นักบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย: Safety and Health EngagementManagement

เผยแพร่เมื่อ: 15/06/2563

คุณสืบศักดิ์ ชนะชัยสุวรรณ ผู้บริหารงานมืออาชีพด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
(QHSSE - Quality, Health, Safety, Security and Environment)

 

นักบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย"

(Safety and Health Engagement Management)

 

“นักบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย” คำว่า นักบริหาร และ ผู้บริหาร ต่างกันในระดับการบังคับบัญชา แต่ในมุมมองของผม มันคือศิลปะที่เราสามารถฝึกและเรียนรู้ได้ ผู้บริหารที่ขาดทักษะของการเป็นนักบริหารในส่วนต่างๆ อาจทำให้งานที่ดำเนินการอยู่ไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้ามีทักษะการบริหารงานและประสานงานได้ดี จะทำให้งานใดๆที่ว่ายากแสนยาก อาจประสบผลสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็น”- จาก EP-1 - May 15, 2020

จากเรื่องที่ผมสรุปไว้ในคราวที่แล้วว่า เราจะทำให้งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับทักษะของการเป็นนักบริหารในส่วนต่างๆและประสานงาน นั่นคือส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่เราจะสามารถได้รับความร่วมมือและสร้างเสริมการมีส่วนร่วม ของบุคลากรในทุกระดับในองค์กรนั้น ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพราะเราต้องวางระบบในการประสานงานกับบุคคลากรต่างๆให้ดี และต้องได้สิ่งที่เราเรียกว่าความร่วมมือ แบบที่ฝรั่งเรียกได้ลึกถึงความเข้าใจง่ายๆว่า Engagement พอแปลเป็นไทย มันมีหลายความหมาย บางครั้งเรารู้สึกได้ว่า บางท่านมี Engagement กับ Accountability ที่สูงมาก แต่คำถามคือเราจะสร้างมันได้จริงหรือไม่

 

 

ผมเองตอนที่ทำงานในปีแรกเจอกับ Job Description พูดถึงเรื่องความรับผิดชอบในการทำงานของพนักงานทุกคน แต่ต้องมาสะดุดตากับคำว่า Responsibility and Accountability in Safety and Health   เรื่องนี้คือสิ่งที่ผมได้รับทราบตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน ทางบริษัท Johnson & Johnson ทั่วโลก ต้องการให้พนักงานทุกระดับมี Safety and Health Engagement ในทุกขั้นตอนในการทำงาน ในทุกภาคส่วนขององค์กร มันแปลกมากๆ ในยุคนั้นแต่ผมว่า มันถูกต้องและเหมาะสม เพราะทุกตำแหน่งในองค์กร มิใช่แค่หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่เท่านั้น แต่ต้องด้วยความปลอดภัยโดยการเอาใจใส่ถึงความรู้สึก และความรับผิดชอบ ที่เรียกว่า ภาระรับผิดชอบ (Accountability) ต่อตนเองและเพื่อนร่วมงานและองค์กรจริงๆ  

 

 

การที่นำเอา Safety and Health Engagement มาบริหาร บางท่านอาจมองว่าพื้นๆ แต่ไม่ง่ายครับ ที่จะบรรจุความคิดและภาระรับผิดชอบด้านความปลอดภัยให้เข้าไปอยู่ในเนื้องานในทุกตำแหน่งขององค์กร แบบที่เรียกว่า Built in ถ้าเป็นสมัยนี้เรามักจะใช้คำว่า conceptual design ที่นำมาใช้กับบุคคลน่าแปลกที่ทุกตำแน่งที่เป็นผู้จัดการแผนกของบริษัทแห่งนี้มี Accountability ที่เข้มข้น และเป็นNatural Element Manager กันทุกท่าน โดยมีภาระรับผิดชอบงานความปลอดภัยของแผนกตนเอง และงานที่ตนเองปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องอยู่ ฝ่ายหรือแผนก Facility ก็ดูแล Fire Prevention & Fighting  ฝ่ายหรือแผนกบุคคล เป็น Hiring & Placement ที่ต้องคัดพนักงานตามความต้องการตามเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด    ฝ่ายหรือแผนก Sales จะต้องดูแล Defensive Driving Programs ให้กับพนักงานขายที่ต้องขับรถ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนนสูงสุด (คล้ายๆงานบริหารความปลอดภัยที่ในสมัยนั้นดังมาก คือ International Safety Rating System– ISRS ที่ต้องมีการจัดการความปลอดภัยในฝ่ายหรือแผนกต่างๆทั้ง 20 Elements) นอกจากนี้การมีภาระรับผิดชอบเพื่อทำให้พนักงาน ทีมงานทุกท่าน ทุกๆชีวิตปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย และกลับบ้านด้วยความปลอดภัยทุกวัน งานนี้เราต้องให้ผู้บริหารทุกระดับ รักษาระดับของการปฏิบัติงานสร้างเสริมกิจกรรมและบทเรียนความปลอดภัยในองค์กรแบบต่อเนื่อง ทั้งการวิเคราะห์งาน การประเมินความเสี่ยงของพนักงานทุกท่าน (ย้ำนะครับว่าทุกท่าน) การฝึกอบรมความปลอดภัย การตรวจความปลอดภัย การสอบสวนอุบัติการณ์ต่างๆ การประชุมกลุ่มความปลอดภัย และอื่นๆที่ ต้องดำเนินงานโดยผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าแผนกเป็นกิจวัตรต่อเนื่อง ส่วนฝ่ายหรือแผนกความปลอดภัยต้องเป็นโคช คอยเสริมสร้างความเข้าใจถึงวิธีการต่างๆที่จะให้เกิดความปลอดภัยที่เป็นเป้าประสงค์คือทุกชีวิตปลอดภัยและเป็นผู้คอยประเมินผลของการปฏิบัติการเป็นระยะ (เราจะมาคุยกันในเรื่องนี้กันในตอนต่อๆไปครับ)

 

 

วิธีการทำให้ทุกคนในองค์กรเข้ามาร่วมมือกันปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยไม่ง่ายและก็ไม่ยาก หากในเอกสารสมัครงาน เพิ่มเติมข้อความเช่น บอกให้ทราบว่า องค์กรหรือสถานประกอบการณ์นี้ รับพนักงานเฉพาะคนที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นรวมทั้งองค์กรหรือสถานประกอบการณ์ด้วย ในบางแห่งให้ผู้สมัครงานเขียนส่วนความรับผิดชอบของพนักงานในตำแหน่งนั้นๆลงในใบสมัคร ว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้ตนเองปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อการรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน เรื่องนี้เองผู้ที่ทำการสัมภาษณ์พนักงานต้องนำไปถามย้ำกับผู้สมัครที่ผ่านขั้นตอนแรก ที่เรียกว่า Short-list เรื่องนี้จำเป็นนะครับ เพราะหากทุกขั้นตอนในการรับพนักงานเราเน้นเรื่องความปลอดภัยจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจแต่แรกว่า ตนเองต้องปฏิบัติตนอย่างไร และเป็นการปลูกฝังนโยบายและวัฒนธรรมขององค์กรที่ดีครับ  ขั้นตอนถัดมาในสัญญาการจ้างงานบางแห่งขึ้นต้นด้วยความปลอดภัยเป็นระบบการให้ความสำคัญในเรื่องนี้สูงสุด ที่พนักงานต้องปฏิบัติเป็นข้อต่างๆในรายงานต่างๆด้านล่าง  และในบางบริษัทที่ผมปฏิบัติงาน เราส่งเสริมให้ทางนักอาชีสอนามัยและความเป็นปลอดภัยเป็นผู้ต้อนรับ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยแก่พนักงานใหม่ที่เราเรียกว่า “You first day at …Company Name…”

  • กฏความปลอดภัยต่างๆ
  • การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลต่างๆ
  • การเข้าร่วมการอบรมความปลอดภัยทุกรายการที่ตำแหน่งงานนั้นๆต้องมี 
  • การรายงานอุบัติการณ์ต่างๆ การรายงานการเจ็บป่วยของตนเอง
  • การปฏิบัติตามกฏหมายและกฏความปลอดภัยต่างๆ (ถ้ามี ที่ระบุไว้ในกฏหมาย หรือกฏความปลอดภัยของบริษัทฯ ในตำแหน่งนั้นๆต้องมี)
  • เรื่องอืนๆที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงานที่อาจส่งผลเรื่องความปลอดภัยกับผู้อื่น (ถ้ามี ในรายงายวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัทฯ ที่เป็นปัจจุบัน)

เรื่องอื่นที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน ที่สามารถส่งต่อให้พนักงานนำไปศึกษาเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ในบางบริษัทให้รางวัลแก่ผู้คิดวิธีในการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยด้วย เช่นพนักงาน สามารถนำเสนอข้อเสนอแนะเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานในจุดเสี่ยงอันตรายต่างๆ แบบที่อวัยวะของพนักงานไม่ได้อยู่ในจุดอันตราย ที่ผมยังจำได้แม่นมากแม้เรื่องนี้ผ่านมาเกือบ 20 ปี ก็คือ พนักงานที่มี Engagement มากบางท่านมีแนวความคิดเกี่ยวกับงานความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมเป็นหัวหอกความปลอดภัยได้เลยครับ เขาชวนเพื่อนพนักงานเดินสำรวจจุดอันตรายด้วยตนเองในพื้นที่ที่รับผิดชอบ แล้วหาทางแก้ปัญหาร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ปรับปรุงการ์ดเครื่องจักร ไม่ให้เปิดได้ง่ายเกินไป หากต้องการเปิด เครื่องจะหยุดงานก่อนและหยุดการเคลื่อนไหว ก่อนที่เครื่องจักรจะปลดล๊อคและสามารถดึงประตูการ์ดเครื่องจักรเปิดขึ้นได้ ทำให้ไม่มีโอกาสที่มือ นิ้ว หรือ อวัยวะของพนักงานไปสัมผัสกับส่วนเคลื่อนไหว ของเครื่องจักรได้ และในขณะที่การ์ดยังเปิดอยู่ จะไม่สามารถรีสตาร์ทเครื่องจักรได้เลย จะต้องปิดประตูการ์ดก่อนและคลายปุ่มล๊อค จึงจะเริ่มรีเซตระบบ แล้วจึงจะทำให้เครื่องจักรทำงานต่อได้ ทั้งหมดนี้เกิดจากพนักงานที่จบเพียงประถมศึกษาปีที่ 4 เท่านั้น แต่ด้วยความสนใจที่จะต้องการให้ตนเองและเพื่อนๆปลอดภัยเท่านั้นเอง

เรื่อง Safety & Health Engagement ของพนักงานในองค์กรหรือสถานประกอบการนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท องค์กร สถานประกอบการ หากผู้บริหารมีวิธีการบริหารที่ดี เป็นระบบ ส่งเสริมพนักงานต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะทำให้พนักงานหันมาร่วมมือได้ไม่ยาก แต่หากผู้บริหารไม่ใส่ใจ ลืมไปได้เลยว่าพนักงานส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องความปลอดภัย หากเราต้องการให้พนักงานสนใจและเต็มใจปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย บางทีถ้าพนักงานได้รับคำพูดที่ให้ความรู้สึกว่า เขาได้รับการใส่ใจและดูแลจากผู้บริหาร องค์กรแทบไม่ต้องการกฏความปลอดภัยเลยครับ เช่นคำพูดที่ว่า “ผมเองต้องขอบคุณนะครับ ที่พวกเราเอาใจใส่ดูแลความปลอดภัยให้กับพวกเราอย่างเต็มที่ ผมอยากให้พวกเรามาจากบ้านมาถึงบริษัทด้วยความปลอดภัย ปฏิบัติงานที่นี่ด้วยความปลอดภัยกันทุกคน และกลับถึงบ้านด้วยความปลอดภัยกันทุกวันครับ”แล้วมีคำหนึ่งที่เป็นภาษาอังกฤษของท่านผู้บริหารระดับสูงท่านหนี่งพูดกับพนักงานที่ในสถานที่ปฏิบัติงานจริงไว้ครับ "I want everyone to return home safely after working safely here all day ... .. Thank you for your heart effort."ผมบอกตรงๆครับว่า มันกินใจและกำหัวใจพนักงานเอาไว้ครับมีหลายบริษัทที่พูดถึงเรื่องนี้ในปัจจุบันเช่นใน link นี้http://www.sews-cabind.com/come-to-work-safely-and-return-home-safely/

แต่แบบตัวอย่างเป็นการส่งสารให้พนักงานทั้งองค์กรจากผู้บริหาร แต่ส่วนที่ผมเล่าให้ฟังคือ ผู้บริหารมาเดินตรวจงานทั่วไป แล้วพบกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานมาด้วยความปลอดภัย โดยปราศจากอุบัติภัยถึงขั้นหยุดงานหรือบาดเจ็บเลยตลอด 3 ปี มันมีผลต่อความรู้สึกให้พนักงานกลุ่มนั้นจับต้องได้ และรู้สึกถึงพลังการสื่อสารของผู้บริหารฝรั่งท่านนี้มากๆ มันจับใจและจับประเด็นในสมองของพนักงานได้จริงๆครับผม

 

 

การบริหารงานเพื่อส่งผลให้พนักงานได้รับความปลอดภัยนั้น ยังมีอีกแยอะแยะครับ นี่คือเสี้ยวหนึ่งที่ส่งผลต่อจิตใจพนักงานครับ ซึ่งเป็นไปในทางบวกครับ  คราวหน้าจะมาคุยเรื่องที่เป็นส่วนของการที่เราต้องทำงานกับคนหลายประภทและหลายสี มาติดตามกันนะครับว่าคนเราเนี่ยมีกี่สีในภาพของ Inner หรือตัวตนของเราครับ ชอบคุณที่ติดตามครับ

Visitors: 365,727