จะดีไหม? หยุดการใช้ KPI- Key Performance Index ชลอการใช้ OKR- Objectives and Key Results และนำ OGSM-Objectives, Goals, Strategies and Measures มาใช้งานแทน

เผยแพร่เมื่อ: 15/08/2563....,
เขียนโดย คุณสืบศักดิ์ ชนะชัยสุวรรณ
Know how & How to in HSE Management Series...,

จะดีไหม?

หยุดการใช้ KPI- Key Performance Index

ชลอการใช้ OKR- Objectives and Key Results

และนำ OGSM-Objectives, Goals, Strategies and Measures มาใช้งานแทน

 

          ใน EP ที่แล้วได้เกริ่นไว้ครับว่าจะคุยเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร หลังจากที่แนวโน้มในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มุ่งสู่การจัดการเป้าหมายขององค์กร โดยปกติในปัจจุบันหลายบริษัทยังใช้ KPI และ OKR วัดผลงานของความก้าวหน้าของบริษัท ในงานด้านต่างๆ รวมทั้งงานความปลอดภัยครับ  และแม้ว่าทั้งคู่จะดี แต่ก็อาจไม่ดีไปกว่า เครื่องมือกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานเพื่อให้องค์กรที่หลายบริษัทชั้นนำระดับโลกเช่น P&G หรือ  Gilletteและ Johnson & Johnson นำมาใช้ พวกเขาพยายามข้ามจากวัตถุประสงค์เดิม ๆไปสู่ผลลัพธ์โดยตรงเพื่อผลประโยชน์กับองค์กรเป็นอย่างดี เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าใน Consumer Products ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านี้อยู่ทั่วโลก เจ้าตัวนี้มีมานานกว่า 20 ปีแล้วแต่ยังใช้งานอยู่ เราเรียกว่า OGSM-Objectives, Goals, Strategies andMeasures

          ในงานความปลอดภัยในองค์กร จำเป็นที่ต้องมีการวัดผลการปฏิบัติงาน เพื่อดำเนินงานปรับปรุงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่มากขึ้น ในกรณีนี้ไม่ต่างจากหน่วยอื่นๆในองค์กรทั่วไปแต่ละที่มีเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานในแบบต่างๆมากมาย ดังที่กล่าวมาแล้วทั้ง KPI  และ OKR  และตัวที่ผมจะคุยใน EP 4 นี้คือ OGSM ครับ ความหมายของแต่ละตัวคือ 

   KPI เป็น“ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก” เพื่อกำหนดปัจจัยที่จำเป็นในการบรรลุความสำเร็จในองค์กร

 

   OKR เป็น “วัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก” คือกรอบการกำหนดเป้าหมาย สำหรับแต่ละ OKR จะมีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุพร้อมกับชุดของการวัดผลที่จะวัดความสำเร็จของวัตถุประสงค์นั้นเรียกว่าผลลัพธ์หลัก

   ส่วนตัวที่ผมใช้งานมาตลอดนั้น คือ OGSM ซึ่ง OGSM เป็น “วัตถุประสงค์เป้าหมายกลยุทธ์และมาตรการ” คือกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ให้ใช้เป้าหมายที่ชัดเจนและระบุทางเลือกเชิงกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย

 

          จากประสบการณ์ทำงานด้านความปลอดภัยในหลายบริษัทที่เป็น บริษัทต่างชาติ มากกว่า 4 บริษัทนั้น การใช้เครื่องมือตัวนี้จะสามารถระบุรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติในการวางแผนงานความปลอดภัยได้ชัดเจนมาก และสามาถกำหนดกลยุทธในการดำเนินงานได้ครอบคลุมกับเป้าหมายและวัตุประสงค์ที่องค์กรต้องการบรรลุได้ง่ายขึ้น ลองดูตัวอย่างที่แนบมาครับ ดังตัวอย่างที่เกี่ยวกับ OGSM - Fleet Safety ประมาณ 15 ปีที่แล้วครับ

 

          และอีกตัวอย่างที่ใช้จริงในส่วนที่เกี่ยวกับ แผนงานที่อยู่ในส่วนที่เป็น OGSM – Medical Services Management

และอีกตัวอย่างที่ใช้จริงในส่วนที่เกี่ยวกับ แผนงานที่อยู่ในส่วนที่เป็น OGSM – Medical Services Management

 

          ในการจัดการที่สร้างความเข้าใจในองค์กรกับพนักงานทุกระดับ ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในเรื่องที่ระบุไว้ (Objectives) และเป้าหมายที่องค์กรต้องการ (Goals) กลยุทธ์ที่จะบอกจะบอกทุกคนในองค์กรว่าองค์กรจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (Strategies) และรู้ได้ว่าองค์กรบรรลุเป้าหมายแล้วหรือยัง (Measures) และในส่วนที่เป็นวิธีการที่จะทำให้องค์กรใช้เป็นวิธีย่อย ๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น (Tactics) ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผมและองค์กรที่ผมเคยทำงานด้วย ใช้เพื่อนำไปสู่เป้าประสงค์มาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีครับ แม้ว่าจะต่างบริษัทกันก็ตาม แต่ผมเลือกที่จะใช้แผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่สร้างขึ้นเป็นกรอบในการดำเนินงานทั้งหมด เพื่อสิ่งต่างๆเหล่านี้

  • การมีเป้าหมายเดียวกันทั้งองค์กร
  • สร้างวินัยและการทบทวนอย่างสม่ำเสมอเพื่อการบรรลุเป้าหมาย
  • สร้างระบบการทำงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ชัดเจนเช่นกัน
  • สร้างให้คนในองค์กรทราบถึงความสำคัญและวิธีการดำเนินงานตามแผนงานความปลอดภัยได้สอดคล้องกัน
  • สร้างระบบการตรวจสอบที่ถูกต้องและทันสมัย
  • สร้างให้เกิดโอกาสในการพัฒนางานด้านความปลอดภัยที่ยั่งยืน

          ในบางบริษัทได้กำหนดวัตถุประสงค์แค่เป็นหัวข้อสั้นๆเองนะครับ เช่น 1. Maintain Zero fatality and DAFWC แต่รายละเอียดของแผนงานนี่มาเยอะเลยครับ ดังตัวอย่างด้านล่างนี้

          การวางแผนงานทั้งหมดอย่างที่กล่าวมา ต้องทำพร้อมกับแผนก ฝ่าย ส่วนอื่นๆ ในองค์กร เพื่อความสอดคล้องกันในการทำงานครับ เพราะวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยนั้นสามารถนำไปใส่ให้กับทุกส่วนงานได้ทั้งหมดนะครับ ยิ่งแผนงานละเอียดครอบคลุมทุกส่วนและชัดเจน ยิ่งจะทำให้การปฏิบัติการเพื่อการป้องกันอันตรายต่าง ๆให้พนักงานและบุคคลากรในองค์กรของท่านมีความสำเร็จมากขึ้นไปด้วย ขอบคุณที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้นะครับ คราวหน้ารออ่านนะครับว่าผมจะเอาเรื่องการบริหารงานด้านความปลอดภัยอะไรมาเล่าให้ฟังครับ

Visitors: 417,589