การนำเทคนิค Safety Coaching ไปสู่การปฎิบัติ และการทำ Safety Coaching Plan

เผยแพร่เมื่อ:  19/10/2563....,
เขียนโดย นายสวินทร์  พงษ์เก่า 
กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ 

การนำเทคนิค Safety Coaching ไปสู่การปฎิบัติ

และการทำ Safety Coaching Plan

          ในกระบวนการพัฒนาบุคคลากร ของ องค์กรให้เกิด ความรู้และความตระหนักถึงอันตรายที่แฝ้งเร้นในการทำงาน นั้น มีวิธีการ ใน หลายรูปแบบ เช่น การฝึกอบรมและ class room  การ ทำ OJT ( on the job training) เป็นต้น   การสอนงานเพื่อความปลอดภัย (Safety Coaching)   ก็เป็นวีธีการหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ เพื่อให้การปฎิบัติงานบรรลุเป้าหมายด้วยความปลอดภัย โดยเป็นวีธีการที่ หัวหน้างาน ( จป.หัวหน้างาน) นำไปใช้ในการสอนงาน และสอดคล้องกับหน้า ที่ ที่กำหนด ให้ จป.หัวหน้างาน มีหน้าที่  ต้อง สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

          การ coach คืออะไร
          
การ  coach เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป ในการช่วยให้ผู้ที่ถูก coach เราเรียกว่า   coachee มีผลงานดีขึ้น ได้เรียนรู้ และได้พัฒนา coachee  สามารถคิดด้วยตนเอง มองเห็นได้ทะลุปรุโปร่ง มีความคิดสร้างสรรค์ coach ต้องไม่คิดว่าตัวเองมีคำตอบที่ถูกต้อง แต่ช่วยให้coachee สำรวจตรวจสอบ ทำความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม

          หน้าที่สำคัญของ Coach ในการสอนงาน
                    
ทำให้ Coachee เห็นตัวเอง/เข้าใจตัวเอง ในศักยภาพที่มีในตนเอง
                    
ทำให้ Coachee เกิดความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองและยกระดับให้ดีขึ้นตลอดเวลา
                    
ทำให้ Coachee มุ่งมั่นสู่เป้าหมายและรับผิดชอบ
                    
ทำให้ Coachee เกิดความไว้วางใจในตัวโค้ช (Coach)
                    
โค้ช (Coach) และ Coachee มีความรับผิดชอบต่อเป้าหมายร่วมกัน

          การสอนงานเพื่อความปลอดภัย (Safety Coaching) คืออะไร
                    
การสอนงานเพื่อความปลอดภัย  เป็นกระบวนการพัฒนาทีมงานให้มีความรู้ (Knowledge)  ทักษะ (Skill)  พฤติกรรม (Behavior)  และลักษณะเฉพาะตัว (Personal  Attribute) ในการทำงาน และความตระหนักถึงอันตรายที่แฝ้งเร้น เพื่อให้การปฎิบัติงานบรรลุเป้าหมายด้วยความปลอดภัย

          Safety Coaching style
                    
มีรูปแบบ ทั้ง แบบ Push และ แบบ Pull  โดย  ผู้ที่เป็น coach  จะใช้ทั้ง 2 รูปแบบ ในลักษณะผสมผสานได้  ขึ้นอยู่กับลักษณะของ coachee  ในเป้าหมายในการ coach ในแต่ละครั้ง แต่ Safety  Coaching style ทั้ง 2 รูปแบบ มุ่ง ให้  coachee เกิดความตระหนัก และสามารถปฎิบัติงานบรรลุเป้าหมายด้วยความปลอดภัย

          ในการ coach มีจุดมุ่งหมาย ในการการสอน หรือพฤติกรรมการฝึก/การเรียนรู้ที่คาดหวังของผู้เรียน ในรูปของการแสดงออก หรือการกระทำที่สามารถสังเกตเห็นได้ ประกอบด้วยข้อความ 3 ส่วน คือ                             
                    
1. พฤติกรรมที่คาดหวัง
                    
2. สถานการณหรือเงื่อนไข   
                    
3. เกณฑ์

Safety Coaching Plan

 

          Safety Coaching Plan  ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการกำหนดหัวข้อเรื่อง เนื้อหา สื่อการสอน ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ วิธีสอน วิธีวัดผลและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติงานได้บรรลุผลตามจุดประสงค์ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

          โดย Safety Coaching Plan  ที่จัดทำขึ้นดังกล่าว จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงเพื่อยกระดับได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สามารถ เป็นแนวทาง ในการ coach  ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการ coach ของ แต่ละท่านต่อไป

 

Visitors: 367,424