Who am I? เราคือใคร

เผยแพร่เมื่อ:  1/11/2563
เขียนโดย นายวิทยา ภูมิสามพราน
B.Eng. (Chemical Engineering) วศ.บ.(วิศวกรรมเคมี) ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
B.Sc. (Occupational Health and Safety) วท.บ.(อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
M.Econ. (Master of Economics)ศ.ม.เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

เรื่อง Who am I? เราคือใคร

          ก่อนที่เราจะมองหาเพื่อนร่วมงานมาร่วมชะตากรรม สร้างเป็นทีมเวริคก่อนอื่นเลย ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเลย ฉันคือใครในโรงงานขณะนี้ และอยู่ในส่วนไหนของโครงสร้างขององค์กร ก่อนที่จะทำอะไรต่อไป เพราะว่าแต่ละโรงงานมีวัฒนธรรมภายในองค์กรแตกต่างกันโดยสิ้งเชิง ทั้งลำดับการสั่งการบริหาร ขนาดของโรงงาน จำนวนพนักงาน ประสบความรู้ความสามารถพนักงานแต่ละส่วน รวมถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมไม่เหมือนกัน

          เช่นหากเราอยู่ในองค์กรที่มีความพร้อมทั้งงบประมาณสนับสนุน และบุคลากรที่มีความสามารถสูง การสร้างทีมก็เป็นแบบหนึ่ง ความพร้องสูงก็มีทั้งขอดีและข้อเสียโดยไม่รู้ตัว บางทีการทำงานที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไม่มาก แต่ขั้นตอนมากรัดกุมจนรัดตัว ก็จะขาดความคล่องตัวจนคนทำงานอึดอัด

          แต่ถ้าเราอยู่ในโรงงานชนิดที่ว่า เถ้าแก่ คือ CEO ฉันคือความถูกต้อง จป.มีหน้าที่ทำเอกสารให้ครบตามกฏหมายเป็นพอ แบบฟอร์มเป็นเพียงกระดาษเอาไว้ขีดติ๊กเครื่องหมายเล่นก่อนเปลี่ยนกะและเก็บเข้ากล่องรอวันชั่งโลขาย อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเป็นเพียงของประดับตู้โชว์ ว่าที่แผนกนี้มีแล้วนะ มันก็เป็นหนึ่งในรูปแบบที่มักจะเจอกัน

          แค่ตัวอย่างแบบสุดโต่งคร่าวๆที่ยกมา คงมองเห็นภาพออกกันบ้างใช่ไหมครับ ว่ามีความจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า เราคือใคร  ทำไหวแค่ไหน ทำอะไรได้บ้างในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยโรงงานในแต่ละแบบ

          Who am I?
          
เราคือใคร แน่หล่ะ ส่วนมากที่เข้ามาอ่านเข้ามาดูบทความนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ควาปลอดภัยประจำโรงงาน  หรือได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ดูแลด้านความปลอดภัย และด้านเอกสารมาตรฐานต่างๆภายในโรงงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมาย เป็น จป. ผู้โดดเดี่ยวแค่ลุยกับงานเอกสารด้านมาตรฐานก็หมดเรี่ยวแรงแล้ว ไหนจะต้องผลักดันเอกสารด้าน JSA , WI , work permit ผู้รับเหมาที่มาแทบไม่เว้นแต่ละวัน

ก่อนอื่นที่เราจะไปหาทีมงานมาช่วยงานเราต้องรุ้ก่อนว่า เราอยู่ในสถานะใดในโรงงาน  มีพาวเวอร์ผลักดันให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานได้แค่ไหน มาดูโครงสร้างคร่าวๆกันก่อนว่าเรา อยู่ในองค์กรแบบไหน

          ตัวอย่างผังองค์กร โรงงานเรามีผังองค์กรหน้าตายังไงบ้างมาลองดูกันว่าจริงเปล่า
                    1. 
โรงงานขนาดเล็กที่มีเจ้าของเครือญาติหรือเพื่อนของเจ้าของเป็นผู้บริหารดูแลเองทั้งหมด
                        
การบริหารโรงงานในลักษณะแบบนี้ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยมักจะทำหน้าที่อย่างอื่นมาก่อน เช่นเป็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ หรือเจ้าหน้าที่ดูแลเอกสาร แต่ถูกเพิ่มหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเข้ามาอีกหน้าที่หนึ่ง การทำงานมักถูกจำกัดในทุกๆด้าน ทั้ง ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล

 

                    2. โรงงานขนาดกลางที่มีเจ้าของเป็นบอร์ดบริหารมีการจ้างลูกจ้างฝ่ายบริหาร
                         
โรงงานขนาดกลางที่มีเจ้าของเป็นบอร์ดบริหาร หรือเป็นผู้จัดการโรงงาน มีการแบ่งแยกขอบเขตการทำงานในแต่ละหน้าที่อย่างชัดเจน  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย อาจจะแยกอิสระหรืออยุ่ภายใต้ฝ่ายบุคคล  ความคล่องตัวในการทำงานขึ้นอยุ่กับนโยบายของฝ่ายบริหาร ว่าจะให้ทำงานในลักษณะมีแต่ทำแต่งานเอกสารหรือ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยส่วนมากมักพ่วงกับงานเอกสารด้าน iso ต่างๆ

                    3. โรงงานขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งแยกความรับผิดชอบในแต่ละฝ่ายออกเป็นส่วนๆอย่างชัดเจน
                         
บอร์ดบริหารมีหน้าที่เพียงกำกับกรอบวัฒนธรรมองค์กร​หรือเป้าหมายเท่านั้น การคิดหาวิธีการ​หรือแนวทางการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย​เป็นหน้าที่ของผู้จัดการในแต่ละส่วนอย่างอิสระหรือระดับการตัดสินใจในกรณีที่มีผลกระทบส่งผลกระทบต่ำ​อาจสามารถตัดสินใจได้จากหัวหน้าฝ่่ายได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดรอเข้าการประชุม

                    4. โรงงานขนาดใหญ่มาก​หรือมูลค่าสูงหรือ​บริษัท​ที่มีโรงงานในเครือหลายแห่ง
                        การตัดสินใจจะคล้ายกับ​โรงงานขนาดใหญ่แต่จะมีส่วนกลางคอยกำกับ​เป้าหมายและตรวจสอบ​โรงงานในเครือ​อีกชั้นหนึ่งอีกระดับ​เพื่อ​รีเช็คให้เป็นไปในแบบแผนเดียวกันทุกโรงงานในเครือ การบริหารงานภายในโรงงานจะคล้ายๆกันกับโรงงานขนาดใหญ่

          จาก 4 รูปแบบผังองค์กรที่ยกมา อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละโรงงานที่แตกต่างกันออกไปนะครับ ขึ้นอยุ่กับลักษณะการผลิต การจัดการด้านบริหาร ถ้ามีใครช่างสังเกต จะเห็นกรอบสีแดงล้อมรอบบางตำแหน่งอยู่ ใช่แล้วครับ คนที่มีกรอบล้อมรอบสีแดงคือคนที่เราควรจะชวนมาร่วมทีมงานด้านความปลอดภัย ส่วนจะยอมมาหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องชวนมาทุกคนนะครับ ทั้งนี้การทำงานร่วมกันอาจจะทำงานในรูปแบบ คปอ หรือ ลักษณะ จป.หัวหน้างาน ย่อมสามารถช่วยผ่อนแรงเราได้มากและตรงจุดที่สุดตอนต่อไปจะบอกถึงว่า ทำไมทีมเราต้องการคน คนนี้ เพราะเหตุใด

          แต่ในบทความซีรีย์นี้จะเน้นทางด้านฝ่ายซ่อมบำรุงเป็นหลักก่อนนะครับ เนื่องจากมีพื้นที่อันตราย และทำงานในพื้นที่มีความเสี่ยงสูง และมีแทบทุกโรงงาน แต่ในไลน์ผลิตอย่าน้อยใจไปนะครับ มีกล่าวถึงโดยแยกเป็นประเภทโรงงานในซีรีย์นี้เช่นเดียวกันอดใจรอซักนิด

 

Visitors: 361,611