Feedback บทเรียนและเสบียงในการก้าวเดิน

เผยแพร่เมื่อ: 04/11/2563....,
เขียนโดย โค้ชออนซ์_สุชาดา อวยจินดา, Mentoring & Coaching for JorPor Series,
วิทยากร/ที่ปรึกษา/โค้ช/นักเขียน

Feedback 

บทเรียนและเสบียงในการก้าวเดิน

          หากเราเคยเป็นผู้ให้และรับ Feedback เราน่าจะเคยผ่านความรู้สึกเหล่านี้

 

          เมื่อเป็นผู้ให้ Feedback
                    + 
ไม่มั่นใจว่าจะสื่อสารอย่างไรให้ผู้รับFeedbackยอมรับ
                    + 
คิดไปว่า ผู้รับFeedbackจะโกรธ เกลียด
                    + 
คิดว่าพูดไปก็ไม่มีประโยชน์
                    + 
กลัวการเผชิญกับอารมณ์ของผู้รับFeedbackในขณะรับFeedback

 

          เมื่อเป็นผู้รับFeedback
                    + 
ไม่ชอบ กลัว ปฏิเสธการรับ Feedback

          ในการพูดคุยระหว่างโค้ชและโค้ชชี่ (ผู้ได้รับการโค้ช) มีการฟัง การถาม และยังมีการให้ Feedback ต่างๆเพื่อให้โค้ชชี่ทราบเป็นระยะๆ และขมวดประเด็นที่เพิ่งพูดกันไป โดยใช้หลัก Feedback ที่มีความชัดเจน เน้นการพัฒนา สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ ที่มีการวิเคราะห์ผ่านคำถามก่อนการให้ Feedback ดังนี้
                    1. 
จำเป็นต้องพูดหรือไม่
                    2. 
พูดไปแล้วจะเกิดประโยชน์หรือไม่
                    3. 
พูดถูกเวลา ถูกสถานที่  และถูกคนหรือไม่
                    4. 
พูดแต่สิ่งที่เป็นความจริงหรือไม่
                    5. 
พูดไปแล้วจะเกิดการพัฒนาหรือไม่

          ความรู้สึกเมื่อเป็นผู้ให้และรับ Feedbackจะเปลี่ยนไปจากความรู้สึกข้างต้น เมื่อเราฝึกการให้ Feedback ตามแนวทางการให้ Feedbackจากหนังสือ Emotional Intelligence ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

          ผู้ให้ Feedback
                    + 
เตรียมใจ เตรียมความพร้อมให้ผู้รับ Feedbackด้วยการบอกว่า Feedback จะช่วยให้เกิดการพัฒนาเติบโต เมื่อผู้รับ Feedback เปิดใจยอมรับจึงจะให้ Feedback

                    + ควรเลือกจังหวะทิ่อารมณ์ของตัวเองมั่นคง สงบนิ่ง ให้ด้วยความปรารถนาดี เพื่อให้คำพูด ภาษาท่าทางและโทนเสียงในขณะพูด เต็มไปด้วยความเมตตา
                    + 
ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ปราศจากการตีความ พูดถึงพฤติกรรมไม่ใช่ตัวคน
                    + 
อาจถามความคิดเห็นหลังให้ข้อเท็จจริง หรือขออนุญาตให้ข้อเสนอแนะ และสอบถามความคิดเห็น

          ผู้รับ Feedback
                    + 
ทำใจเป็นกลาง
                    + 
เมื่อได้รับFeedbackแล้ว เปิดใจ นำมาประเมินตนเอง
                    + 
ปรับมุมมองที่มีต่อFeedbackกำหนดวิธีการที่จะพัฒนาตัวเอง

 

 

โค้ชเป็นกระจกสะท้อนที่ยิ่งใส จะยิ่งทำให้ผู้ส่อง (โค้ชชี่) เห็นตัวเองชัดเจนยิ่งขึ้น

ด้วยรักและห่วงใย

จากใจ..โค้ชออนซ์_สุชาดา อวยจินดา

วิทยากรความปลอดภัยในการทำงาน (หลักสูตรจิตสำนึกความปลอดภัย,หลักสูตรพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานBBS และหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานอื่นๆ)

ที่ปรึกษา (ด้านความปลอดภัยฯ, ด้านสิ่งแวดล้อม, ด้านพัฒนามาตรฐานแรงงาน และด้านการพัฒนาองค์กร)

โค้ชด้านจิตวิทยาการสื่อประสาท NLP : Neuro Linguistic Programming Coach หรือ NLP Coach (หลักสูตรการโค้ช,รับปรึกษาปัญหาเพื่อทะลายทุกข้อจำกัดที่ฉุดรั้งคุณ)

นักเขียน หนังสือเรื่อง จิต(ใต้)สำนึกความปลอดภัย

 

 

Visitors: 417,582