กฏหมายความปลอดภัยสำคัญอย่างไรกับองค์กร

เผยแพร่เมื่อ: 15/02/2564
คุณสืบศักดิ์ ชนะชัยสุวรรณ 
ผู้บริหารงานมืออาชีพด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
(QHSSE - Quality, Health, Safety, Security and Environment)

เรื่อง กฏหมายความปลอดภัยสำคัญอย่างไรกับองค์กร

 

หมายเหตุ : กฏหมายความปลอดภัยในบทความนี้จะหมายถึง กฏหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

 

โดยปกติกฏหมายมีไว้เพื่อการคุ้มครองบุคคลในหลายๆด้าน เช่น
                - สร้างความเป็นธรรม ให้แก่สังคม เพราะกฏหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติเสมอภาค เท่าเทียมกัน
                - 
รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม
                - 
ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ 
                - 
ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง 
                - 
รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน 

          ถ้ามองในด้านที่เกี่ยวกับเรื่อง ความปลอดภัย การที่บุคคลจะเกิดพฤติกรรมส่งเสริมความปลอดภัยเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความถูกต้องปลอดภัย บุคคลดังกล่าวควรต้องมีความรู้  ความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยและมีทัศนคติที่ดี   หรือมีความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ  ซึ่งองค์กรสามารถสร้างความตระหนักในการระมัดระวังภัยอันตรายและการป้องกันความไม่ปลอดภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับบุคคลากรขององค์กร  ดังวิธีการต่อไปนี้   
                - 
สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ  โดยการเผยแพร่ความรู้ผ่านบุคลากรกลุ่มคนในองค์กร  เช่น  ฝึกอบรมการป้องกันผ่านทางกฏหมายความปลอดภัยต่างๆ
                - 
การปลูกฝังทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัย  ทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัย  คือการตระหนักว่าความปลอดภัยมีความสำคัญต่อการปฏิบัติ
                - 
การมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในองค์กรให้มากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดการชักจูงโดยกลุ่มของบุคลากรเองให้บุคคลากรเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย  มีความตระหนักว่าความปลอดภัยของทุกคนในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ  และเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่ต้องมีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง
                - 
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย  องค์กรต้องมีการกำหนดกฏเกณฑ์  ระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย  เพื่อให้คนขององค์กรได้ปฏิบัติและมีการส่งต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยจนเกิดเป็นวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ กฏหมายจึงมีไว้เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของทุกคนในองค์กรหรือสังคม

          ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร ต้องทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้องของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปฏิบัติให้ครบถ้วน หรือมีสอดคล้องกับกฏหมายทุกฉบับจริงๆ ในบางองค์กรมีการจัดการบริหารงานกฏหมายความปลอดภัยอย่างเป็นระบบเช่น
                - กำหนดขอบเขตการบังคับใช้กฏหมายความปลอดภัย
                - 
งานสรุปสาระสำคัญของกฏหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
                - 
งานจัดทำทะเบียนกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
                - 
การปรับอัพเดทกฏหมาย ที่เกี่ยวข้อง ในกฏระเบียบเพื่อความปลอดภัย
                - 
งานสรุปแนวทางในการป้องกันและวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายเพื่อใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการป้องกันอุบัติเหตุและโรคที่เกิดจากการทำงาน
                - 
งานสรุปความสอดคล้องในการปฏิบัติตามกฏหมายในแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้อง

          ในบางองค์กรมีทีมงานจัดการกฏหมายให้อยู่ในรูปข้อมูลที่เป็น Data Base เช่นจัดทำเป็น Application บนPC หรือ Smart Phone ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพนักงานในแต่ละระดับ งานหรือกิจกรรมเสี่ยงในขบวนการผลิต การจัดเก็บสารเคมี ความเสี่ยงในสถานที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ ความร้อน แสง เสียง หรืออื่น ๆ ซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็น รายการที่ต้องปฏิบัติตามได้ทันที และสามารถทำรายงานสรุปการปฏิบัติตามกฏหมายได้ทันที

 

          ในช่วงการปฏิบัติงานในระยะหลัง ผมเองได้รับคำถามจากเพื่อนๆ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หลายท่านถามถึงวิธีการจัดการ เกี่ยวกับตัวกฏหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องมากมาย   เช่น ทำอย่างไรจึงจะสามารถสรุปข้อมูลในงานข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับงานในองค์กรตนเองกับเนื้อหาสาระสำคัญของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เพียงแค่จัดการข้อมูล โดยใส่ข้อมูลเนื้อกฏหมาย ผู้เกี่ยวข้อง รายละเอียดบทลงโทษ และอื่น ๆ  พร้อมกับนำเอางานขององค์กร ความเสี่ยงต่างๆในองค์กร แล้วสามารถให้ตัว Application สรุปรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติได้ทันที หรือ นำงานที่ปฏิบัติแล้วใส่ใน Application แล้ว Application จะสรุปรายงานความสอดคล้องได้เอง   ผมเองอยากถ่ายทอดแนวคิดเรื่องนี้ให้กับผู้ที่สนใจ เพราะผมมีโครงการจัดการแนวคิดนี้เพื่อจัดทำ Applicationนี้ครับ ในตอนนี้ได้ทำการดึงข้อมูลกฏหมายทั้งหมดมาวิเคราะห์และ แยกประเภท พร้อมจัดทำ keyword ที่เกี่ยวข้องเพื่อรวมกฏหมายทุกตัวให้เข้ามาอยู่ในตัว Data Base เดียวกัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถค้นหาเนื้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้นครับ ผู้ที่สนใจสามารถทิ้งชื่อไว้ใน Link นี้ครับ  ร่วมลงชื่อจัดทำ OHSE Laws Application / Database https://www.surveymonkey.com/r/MSXHJGY

หรือ Scan QR Code มาช่วยกันครับ

 

 

Visitors: 417,593