อง (Education )
3. การควบคุมโดยใช้กฎระเบียบอย่างเคร่งครัดและเหมาะสม ( Enforcement)

การพัฒนากฎความปลอดภัยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความเสี่ยงขององค์กร จึงเป็นแนวทางที่สำคัญและเป็นพื้นฐานส่วนหนึ่งของในการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  แต่ปัญหาของการใช้กฎเพื่อควบคุม  อยู่ที่จะทำอย่างไรจึงจะมีการใช้กฎอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด จะมีกฎเรื่องใดบ้างที่จะนำมาใช้ในการควบคุมความสูญเสีย และจะบริหารกฎความปลอดภัยดังกล่าวได้อย่างไร

 การพัฒนากฎความปลอดภัยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความเสี่ยงขององค์กร ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ  

  • ความจำเป็นในการออกกฎ
  • ระบบในการจัดการเกี่ยวกับการออกกฎ การนำกฎไปสู่การปฎิบัติ การปรับปรุงกฎให้เหมาะสม
  • การยอมรับของผู้ที่ต้องปฎิบัติตามกฎ 

หากองค์กร ไม่สามารถคบคุม ทั้ง 3 ปัจจัยได้อย่างเหมาะสม ก็อาจจะนำ ไปสู่ การฝ่าฝืนกฎ ซึ่งนับว่าเป็นความบกพร่องประการหนึ่งในการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และอาจเป็นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ  และความสูญเสียถึงขั้นรุนแรงได้

 อะไรคือสาเหตุที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามกฎที่องค์กรกำหนดขึ้น   

  • ไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำไปเป็นการฝ่าฝืนกฎ
  • ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับกฎที่องค์กรกำหนดขึ้น
  • ไม่รู้เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมต้องทำตามกฎ
  • ขาดการสื่อสารกฎอย่างมีประสิทธิภาพ จากผู้บริหารและหัวหน้าผู้ควบคุมงาน
  • มีวิธีการที่ดีและเหมาะสมกว่า การใช้กฎมาควบคุมความเสี่ยง
  • ไม่มีระบบการสร้างแรงจูงใจในการปฎิบัติตามกฎอย่างเหมาะสม

ในการจัดทำกฎความปลอดภัยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นในการบริหารจัดการนะบบกฎความปลอดภัยที่เหมาะสม และควบคุมการปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง

 ชนิดของกฎความปลอดภัย 

    กฎความปลอดภัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    1. กฎความปลอดภัยทั่วไป     จะเป็นกฎที่นำมาใช้กับทุกคนที่เข้ามาในพื้นที่ขององค์กร  

    2. กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน/พื้นที่      จะใช้เฉพาะกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด โดยแยกเป็นกฎเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะพื้นที่ ซึ่งการนำกฎมาใช้งานจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม  โดยพิจารณาว่ากฎจะนำมาใช้กับใคร และจะให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจในการใช้กฎได้อย่างไร

 

กฎความปลอดภัยทั่วไป  ( General Safety  Rules)

(ตัวอย่าง)

  1. ให้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน อย่างเคร่งครัด
  2. รายงานหัวหน้างานให้ทราบทันที เมื่อเห็นสถานการณ์ หรือการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ไม่ปลอดภัย อันอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บกับตนเองและผู้อื่น หรือเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน  กระบวนการผลิตและสิ่งแวดล้อม
  3. ให้เลือกใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร อุปกรณ์ ให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงาน และอยู่ในสถานที่ปลอดภัยก่อนที่นำมาใช้งานทุกครั้ง
  4. การใช้  ปรับแต่ง เปลี่ยนแปลง  หรือบำรุงรักษาอุปกรณ์ ต้องกระทำโดยผู้ที่มีหน้าที่เท่านั้น
  5. ให้สวมใส่ อุปกรณ์คุมครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตลอดระยะเวลาที่มีการปฏิบัติหน้าที่ มีความเสี่ยงอันอาจก่อให้เกิดการเกิดอุบัติเหตุ  และบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยบุคคล ให้อยู่ในสภาพที่ดี และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  6. ห้ามเล่น หยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงานอยู่
  7. ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ  คำเตือน เครื่องหมาย  ป้ายต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด

                                     

General   Safety   Rules

  1. Follow  instruction; don t  take chances. If you don t know, ask.
  2. Report immediately any condition or practice you think might cause  injuly and waste time, energy, and material. Keep your work area clean and orderly.
  3. Put everything you use in its proper place. Disorder causes injury and waste time, energy, and material. Keep your  work area clean and orderly.    
  4. Use the right  tools and equipment for the job and use them safety.
  5. Whenever you or the equipment  you operate is involved in an accident, regardless of how minor, report  it  immediately. Get first aid promptly.
  6. Use, adjust, alter, and repair  equipment  as directed. Keep it in good condition.
  7. Don t horseplay: avoid distracting others.
  8. When lifting, bend your knees, grasp the load firmly, then raise the load keeping  you back as straight as possible. Get help for heavy loads.
  9. Obey all rules, signs, and instructions.

                   

 กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน /พื้นที่ จะนำมาใช้กับ

  • อาชีพ  ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ช่างไฟฟ้า  พนักงานบำรุงรักษา    เป็นต้น
  • พื้นที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พื้นที่อับอากาศ    พื้นที่ที่มีการใช้แผ่รังสี ก่อไอออน เป็นต้น
  • งานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น  งานทำความสะอาดถังน้ำมัน   งานเชื่อมไฟฟ้า เป็น

     

กฎความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

(ตัวอย่าง)

  1. ให้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน อย่างเคร่งครัด
  2. รายงานหัวหน้างานให้ทราบทันที เมื่อเห็นสถานการณ์ หรือการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ไม่ปลอดภัย อันอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บกับตนเองและผู้อื่น  
  3. ต้องได้รับอนุญาต จากผู้อนุญาตที่ได้รับการแต่งตั้ง ก่อนเข้าไปทำงานในที่อับอากาศและปฎิบัติ ตามรายละเอียดที่ระบุใน ใบ  confine  space  permit  อย่างเคร่งครัด
  4. ไม่ทำงาน  Hot work ยกเว้นที่การปฎิบัติ ตาม ระบบการทำงาน  Hot work อย่างเคร่งครัด
  5. ให้สวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ตลอดระยะเวลาที่มีการปฏิบัติหน้าที่ มีความเสี่ยงอันอาจก่อให้เกิดการเกิดอุบัติเหตุ  และบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้อยู่ในสภาพที่ดี และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  6. ห้ามเล่น หยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงานอยู่
  7. ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ  คำเตือน เครื่องหมาย  ป้ายต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด

 

 การบริหารกฎความปลอดภัยและการนำกฎความปลอดภัยไปสู่การปฎิบัติ

การฝ่าฝืนกฎ ระเบียบและขั้นตอนการทำงาน ที่องค์กรกำหนดขึ้นเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสีย การบริหารจัดการที่ดีจะช่วยควบคุมให้การออกกฎ การปฎิบัติเป็นไปตามกฎ ระเบียบที่กำหนดไว้

การบริหารจัดการกฎความปลอดภัยให้มีประสิทธิผล  มีแนวทางปฎิบัติ 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นตอนการเตรียมการออกกฎ
  2. ขั้นตอนการนำเสนอกฎ
  3. ขั้นตอนการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ
  4. ขั้นตอนการส่งเสริมให้มีการปฎิบัติตามกฎ

1. ขั้นตอนการเตรียมการออกกฎ

ในการออกกฎใดๆขึ้นมาใช้ในองค์กร ย่อมส่งผลกระทบกับผู้ปฎิบัตงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการออกกฎจึงควรพิจารณาดังนี้

• ใช้หลักการมีส่วนร่วม

หลักการมีส่วนร่วม ให้ผู้มีผลกระทบกับการใช้กฎ ได้มีส่วนร่วมในการออกกฎ เช่น มีช่องทางในการเสนอแนวทาง และให้ความเห็น ถึงความเหมาะสมของกฎและความเหมาะสมในการนำไปใช้      มีการนำการเสนอแนะ จากผู้มีผลกระทบกับการใช้กฎ ไปพิจารณาอย่างจริงจัง

•ใช้หลัก เริ่มแต่น้อย ค่อยเป็นค่อยไป

อย่าออกกฎ ควบคุม กับทุกเรื่อง การออกกฎในระยะแรกควรมุ่งไปที่จุดที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงก่อน (Major loss)  และ เป็น งาน/พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงเป็น ( High risk task / area)

 •ใช้กฎ  “ KISS  ”  “ Keep it short and simple" “

ไม่ควรใช้ภาษาที่ เข้าใจยาก มีรายละเอียดที่ซับซ้อน  ความหมายกำกวม  ให้ยึดหลักการออกกฎ   สั้นแต่ง่ายชัดเจนและนำไปสู่การปฎิบัติได้โดยไม่ต้องตีความ 

•ออกกฎที่สามารถปฎิบัติได้ และเป็นไปได้ที่จะเกิดความสำเร็จในการใช้กฎเพื่อควบคุมความเสี่ยง

•กำหนดวัตถุประสงค์ของการออกกฎให้ชัดเจน  

•มีการทบทวนกฎเป็นระยะ

2. ขั้นตอนการนำเสนอ   เพื่อการสื่อสารความเข้าใจในกฎให้เป็นไปในแนวเดียวกัน

•แจกจ่ายกฎยังผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทุกคน

ต้องมีการแจกจ่ายกฎความปลอดภัยไปยังผู้ปฎิบัติงาน ในพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎและควรมีการสอบถามความเห็น จดบันทึกความเห็นเหล่านั้น เพื่อเป็นข้อมูลในการหาข้อสรุปร่วมกัน

•แสดงสาธิตให้เห็นและอธิบายให้ชัดเจน  (Show and tell)

 เพื่อกระตุ้นความสนใจ และเพื่อเพิ่มความเข้าใจ มีการอธิบายให้ชัดเจนว่า กฎแต่ละข้อมีความหมายอย่างไร ปฎิบัติได้อย่างไร มีความสำคัญอย่างไร นอกจากนั้นยังจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสาธิตร่วมด้วย หรือจะใช้ ภาพถ่าย สไลด์ แผ่นใส ฯ ร่วมด้วยจะเป็นการเพิ่มความชัดเจนมากขึ้น โดยต้องเน้นการสื่อสาร 2 ทาง 

•ทดสอบความเข้าใจในกฎ

ทดสอบว่าผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎมากน้อยเพียงใด  และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการมีกฎหรือไม่ จัดทำแบบทดสอบความเข้าใจ  ซึ่งการทดสอบความเข้าใจกฎ สามารถทำได้ทั้งข้อเขียน และปากเปล่า  ควรนำผลของการทดสอบมาอภิปรายแลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจมากขึ้น  สุดท้ายควรสรุปผลการนำเสนอเกี่ยวกับกฎอีกครั้ง

3. ขั้นตอนการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ

การบังคับให้ปฏิบัติตามกฎ เป็นการควบคุมการจัดการในการทำงาน  

•การตรวจวัดสถานะภาพ  (Measuring performance )

•การประเมินผลการนำไปปฏิบัติ  ( Evaluating compliance)

•การเสนอแนะและแก้ไข (พฤติกรรม)  ( Commendation and correction behaviors)

การควบคุมให้เกิดการปฎิบัติ จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม มีการสื่อสารเกี่ยวกับกฎ , วัตถุประสงค์ของการมีกฎ , นโยบายและขั้นตอนกับผู้ปฎิบัติงานให้ทราบอย่างชัดเจน  ควรมีการเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูล เช่น

•ข้อมูล การถกอภิปรายเกี่ยวกับกฎ  ป้ายห้ามที่เลือกโดยผู้ปฏิบัติงาน ข้อมูลแสดงการรับทราบกฎ  ความเข้าใจ และประเด็นถกเถียง

•ข้อมูลเกี่ยวกับการอภิปรายโดยกลุ่ม ข้อมูลการประชุม

•ข้อมูลเกี่ยวกับการทบทวนกฎและการอบรมซ้ำ

•ข้อมูลตัวบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎ 

•ข้อมูลเกี่ยวกับการชมเชย ที่ทำกับกลุ่มหรือรายบุคคล

4. ขั้นตอนการส่งเสริมให้มีการปฎิบัติตามกฎ

การสนับสนุนให้ปฏิบัติตามกฎ  เป็นการส่งเสริมทางบวกที่จะสร้างการยอมรับการปฏิบัติตามกฎมากขึ้น ซึ่งอาจกระทำเป็นรายบุคคล หรือกลุ่ม สามารถดำเนินการได้ดังนี้

•อภิปรายในที่ประชุมกลุ่ม

•การชี้แจ้งแบบรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกฎนั้นๆ

•การใช้ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบต่างๆ  เช่น  โปสเตอร์   facebook   line เป็นต้น

•การแข่งขันและการให้รางวัล เพื่อให้เกิดความภูมิใจ

•การทบทวนอย่างเป็นทางการเป็นระยะเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุง

หากองค์กร ได้มีการบริหารจัดการ กฎความปลอดภัยเป็นระบบ  อย่างเหมาะสมแล้ว และผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์ สู่ความเป็นศูนย์ ( Vision zero)  ซึ่ง เป็น แนว การสร้างวัฒนธรรมการป้องกัน ( Prevention culture )  เชื่อมโยงด้วย การสื่อสารที่ชัดเจน  และได้รับการยอมรับ จาก ผู้ปฎิบัติงาน ทุกคน อย่างเหมาะสม  ก็จะทำองค์กรสามารถ ควบคุมความเสี่ยง และลดความสูญเสีย ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ต่อไป

Visitors: 417,589