Working by team works in Hazardous Area and High-Risk work Area Series EP.1.0

เผยแพร่เมื่อ:  1/10/2563
เขียนโดย นายวิทยา ภูมิสามพราน
B.Eng. (Chemical Engineering) วศ.บ.(วิศวกรรมเคมี) ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
B.Sc. (Occupational Health and Safety) วท.บ.(อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
M.Econ. (Master of Economics)ศ.ม.เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

 Working by team works in Hazardous Area

and High-Risk work Area

 

          เราจะทำอย่างไรให้เกิดการทำงานเป็นทีม โดยจากการให้ความร่วมมือของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง  โดยไม่ถูกโดดเดี่ยวในการจัดการ ต้องทำแต่เพียงฝ่ายเดียว และจะดีกว่าไหมถ้าความร่วมมือเป็นทีมนั้น ทำด้วยความเข้าใจถึงเหตุผล ให้เชื่อมั่นและยอมรับถึงความรุ้ความสามารถซึ่งกันและกัน  ระหว่าง Safety officer, Engineer และ technicians บทความในซีรีย์นี้จะช่วยหาวิธีการ  และช่วยเป็นตัวอย่างในการวิเคาระห์ประเภทความเสี่ยงแต่ละพื้นที่ และแนวทางการป้องกัน หรือลดความเสี่ยง ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมได้

          เชื่อหรือไม่ หลายโรงงานมีกลุ่มพนักงานทีมงานเบื้องหลังที่ถูกมองข้ามไป ทั้งๆที่เขาทำงานในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในโรงงาน  ทั้งในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน แสง เสียง ความร้อน  ของมีคม  สารเคมี  ไฟฟ้า  การตกจากที่สูง ก๊าซพิษ สถานที่อัยอากาศ หรือ พื้นที่เต็มไปด้วยสารไวไฟ  หรือมีความเสี่ยงต่อการระเบิดได้  (ว่าง่ายๆคือทุกด้านจริงๆนั่นหล่ะครับ) และจะมีส่วนหนึ่งในนี้อาจจะเป็นหัวขบวนที่ไม่ยอมทำตามมาตรการความปลอดภัยที่ตั้งไว้ เพราะว่ามองต่างมุมโดยให้เหตุผลว่าทำแบบนี้มานานแล้ว ไม่เห็นเป็นอะไรเลย ดังนั้น หากใช้วิธีการบรรยายให้ฟัง หรืออ่านตามตัวอักษรให้ฟัง ก็คงหลับกันตั้งแต่ต้นการอบรมไปครึ่งทีม

          เราจะมีวิธีการอย่างไรในการให้เขาตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเขาได้ และเราจะมีทางออกให้เขาหลีกเลี่ยงอันตรายด้วยิธีไหนดี  (ทุกๆคนคงไม่มีใครอยากจะบาดเจ็บ หรือสูญเสีย อวัยวะกันทั้งนั้น)  คนเหล่านี้ บางโรงงานอาจเรียกว่า ช่างเทคนิค  ช่างซ่อมบำรุง  หรือถ้าโรงงานขนาดใหญ่ อาจจะแยกออกมาเป็นแผนกต่างหาก คือ หน่วยยูทิลิตี้ หรือแผนกโรงงาน (plant) แยกจากส่วนผลิต (process หรือ Manufactory)  กลุ่มคนเหล่านี้ที่มีทักษะทางด้านช่างแต่ละด้านส่วนบุคลสูงอย่างยิ่ง เป็นคนที่คอยแก้ปัญหางานระบบได้แทบทั้งโรงงาน บางคนอยู่กับโรรงานมาตั้งแต่ก่อสร้าง   เราจะร่วมกันทำงานกับพวกเขาได้อย่างไร โดยที่ไม่ถูกมองว่าเป็นคนที่มาจ้องแต่จับผิด  สามารถทำงานด้วยกันอย่างมีมิตรภาพและช่วยเหลือกันและกัน 

          เข้าใจในเหตุผลร่วมกัน ปรับแนวคิด วิธีการ ทำให้สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปกิบัติงาน โดยไม่ขัดต่อหลักความปลอดภัยของโรงงาน  ซึ่งหากเราทำได้จะได้ทีมงานที่มีทั้งทักษะและคุณภาพ ช่วยเราป้องกันและแก้ไขความปลอดภัยในโรงงาน

          ในเนื้อหาแต่ละตอนในซีรีย์นี้ Working by team works in Hazardous Areahigh-risk work area.จะถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนย่อยคร่าวๆ คือ
                    
1. ตวามรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติงาน และ บนพื้นที่ทำงานมีอันตราย หรือความเสี่ยงด้านอะไรบ้าง
                    
2. ความคุ้นชินกับปัญหาของผู้ปฏิบัติงานหน้างาน ที่อาจก่ออันตราย โอกาส(ระดับ)ของความเสี่ยง และความรุนแรงทั้งผลต่อบุคคล 
                    
3.ตัวเลือกในการช่วยลดความเสี่ยง ในลักษณะมาช่วยเหลือ ยอมรับความรู้ความสามารถของกันและกัน ไม่ใช่มาเพื่อบังคับ ซึ่งจะทำให้เกิดอติทางแนวคิดต่อกันได้ 
                    
4.การเลือกใช้การป้องกันที่เหมาะสมกับ ขนาดของโรงงาน งบประมาณของโรงงาน ทั้งในส่วนของการปรับปรุงสภาพหน้างาน  อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล  อุปกรณ์ส่วนกลางที่หน้างาน และตัวอย่างงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                    
5.แนววิธีการปรับปรุงให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น ป้องกันการเกิดความเข้าใจผิดในการเข้าใจผิดด้านภาษา สัญลักษณ์  สี แสง  โดยประยุกต์การยศาสตร์มาใช้ เพื่อลดการเมื่อยล้าจากการทำงาน

          บทความในซีรีย์นี้ในแต่ละตอน ประยุกต์มาจากการได้ทำงานร่วมกับ ผู้ปฏิบัติหน้างาน  ผู้รับเหมา  จากความรู้และแนวคิดแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอนจากการศึกษาเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี  อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และเศรษฐศาสตร์  จากประสบการณ์ที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับท่านคณาอาจารย์ ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล   และวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิศวกรรมในประเทศไทย เข้าสำรวจลงพื้นที่จริงถึงที่ เพื่อวิแคราะห์ได้อย่างตรงจุดมากที่สุด และให้คำปรีกษากับโรงงาน ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและ สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ในระยะเวลาโครงการต่อเนื่องมากกว่า 4-5  ปี มีโรงงานเข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา โดยครอบคลุมโรงงานทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่ ทุนจดทะเบียนสูงมาก จนถึง ระดับ SME และระดับความเลี่ยง  ตั้งแต่โรงงานผลิตหรือประกอบทั่วไป  โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร  โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม  โรงงานผลิตแอลกอฮอล์  โรงงานที่มีการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นต้น  และประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัย รวมถึง การทำงานด้าน Test Run & Commissioningการทำperformance test หม้อไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดใหญ่ตลอดเวลาที่ผ่านมา

          เนื้อหาในซีรีย์นี้จะแบ่งให้ครอบคลุม ตามพื้นที่ของโรงานในอุตสาหกรรมก่อน การกำหนดการมาตรการป้องกันและขนาดพื้นที่อันตรายให้เหมาะสมกับมาตรฐาน หรือคุ่มือด้ายความปลอดภัย และอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่นผสม หรือผลิต ของเหลวไวไฟ  ก๊าซไว้ไฟ โดยจะเน้นการป้องกันเชิงระบบ  และการป้องกันจากการการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับเพื้นที่  เทคนิคการคิดตั้งอุปกรณ์ ร่วมถึงระเบียบ ข้อห้ามต่างๆ

 

 

Visitors: 417,592