Safety in Design (SID)? ออกแบบด้วยความปลอดภัยความปลอดภัยต้องเริ่มต้นจากการออกแบบ

เผยแพร่เมื่อ: 15/11/2563
คุณสืบศักดิ์ ชนะชัยสุวรรณ 
ผู้บริหารงานมืออาชีพด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
(QHSSE - Quality, Health, Safety, Security and Environment)

เรื่อง Safety in Design (SID)?  

ออกแบบด้วยความปลอดภัยความปลอดภัยต้องเริ่มต้นจากการออกแบบ

          ความปลอดภัยต้องเริ่มต้นจากการออกแบบเพื่อความปลอดภัยของพนักงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ใช้บริการต่างๆตั้งแต่ต้นโครงการจนเสร็จสิ้นและต้องเริ่มนำปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โดยในระหว่างการออกแบบผลที่มีสุขภาพและความปลอดภัยต่อพนักงานที่ทำงานในโครงการผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การเตรียมสถานที่ทำงานเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยสูงสุดในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องจักรต่างๆ ต้องมีความปลอดภัยสูงสุด สิ่งต่างๆเหล่านี้ นับเป็นการบริหารงานความปลอดภัยที่ ต้องนำมาปฏิบัติเป็นประจำ เพราะถ้าออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือความสูญเสีย และขจัดความเสี่ยงต่างๆได้จริง สุดท้ายคือความปลอดภัยสูงสุด 

          หากองค์กรต่างๆ พยายามหาสิ่งที่มีผลต่อความเสี่ยงและสามารถป้องกันได้ เนื่องเพื่อความปลอดภัยสำหรับพนักงานของตน จำเป็นต้องออกแบบสิ่งที่มีผลต่อทัศนคติของพนักงานที่เป็นบวก และที่มีต่อองค์กรตลอดจนพฤติกรรมด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ชัดเจน รวมๆ แล้ว เราต้องออกแบบในทุกขบวนการ เพื่อสามารถที่จะนำผลของการออกแบบนั้น มาใช้และดำเนินงานได้จริง

          เริ่มตั้งแต่ผู้บริหารที่แสดงเจตจำนงสั่งการให้มีนโยบายที่ชัดเจน ให้นำเอาความปลอดภัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ที่เป็นส่วนหลักในแผนการดำเนินงานขององค์กร เพื่อแสดงให้คนในองค์กรเห็นว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กร ในทุกองค์กรต้องจัดการให้มี SID – Safety in Design เกิดขึ้นให้ได้ในทุกขบวนการการทำงานจะช่วยให้เราสามารถหยุดยั้งอุบัติเหตุได้จริง

          “การทำให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น” (Do it Right the First Time) หรือ การทำให้งานปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้น (Do the job safely the first time) เป็นมาตรการเชิงรุก  ในการป้องกันอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัยอย่างแท้จริง จึงเป็นทางทั้งศาสตร์และศิลป์ของวิชาการด้าน “วิศวกรรมความปลอดภัย” (Safety Engineering)

          องค์กรต้องสร้าง “วัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน” ที่ว่า “ถ้าเสี่ยง จะไม่ทำ” หรือ “ถ้าอันตราย จะไม่ทำ” หากจำทำต้องปลอดภัย หากจะต้องทำ ต้องออกแบบเพื่อความปลอดภัยเสียก่อน

          กระบวนการออกแบบที่ได้นำ ปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย มาคิดวิธีการควบคุม มาออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อความเสี่ยงที่ลดลง จนถึงทำลายโอกาสที่จะมีความเสี่ยงจนเกิดเป็นอันตรายต่อพนักงาน ซึ่งต้องทำก่อนจะมีการทำงานจริง เรียกว่า การออกแบบตอนต้นเลยทีเดียว สิ่งของและหรือคนที่เกี่ยวข้องนั้นมีมากมาย ทั้งสถาปนิก วิศวกร หัวหน้างาน พนักงาน เครื่องจักรอุปกรณ์และทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

          เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ หากแต่บางองค์กรนำมาใช้ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว เช่นบริษัท Dupont, Johnson & Johnson, Chevron และอีกหลายบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศ   ส่งผลให้บางบริษัท ลืมอุบัติเหตุที่เราเรียกว่า Injury Accident, Lost Time Accident ไปแล้วกว่า 15 ปี   

          ในคราวหน้าจะนำเอาตัวอย่างที่เรียกว่า Safety Life Cycle ที่นำมาใช้ออกแบบ Project งานต่าง ๆ เช่น แผนดำเนินงานการก่อสร้าง และการผลิตต่าง ๆ  เรื่องตั้งแต่ Initial Design จนจบงานมาให้ดูครับ

          ลองคิดดูว่าในองค์กรเราจะเริ่มต้นการนำเอาวิทยาการนี้มาใช้เมื่อไรและอย่างไร ถ้าอยากได้รายละเอียดที่ชัดเจนและตัวอย่างติดต่อมาได้นะครับ

 

 

Visitors: 417,593