ถามตอบจากการอภิปราย “กฎหมายตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในฝัน”

เผยแพร่เมื่อ: 25/09/2563 ....
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)...,

 

ถามตอบจากการอภิปราย “กฎหมายตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในฝัน”
          ต่อไปนี้ เป็นข้อคิดเห็น และเป็นคำถามจากผู้ที่เข้าฟังการอภิปราย และเพิ่มเติมจากวิทยากร ทางสอป.จะรวมให้อยู่ในข้อเดียวกันเลยเพื่อความสะดวกในการอ่านแล้วทำความเข้าใจ
                    1. ว่าด้วยเรื่องแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ อ.หมอเนสินี ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน OccMed จากคณะแพทยศาสตร์ มข.เขียนว่า occupational medicine physician : เป็น physician ที่อยู่ รพ. แต่ถ้าแพทย์ที่ qualified Occ Med ทำงานให้ รง. ในส่วน basic occupational health (fit for work, return to work) บางที่เรียก Occupational Health doctor ต่อมาทางหมออดุลย์ วิทยากรได้เขียนเพิ่มเติมว่า >>> แพทย์ที่ตรวจสุขภาพได้ตามกฎหมาย มี 2 กลุ่มคือ (1) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์ (จบการอบรม 3 ปี รับรองโดยแพทยสภา) และ (2) แพทย์ที่ผ่านการอบรมความรู้เบื้องต้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ 2 เดือน หลักสูตรกรมการแพทย์ เราเรียกกลุ่มแรกว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ กลุ่มที่สองเรียกแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรม 2 เดือน (แพทย์ 10 วันไม่ใด้รับการรับรอง))
                    2. ว่าด้วยปัจจัยทางการยศาสตร์ คุณ Siwalee Rattanapunya เขียนว่าปัจจัยทางการยศาสตร์มักถูกละเลยในการตรวจร่างกายตามความเสี่ยง (ได้พบแพทย์ GE เสมอ) รวมถึงสิทธิในการรักษา เราจะผลักดันช่องทางใดได้บ้างคะ (ปัญหาไม่รุนแรงมากแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ปฏิบัติงานมากค่ะ ส่วนใหญ่ลูกจ้างก็จะดูแลตัวเองหรือไปรับบริการตามร้านนวดแผนไทย)
คุณรัตติกรณ์ วิทยากรจาก Shell ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า >>> แชร์ข้อมูลค่ะ ปัจจัยทางการยศาสตร์ ที่บริษัทใช้การประเมินด้วยแบบสอบถาม ถาม work load/intensity rest/break, ความเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยง และความสามารถในการจัดการความเสี่ยงของพนักงาน ไม่ได้ใช้การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงนะคะ อย่างที่เรียนไปก่อนหน้า การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงอาจจะไม่ตอบโจทย์ได้ทุกความเสี่ยงนะคะ Stress; comes and goes เรื่อง health promotion/EAP จะช่วยได้มากกว่า และเรื่อง Ergonomic - workstations assessment, hfe in design น่าจะตอบโจทย์กว่าค่ะ
                    ผม อ.สราวุธ ขอเพิ่มเติมว่า ปัจจัยทางการยศาสตร์มีตัวแปรมากมาย แม้แต่ US.OSHA จะพยายามออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องนี้ ก็ต้องล้มไปในที่สุด (ไม่แน่ใจว่าเป็นสมัยคลินตันเป็นประธานาธิบดีรึเปล่า)
                    3. ว่าด้วยกฎหมายพรบ.โรคจากการประกอบอาชีพฯ คุณ Ganniga.num เขียนว่า - เรียนสอบถามอาจารย์อดุลย์ หน่อยนะคะ กฎหมายที่ออกโดยกรมควบคุมโรค ประกาศใช้หรือยังค่ะ เพราะอาจารย์แจ้งว่าสามารถส่งเอกสาร คล้ายๆ จผส.1 ไปที่กรมควบคุมโรค ด้วย แสดงว่าต่อไป ต้องแจ้งทั้ง 2 กรมหรือไม่อย่างไรค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
                    และนี้คือคำตอบครับจากหมออดุลย์ Adul Bandhukul >>> กฏหมายประกาศใช้แล้วครับแต่ยังไม่มีวิธีปฏิบัติ คงต้องรอประกาศเป็นแนวทางปฏิบัติออกมาก่อน มีข้อดีคือทางกรมควบคุมโรคจะนำไปวิเคราะห์ให้แทนกรมสวัสดิการฯ ซึ่งคนไม่พอ ต่อไปคงต้องรายงานไปสองที่ ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลงกฏหมาย แต่ทั้งสองฝ่ายกำลังพยายามประสานกันทำให้เราไม่ยุ่งยากนัก
                    4. ว่าด้วยราคาตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ทางคุณ Pichada.Kam เขียนมาว่า -
ราคาตรวจปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมี ราคาตรวจแพงมากต่อราย กรณีมีพนักงานเข้า/ออก ตลอด สถานประกอบการตรวจที ก็มีค่าใช้จ่ายพอสมควร อยากให้มีการควบคุมในราคาตรวจด้วยคะ และความชัดเจนสัมผัสสารเคมีระดับไหนที่ตรวจ
                    อ.สราวุธ ขอตอบดังนี้ >>> เรื่องราคาเป็นเรื่อง demand supply และมีบางกรณีที่รัฐยื่นมือเข้าไปกำหนดไม่ให้มีการค้ากำไรเกินควร เรื่องนี้เป็นเรื่องกฎหมายกำหนดว่าต้องทำการตรวจทุกปี ดังนั้นควรกำหนดเรื่องราคาที่เป็นธรรมครับ และเพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องตรวจตามปัจจัยเสี่ยง โดยไม่ดูความเสี่ยงเลยทำให้ไปกันใหญ่ในเรื่องค่าใช้จ่า
                    คุณ Pichada.Kam ถามเรื่อง “ความชัดเจนสัมผัสสารเคมีระดับไหนที่ตรวจ” คำตอบคือชัดเจนครับว่า “จะสัมผัสระดับไหน ต้องตรวจหมดทุกคน” นี้คือความชัดเจนที่น่าเศร้าครับ ไม่มีอิงวิชาการ ไม่ศึกษา Impact จากการออกกฎหมายเลย
                    5. ว่าด้วยเรื่องวิธีการประเมิน และข้อกำหนดของกฎหมาย ทางคุณสุรสิทธิ์ กลีบประทุม เขียนถามมาถึงสอป.ว่าคิดเห็นอย่างไรในข้อต่อไปนี้ ก็ขอตอบในนามนายกสอป.นะครับ ไม่ใช่ในนามสอป.โดยตรง (ไม่งั้นต้องรออีกนานกว่าจะประชุมกก.สอป.)​
                              1) เนื่องจาก ยังขาดรู้แบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงอีกหลายๆอย่าง เช่น การประเมินความเสี่ยงกับจุลชีวันเป็นพิษ เสียง หรือการยศาสตร์ ทาง สอป. มีความเห็นอย่างไรกับการดำเนินการประเมินความเสี่ยงนี้ และควรใช้การประเมินอะไร กับปัจจัยต่างๆ ให้ครบตามกฏหมายตรวจสุขภาพ 2547 นี้
                              คำตอบ >>> 1. รูปแบบประเมินทางวิชาการมีอยู่แล้วครับ แต่บางปัจจัยเสี่ยงอาจยากที่จะกำหนดเป็นกฎหมาย
                                                  2. กรณีเสียง มีกฎหมายกำหนดรูปแบบการประเมินไว้แล้ว
                              2) ตามกฏหมาย ตรวจสุขภาพ 2547 หมวด 2 ข้อ 9 อยากถามทาง สอป. ว่า
                                        2.1) ใครเป็นผู้พิจารณาว่า การเจ็บป่วยนั้นเป็นเนื่องจากการทำงาน --- เนื่องจาก หากไม่มีผู้ใดทำเเล้ว กฏหมายนี้จะมีประโยชน์จริงหรือไม่
                                                คำตอบ >>> คณะกรรมการแพทย์ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นคนวินิจฉัยครับ
                                        2.2) การพิจารณาว่า การเจ็บป่วยนั้นเป็นเนื่องจากการทำงาน ใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณา -- เเล้วเกณฑ์นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ เเละเกณฑ์เหล่านั้น ครอบคุมตามกฏหมายการตรวจสุขภาพ 2547 หรือไม่
                                                คำตอบ >>> คณะกรรมการข้างต้น มีการกำหนดเกณฑ์พิจารณาแล้ว รวมทั้งมีแนวปฏิบัติในการวินิจฉัยอยู่ แต่เรื่องสมเหตุสมผลไหม ผมไม่เคยวิเคราะห์ครับ
                              3) ยังไม่อยากให้คุณสสิธร สรุปว่า ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี เเต่ เน้นว่า ระดับความเสี่ยงเท่าไร ต้องตรวจบ่อยเเค่ไหน
                                                คำตอบ >>> อ.สสิธรก็มีความเป็นเช่นคุณครับ (แต่เสียดาย คนออกกฎหมายไม่ได้คิดอย่างนี้ เขาคงมีเหตุผลของเขาที่น่าจะประกาศให้ทราบกัน)

 

Visitors: 368,684