20 คำถามในการประเมินตนเองเพื่อกับการเตรียมการรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน

เผยแพร่เมื่อ:  14/01/2564....,
เขียนโดย นายสวินทร์  พงษ์เก่า 
กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ 

เรื่อง 20 คำถามในการประเมินตนเอง

เพื่อการเตรียมการรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน 

          ในการทำงาน เราไม่อาจมั่นใจได้เลยว่าจะมีเหตุการณ์ ที่ไม่พึ่งประสงค์ใดเกิดขึ้นได้บ้าง ดังนั้นการวางแผนล่วงหน้าสำหรับรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เรามีการวางแผนที่เหมาะสม เพื่อการรองรับเหตุการณ์ เมื่อเหตุการที่ไม่พึ่งประสงค์นั้นเกิดขึ้นจริง  ทำให้เราได้มีการเตรียมทรัพยากรไว้อย่างเหมาะสม  ไม่มากและไม่น้อยเกินไป เพื่อตอบโต้เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทันท่วงที่และมีความพอดี  ตลอดจน สามารถทำการซักซ้อมทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและการฝึกซ้อมประเมินประสิทธิผล การการตอบโต้เหตุการณ์ และนำผลที่ได้จากการฝึกซ้อมมาแก้ไขปรับปรุงและยกระดับให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป         

          20 คำถามในการประเมินตนเองเพื่อการเตรียมการรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
                    1. 
ท่านมีเอกสารเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ประสานงานเพื่อบริหารแผนฉุกเฉินทั้งหมดหรือไม่?                      
                    2. 
ท่านมีการแต่งตั้งผู้ประสานงานประจำหน่วยงาน/ พื้นที่ เพื่อบริหารแผนภายในหน่วยงาน/พื้นที่ปฏิบัติงานภายในองค์กร อย่างครบถ้วนหรือไม่?
                    3. 
ท่านมีแผนฉุกเฉินหลักทั้งหมดสำหรับองค์กร ซึ่งประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้                             
                              
·  การอพยพคนไปยังจุดปลอดภัยที่ได้เตรียมไว้อย่างเพียงพอและเหมาะสม
                              
·  การ  Shut down ของอุปกรณ์อย่างเป็นระบบ
                              
·  การเคลื่อนย้ายหรือป้องกันวัสดุและอุปกรณ์ที่สำคัญต่อองค์กร (เพื่อทำให้ผลกระทบน้อยที่สุด)                                
                    4. ท่านมีแผนที่เป็นเอกสารของแต่ละหน่วยงาน/พื้นที่ปฏิบัติงานที่แสดงถึงการฝึกซ้อมการเผชิญเหตุฉุกเฉิน การ Shut down ของอุปกรณ์และวิธีปฏิบัติการต่อเหตุฉุกเฉินอื่นๆหรือไม่?
                    
5. ท่านมีเอกสารแสดงถึงผลลัพท์การฝึกซ้อม เช่นการ Shut down, การเผชิญเหตุฉุกเฉินและการทดสอบอุปกรณ์ฉุกเฉินที่เป็นไปตามกฎหมาย และการฝึกซ้อมเพื่อรับเหตุฉุกเฉินที่ดีในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติงานหรือไม่?
                    
6. ท่านมีไฟแสงสว่างฉุกเฉินอย่างเพียงพอสำหรับทางออกทั้งหมดและทุกพื้นที่ที่นำไปสู่ทางออก เช่นทางบันได ลิฟท์,ห้องต่างๆ เป็นต้น  ในทุกๆอาคาร/ทุกๆพื้นที่หรือไม่?                                  
                    
7. ท่านมีไฟแสงสว่างฉุกเฉินและแหล่งจ่ายไฟฉุกเฉินอย่างเพียงพอสำหรับพื้นที่ซึ่งต้องมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาชีวิติของผู้ปฎิบัติงานและการธำรงรักษาไว้ของวัตถุและทรัพย์สินที่สำคัญอย่างยิ่งหรือไม่?                                                                                                       
                    
8. ท่านมีการบ่งบอกสัญญลักษณ์สีและแผ่นป้ายบนอุปกรณ์ควบคุมหลัก เช่นวาล์ว, สวิทช์และอุปกรณ์ควบคุมการปิด-เปิด อื่นๆ ในอาคารและพื้นที่ทั้งองค์กรหรือไม่?                                       
                    
9. ท่านมีจำนวนบุคคลหลักที่คุ้นเคยตำแหน่งและขั้นตอนการปฏิบัติในการ Shut down อุปกรณ์ควบคุมหลักอย่างเพียงพอหรือไม่? 
                    10. 
ท่านมีหลักฐานอย่างเพียงพอที่แสดงว่า อุปกรณ์และวาว์ลควบคุมหลักอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องต่อการทำงานหรือไม่?                   
                    11. 
ท่านมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง,ระบบดับเพลิง และอุปกรณ์ผจญเพลิงอื่นๆอย่างเพียงพอและถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานหรือไม่?                                                                   
                    12. 
ท่านมีการเตรียมระบบตรวจจับสำหรับการรายงานสถานะการณ์ฉุกเฉินตามมาตรฐาน หรือตัวชี้บ่งถึงอันตราย (เช่น  smoke detector, heat  detector, วิธีการเฝ้าระวังหรือวิธีการอื่นๆ) อย่างเพียงพอหรือไม่?
                    13. 
ท่านมีการเตรียม PPE, อุปกรณ์ช่วยหายใจแบบถังอากาศ หรืออุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆตามชนิดของอันตรายที่ค้นพบอย่างเพียงพอหรือไม่?                                             
                    14. 
ท่านมีทีมฉุกเฉินและขนาดของทีมฉุกเฉินอย่างเพียงพอในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่?                                           
                    15. 
ท่านมีเอกสารมีการแสดงถึงการฝึกอบรมและการฝึกซ้อมของทีมฉุกเฉินอย่างเพียงพอในการธำรงรักษาการฝึกอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่?                                                           
                    16. 
ท่านมีการแจ้งและประสานงานกับหน่วยดับเพลิงท้องถิ่น อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย,โรงพยาบาลท้องถิ่นให้ทราบถึงเหตุฉุกเฉินที่เป็นไปได้ที่จำเป็นหรือไม่?
                    17. 
ท่านมีข้อตกลงร่วมกันกับองค์กรภายนอกในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของอุปกรณ์และบุคคลในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่?                                                       
                    18. 
ท่านมีการบ่งบอกถึงรายงาน, บันทึก หรือเอกสารที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความต่อเนื่องขององค์กรหรือไม่?       
                    19. 
รายงาน, บันทึก, เอกสารที่สำคัญมีการป้องกันไว้ในห้องหรือสถานที่จัดไว้เป็นกรณีพิเศษ และมีระบบการเก็บข้อมูล/เอกสารสำรองหรือไม่?                                                                     
                    20. 
ท่านมีแผนปฏิบัติการในการซ่อมแซมหรือฟื้นฟูกิจการ หลังเกิดเหตุฉุกเฉินขององค์กร และอุปกรณ์ตามเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นหรือไม่?

          หาก องค์กรได้มีการ การวางแผนฉุกเฉินและเตรียมพร้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน อย่างเหมาะสม และครบถ้วนแล้ว เมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นมาจริง ก็จะทำให้องค์กร ตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ องค์กร สามารถหยุดเหตุการณ์ ได้ทันท่วงที และกลับมา ผลิตได้อย่างเดิมอย่างรวดเร็ว

 

 

Visitors: 365,724