การไหลของอากาศแบบทิศทางเดียว (Directional Air Flow) กับความดันแตกต่าง (Differential Pressure)

เผยแพร่เมื่อ: 20/12/2563....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารุญ เกตุสาคร
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

เรื่อง การไหลของอากาศแบบทิศทางเดียว (Directional Air Flow)

กับความดันแตกต่าง (Differential Pressure) 

             EP.5 เราพูดถึงหลักการตรวจประเมินคุณภาพอากาศโดยใช้หลักการ Air Change Rate Per Hour: ACH การคำนวณจากภาวะความร้อนโดยตรง และการคำนวณจาก Indoor Air Quality Requires ซึ่งก่อนจะเข้าสู่กระบวนการควบคุมหรือแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศจากการตรวจประเมินยังมีรายละเอียดอยากทำความเข้าใจกับทุกท่าน คือ การไหลของอากาศแบบทิศทางเดียว(Directional Air Flow) กับความดันแตกต่าง (Differential Pressure: DP) ซึ่งทั้งสองอย่างบางคนยังอาจจะแยกไม่ออกว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้น EP.6นี้จะมาพูดถึง Directional Air Flow กับ Differential Pressure กันครับ

             1. Directional Air Flow
                          
วัตถุประสงค์ของ Directional Air Flow เพื่อที่จะลดความเสี่ยงของสารที่ปนเปื้อนในอากาศให้ออกไปจากห้องที่มีการใช้สารเคมีอันตรายต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ซึ่ง Directional Air Flow ไม่ใช่หรือไม่เหมือนกับDifferential Pressure: DPพิจารณาจากภาพที่ 1 

ภาพที่ 1 ตัวอย่างแผนผังแสดงการไหลแบบทิศทางเดียว (Directional Air Flow)[1]

             โดยจะเห็นได้ว่าการนำอากาศเข้าจะต้องผ่านไปยังบริเวณที่ไม่มีการใช้สารปนเปื้อนในอากาศก่อนแล้วอากาศจะไหลผ่านมายังห้องหรือบริเวณที่มีการใช้สารเคมีหรือมีการใช้สารต่าง ๆ ที่อาจจะปนเปื้อนในอากาศหรือเป็นอันตรายเป็นบริเวณสุดท้ายก่อนปล่อยออกไปยังด้านนอกซึ่งในลักษณะแบบนี้เราจะเรียกว่า Directional Air Flow

             2. Differential Pressure
                          
สำหรับความดันแตกต่าง (Differential Pressure: DP) สามารถพิจารณาได้ตามภาพที่ 2 และสามารถประเมิน Differential Pressure: DP ได้ตามสมการที่ 1 หรือจากการใช้เครื่องมือในการตรวจประเมินดังภาพที่ 3

ภาพที่ 2ตัวอย่างแผนผังแสดง Directional Air Flow กับ Differential Pressure : DP[1]

             จากภาพที่ 2 จะสังเกตเห็นว่าถ้าเราจัดให้ห้องแยกเชื้อ (Culture) มีความดันเป็นบวกหรือมีความดันที่มากกว่าห้องข้างเคียงจะทำให้อากาศไหลออกจากห้องแยกเชื้อซึ่งเป็นห้องที่มีการใช้สารเคมีต่าง ๆ ไหลออกไปยังบริเวณ/ห้องพื้นที่ข้างเคียงที่มีความดันน้อยกว่าได้ ซึ่งเป็นการจัดการคุณภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้องและเรายังสามารถประเมินความดันแตกต่างเมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างเคียงได้จากการตรวจประเมินโดยการใช้เครื่องมือและสามารถนำมาคิดคำนวณได้ตามสมการที่ 1 ได้อีกด้วย

DP      = Differential Pressure (in.wg)

Q       = Air Flow (cfm)

A        = Total leak area (ft2)

2610   = Conversion factor

ภาพที่ ตัวอย่างการตรวจประเมิน Differential Pressure : DP

             จากภาพที่ 3 การตรวจประเมิน Differential Pressure : DP ต้องใช้เครื่องมือและวิธีมาตรฐานในการตรวจประเมินพิจารณาได้ตามภาพที่ 4

ภาพที่ 4 เครื่องมือและวิธีมาตรฐานในการตรวจประเมิน Differential Pressure : DP

             สำหรับ EP. ต่อไปเราจะมาพูดถึงวิธีการตรวจประเมินในแต่ละพารามิเตอร์กันต่อนะครับ สำหรับ EP.6 นี้คงพอจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านบ้างนะครับและฝากติดตามEP. ต่อไปกันด้วยครับ….ขอบคุณครับ

 

เอกสารอ้างอิง

[1] J. Paul Jennette, MS, PE, RBPDirector of Biocontainment OperationsCornell College of Veterinary Medicine; Available source: http://www.eagleson.org/wp-content/uploads/2014/03/W0905.pdf

Visitors: 367,247