5ส ทำอย่างไรให้ยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ:  4/01/2564....,
เขียนโดย นายสวินทร์  พงษ์เก่า 
กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ 

 

เรื่อง 5ส ทำอย่างไรให้ยั่งยืน

          บ้านจะมั่นคงแข็งแรงต้องมีเสาเข็มที่มั่นคงฉันท์ใด องค์กรจะมั่นคงยั่งยืนก็จะต้องมีพื้นฐานของความคิด ความร่วมมือของผู้ปฎิบัติงานทุกระดับในการคิดปรับปรุงและยกระดับให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อมในการทำงานอยู่ตลอดเวลา  
          
5ส เป็นเครื่องมือในการบริหารการจัดการที่เป็นระบบ มีการทำอย่างมีส่วนร่วมและต้องทำทุกคน ทำทุกที่ และทำทุกเวลา  เพื่อให้เอกสาร    เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุ วัตถุดิบ สถานที่ เพื่อให้เกิดความสะดวกปลอดภัย  มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการก้าวไปสู่คุณภาพและการเพิ่มผลผลิต เพื่อนำองค์กรสู่ความยั่งยืน แต่หลายองค์กรยังคงพบคำถามนี้เสมอได้แก่
                    - 
เครียด เหนื่อย จากงานประจำอยู่แล้วทำไม่จึงต้องทำ 5ส อีก
                    - 
งานประจำก็มากอยู่แล้ว
                    - 
ไม่แน่ใจ จะเอาจริงหรือไม่
                    - 
สับสน ไม่รู้จะเริ่มทำ 5ส อย่างไร
                    - 
ความเข้าใจไม่ถูกต้อง ไม่รู้ว่าทำ 5ส ไปทำไม
                    - 
ทิศทางการทำ 5ส ไม่ชัดเจน
                    - 
จะเอางานหรือจะเอา 5ส

          ดังนั้น การที่จะให้  5ส  เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน จึงต้องพิจารณาถึงบริบทของแต่ละองค์กรที่มีความแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ( Personal factor ,ปัจจัยคน) เพื่อที่จะได้ทำการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจถึงความถ่องแท้ของหัวใจในแต่ละ  ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของระบบ 5ส ในองค์กร เปรียบประดุจกับการตอกเสาเข็มของบ้านที่แข็งแรงมั่นคง ทำให้เมื่อเราสร้างบ้านขึ้นมาแล้ว บ้านของเราจะแข็งแรงมั่นคง สามารถสู้กับลมและฝนได้ โดยไม่พังลงมา

 

   หัวใจ 5ส 
          สิ่ง ใดที่เราทำจากใจทำด้วยหัวใจ สิ่งนั้นจะคงอยู่อย่างยั่งยืน เช่น เดียวกับ 5ส  หากเราเข้าใจในแก่นแท้ของ 5ส  แล้ว เราก็จะเกิดการยอมรับและนำไปสู่การปฎิบัติได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จนเกิดเป็นนิสัยในการปรับปรุงและยกระดับให้ดีขึ้นตลอดเวลา ดังคำที่กล่าวว่า มีใจให้ใจ  ให้ใจถึงจะได้ใจ  ข้าพเจ้าขอสรุปหัวใจของ 5ส  ในแต่ละ ส  ดังต่อไปนี้
          หัวใจ ส1 ( ส.สะสาง )

          สิ่งของที่จำเป็น และสิ่งของที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งาน ต้องถูกแยกออกมาให้ชัดเจนก่อน โดยพิจารณาสิ่งของตามหลักการดังต่อไปนี้

          หัวใจ ส2 ( ส.สะดวก )

          ในการ ทำต้องเน้น ให้เกิด ประสิทธิภาพ  คุณภาพ และความปลอดภัย อย่างยั่งยืน

 

          หัวใจ ส 3 ( ส. สะอาด )

 

          ส 3 นี้ เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้สามารถแยกสิ่งที่ผิดปกติออกมาจากสิ่งที่ปกติได้อย่างชัดเจน โดยใช้การควบคุมด้วยการมอง โดยปกติแล้วคนเราจะรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้าได้แก่ การมองเห็น การได้ยินการดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัสโดยผ่านอวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนัง และประสาทสัมผัสที่ใช้มากที่สุดและมักจะใช้พร้อมๆกัน ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การมองเห็นและการได้ยิน เป็นพื้นฐานการรับรู้ทั่วไป แต่มักพบว่าการรับสารโดยการได้ยินอย่างเดียวมีข้อจำกัดมากมาย เช่น ในสถานที่ที่มีเสียงดัง เสียงรบกวน อาจเป็นอุปสรรคต่อการได้ยิน โดยเฉพาะการพูดคุย อาจทำให้การถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นต่อจะผิดเพี้ยนได้ง่าย ดังนั้นความสำคัญจึงไปอยู่ที่การควบคุมด้วยการมองเห็น
          Visual Control จึงเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมากในการสื่อสาร “ ข้อมูล ข่าวสาร ที่จำเป็นในการทำงาน ” ผ่านการมองเห็นในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะการสื่อสารของตัว Visual Control เช่น ป้าย สัญลักษณ์ แถบสี เครื่องหมาย รูปภาพ ตาราง กราฟ ตัวเลข ข้อความ ภาพถ่าย ฯลฯ ดังคำกล่าวในสำนวนที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น” หรือ “ภาพหนึ่งภาพแทนคำบรรยายนับพัน” Visual Control จึงเป็นเทคนิคพื้นฐานในการเพิ่ม Productivity ที่สามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

 

 

          หัวใจ ส4 ( ส.สุขลักษณะ )

 

          การทำ ให้เกิดความต่อเนื่องและเป็นแบบแผน และแนวทางเดียวกันในองค์กร ส 4 นี้ จะต้องกำหนดเป็นมาตฐานให้ชัดเจน และมีความเหมาะสม โดยมาตฐานบางอย่าง  ต้องใช้ได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา มาตรฐานนี้จะเป็นมาตรฐานกลางที่ใช้ร่วมกัน  แต่อาจมีบ้างพื้นที่ในองค์กรที่มีลักษณะเฉพาะ ก็สามารถกำหนดมาตรฐานเฉพาะพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม แต่มาตรฐานทุกอย่างที่กำหนดขึ้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและยกระดับได้ ตามความเหมาะสม  แต่ขอให้เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้เกิดการยอมรับ และร่วมกันรักษามาตรฐานที่กำหนดขึ้นด้วยใจ

 

 

 

          หัวใจ ส 5 ( ส. สร้างนิสัย )

 

          ส5  นี้จะเกิดขึ้นเมื่อวงจร  ส 1  ส2  ส3  และ ส 4  เกิดการทำอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นนิสัยของการรักษามาตรฐาน และนิสัยรักการปรับปรุงเป็นพื้นฐานที่สำคัญของบุคคลที่มีวินัย อันเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการ

          หากเราเข้าใจหัวใจของ 5ส  อย่างถ่องแท้แล้ว ก็เป็นที่เชื่อได้ว่าองค์กรของเรา สามารถทำให้ 5ส  มีการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและเป็นพื้นฐาน สำคัญที่จะทำให้ผู้ปฎิบัติงานทุกคนในองค์กรทำ 5ส  ได้อย่างเข้าใจและมุ่งมั่น ดั่งคำที่ว่า  5ส ต้องทำทุกคน  ต้องทำทุกที่ และต้องทำทุกเวลา

 

 

Visitors: 361,588