ระบบ Telematics กับการบริหารการขนส่งสมัยใหม่ (Telematics and new era of logistic management)

เผยแพร่เมื่อ: 10/10/2563....,
เขียนโดย คุณษมน รจนาพัฒน์
ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกอบรมการขับขี่เชิงป้องกัน NPC S&E

 

ระบบ Telematics กับการบริหารการขนส่งสมัยใหม่
(Telematics and new era of logistic management)

          หากวันนู้น ผมหิ้วกระเป๋าที่บรรจุบรรดาโบรชัวร์ และสาระพัดอุปกรณ์เดินเข้าไปหาอาเสี่ย อาเฮีย อาซ้อ ที่เป็นเจ้าของบริษัทรับจ้างขนส่ง ไม่ว่าจะขนคน ขนของ ทั้งที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือขนาดกลางๆ เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือแม้แต่ธุระกิจเล็กๆในครอบครัว ตระกูล เล้ง ตระกูลฉ่าง ตระกูลหวัง ตระกูลฮั่ว แล้วบอกว่า เอ่อ ครือๆๆๆ ผมจะมาเสนอขายระบบ เทเลแมติกส์ ก็คงจะเจอคำถามประมาณว่า
                    “อารายของลื้อวะ เทเลแมติ๊ก...”
                    
“มังช่ายทามอารายวะ เทเลแมติ๊กเนี่ย”
                    
“มังแพงม๊าย”
                    
“ช้าย ทามอารายวะ”
                    "
อั๊ว ชอบแบบทามมะดา เทคโนโลยีเยอะๆ อั๊วช้ายม่ายเป็ง" 

 

          บอกตรงๆนะครับ มันก็ออกจะเข้าใจยากอยู่เหมือนกัน ที่จะอธิบายให้บรรดา เฮียเข้าใจได้ง่ายๆ เอาเป็นว่า ผมจะพยายามถามๆ ว่าเฮียๆ เคยเจอปัญหาแบบนี้มั่งไหมครับ 
          
ปัญหาโลกแตกเลยครับ น้ำมันหาย แบบว่าเติมเต็มถัง แล้วอยู่ๆไปมันไม่พอ ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง รถแอบเลี้ยวเข้าคอก เสมียนกับคนรถมันรู้กัน ตัวเลขบัญชีน้ำมันไม่ตรงความจริง
          
ปัญหาที่สอง รถออกนอกเส้นทาง บางทีไปเกิดอุบัติเหตุในเส้นทางที่เราไม่ได้อนุญาตให้มันวิ่ง
          
ปัญหาที่สาม ไปถึงที่หมายล่าช้า ถูกลูกค้าด่าเช็ด
          
ปัญหาที่สี่ คนขับตีนผี เทกระจาด นี่ถ้าไม่ได้ซื้อประกันไว้ บรรลัยกันไปหลายรอบ
          
ปัญหาที่ห้า รถเสียกลางทาง หารถเปลี่ยนไม่ทัน ส่งของผิดเวลา ลูกค้ายกเลิกสัญญา ฉิบหายกันไปหมด
          
ปัญหาที่หก คนขับรถ เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก อยู่กันไม่ทน
          
ปัญหาที่เจ็ด ถ้าเป็นรถส่งสินค้าแบบตู้เย็น ไปถึงที่หมาย ตู้เย็นดันเสียไปตั้งแต่ตอนไหนไม่รู้ หมู ไก่ เน่าหมดเลย
          
ปัญหาที่แปด เวลาให้นอนมันไม่นอน ไม่จอด หลับใน เทกระจาด
          
ปัญหาที่ เก้า กำหนดเส้นทางไม่ได้ บางทีมีการสร้างสะพาน ทำทาง รถไปไม่ถึงที่หมายตามเวลา
          
ปัญหาที่สิบ ทุนหายกำไรหด หมายศาลกองเต็มโต๊ะ

          ที่พรรณามานั่นน่ะ ถ้าเป็นสมัยก่อน ก็ต้องพึ่งเจ้าพ่อเห้งเจีย กุมารทอง หรือไม่ก็ฮกลกซิ่ว จิวแปะทง ให้ท่านคอยสอดส่องให้ แต่เดี๋ยวนี้ท่านมีเจ้าพ่อ เทเลแมติกส์ ตอบได้ทุกโจกท์ที่สาธยายมา เทเลแมติกส์ ย่อมาจากคำว่า คอมมิวนิเคชั่น บวกกับคำว่า อินโฟร์แมติกส์  เกริ่นมาตอนแรกเกือบจะดีแล้วเชียว พอเจอไอ้สองคำนี่เข้า อาเฮียก็หันกลับไปซดน้ำชาทำตาปริบๆต่อ

          เอางี้ ระบบเทเลแมติกส์เนี่ย มันประกอบไปด้วย การติดตั้งอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อย่างเช่น ระบบ จีพีเอส ระบบนำร่อง และเซ็นเซอร์ต่างๆ เข้าไป แล้วมันส่งข้อมูลผ่านระบบการสื่อสารสมันใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบ สามจี สี่จี ห้าจี ทำให้เฮียๆสามารถดูข้อมูลเหล่านั้นผ่านคอมพิวเตอร์ แทบเบล็ท หรือมือถือ  ได้แบบเรียลไทม์  พูดง่ายๆก็คือ อาเฮีย อาซ้อจะลดค่าใช้จ่ายต่างๆและทำการบริหารจัดการระบบการขนส่ง

          เริ่มต้นง่ายๆ แบบนี้นะครับ ระบบเทเลแมติกส์ จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกส่งผ่านระบบสื่อสารไร้สายมาถึงผู้ที่บริหารจัดการได้โดยตรง ยกเป็นกรณีตัวอย่างเช่น
          
มีบริษัทรับเหมาขนส่งสินค้ารายหนึ่ง สมมุติว่าชื่อบริษัทลี้กิมเฮงทรานสปอร์ต เข้าไปรับสินค้าที่โรงงานซึ่งเป็นลูกค้าที่มีข้อกำหนดเข้มงวดมากมาย อาทิเช่น คนขับรถทุกคันจะต้องมีใบขับขี่ ท.3 ขึ้นไป ต้องไม่เกิดอุบัติเหตุเกินกว่า 2 ครั้งต่อระยะทางรวม 200,000 กิโลเมตร ถ้าเกินนั้นจะถูกยกเลิกสัญญา ต้องส่งสินค้าตรงเวลา และอื่นๆอีกมากมาย อยู่มาวันหนึ่ง คนขับรถหัวใส มีใบขับขี่ตามที่กำหนด เข้าไปรับสินค้าออกมา ขับพ้นประตูโรงงานก็ลงรถ แล้วให้ลูกชายอายุ 18 ปีขึ้นขับแทน ปรากฎว่าไปเกิดอุบัติเหตุ พลิกคว่ำ สินค้าหกล้นรั่วลงคลอง ไฟไหม้เป็นวงกว้าง นี่ถ้าเป็นระบบเทเลแมติกส์ เมื่อเปลี่ยนคนขับรถที่ไม่ได้อนุญาต รถจะไม่สามารถสตาร์ทติดได้ แม้แต่แอบเปลี่ยนคนขับ กล้องที่ตรวจจับใบหน้าก็จะตรวจพบอยู่ดี แบบนี้ เหตุการณ์นั้นจะไม่เกิดขึ้น อาเฮียเองก็จะได้รับข้อมูลแม้ว่าตอนนั้นเฮียอาจจะกำลังตีกอล์ฟอยู่ รถที่ใช้ความเร็วเกิน เฮียก็รู้ รถอยู่ตรงไหน มันก็โชว์บนแผนที่ อีกกี่กิโลจะถึงลูกค้า เฮียก็รู้

          อธิบายมาถึงขั้นนี้ เฮียเริ่มมองหน้าอาซ้อเลิกลั่ก แกแอบกระซิบว่า อั๊วไม่เอาฟังก์ชั่นนี้ได้มั้ยวะ ขืนอาซ้อรู้ว่ามันทำได้ขนาดนี้ เอามาติดรถเฮียเข้ามั่ง ชิกอ๋ายเลยกู รถใช้น้ำมันไปมากน้อย เพิ่มขึ้น ลดลงเท่าไหร่เฮียรู้หมด รถออกนอกเส้นทาง ไปจอดนิ่งๆ ดูดน้ำมันในคอก เฮียก็รู้ รถคันไหนครบกำหนดเข้าซ่อมบำรุง เฮียก็รู้ โอย... อีกสาระพัดประโยชน์เลยครับ อาซ้อ ชะโงกหน้ามาถาม “แล้ว มังแพงมั๊ย อาตี๋”
          
โอ่ย ซ้อ ไม่แพงเลยครับ ถูกกว่าค่าน้ำมันที่ถูกแอบดูดไปในคอก ถูกกว่ายางที่แอบไปถอดเปลี่ยนเอายางหล่อดอกมาใส่แทนซะอีก เอาแบบที่ว่า รถติดเครื่อง ถ้าไม่วิ่ง จอดตรงไหนซ้อเห็นหมดเลย

 

Visitors: 417,587