การป้องกันความคุมอนุภาคนาโนทางด้านการบริหารจัดการ (Administrative control)

เผยแพร่เมื่อ: 09/03/2564....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน 
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เรื่อง การป้องกันความคุมอนุภาคนาโนทางด้านการบริหารจัดการ (Administrative control) 

          จาก Nano Safety for JorPorความปลอดภัยนาโนสำหรับ จป. ในซีรีส์9 ผู้เขียนได้พูดถึง การป้องกันควบคุมอนุภาคนาโนทางด้านวิศวกรรม ดังนั้นในซีรีส์10 นี้ ผู้เขียนจะบรรยายถึงการป้องกันความคุมอนุภาคนาโนทางด้านการบริหารจัดการ 

          สถานประกอบการที่มีการดำเนินงานเกี่ยวกับอนุภาคนาโน ควรมีแนวปฏิบัติที่ดีทางด้านการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการป้องกันการสัมผัสอนุภาคนาโนของคนงาน โดยใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้(OSHA, 2013)(NIOSH, 2009)(NIOSH, 2013) 

  • ให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลดปริมาณการสัมผัสอนุภาคนาโนให้น้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสอนุภาคนาโนโดยตรง
  • จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติ อันตรายของอนุภาคนาโนให้กับผู้ปฏิบัติงาน เช่น เอกสารความปลอดภัยของอนุภาคนาโน (Safety data sheet: SDS) รวมถึงแนะนำหลักการในการป้องกันอันตรายจากอนุภาคนาโนที่ผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ สัมผัส
  • จัดเตรียมวิธีการปฏิบัติงาน คู่มือการทำงานที่ปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน
  • ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน ให้มีสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี เช่น การไม่สูบบุหรี่ การล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ก่อนรับประทานอาหาร หรือก่อนออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในพื้นที่การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับอนุภาคนาโน
  • เตรียมมาตรการควบคุมเพิ่มเติม เช่น กำหนดพื้นที่ควบคุมอนุภาคนาโน พื้นที่กันชน (Buffer zone) พื้นที่ปลอดภัย รวมถึงลดการปนเปื้อนอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าอนุภาคนาโน ไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกจากที่ทำงานได้
  • มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ที่อาบน้ำ ที่เปลี่ยนเสื้อผ้า รวมถึงบริการซักเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนอนุภาคนาโนในสถานที่ทำงาน ห้ามนำเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนอนุภาคนาโนกลับบ้านโดยเด็ดขาด
  • มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น กรณีอนุภาคนาโนเกิดการรั่วไหล เหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ รวมทั้งมีการดำเนินการซ้อมแผนฉุกเฉินต่าง ๆ เป็นประจำ
  • การจัดการของเสียที่มีการปนเปื้อนของอนุภาคนาโน ควรดำเนินการตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ถ้าไม่มีกฎหมายให้ดำเนินการจัดการด้วยวิธีการที่ปลอดภัย
  • มีการตรวจวัดความเข้มข้นของอนุภาคนาโนในพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นประจำ
  • มีการตรวจสุขภาพคนงานก่อนเข้าทำงาน ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน

 

 

บรรณาณุกรม 

NIOSH. (2009). Approaches to Safe Nanotechnology Managing the Health and Safety Concerns Associated with Engineered Nanomaterials. U.S. Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. http://www.cdc.gov/niosh/docs/2009-125/pdfs/2009-125.pdf 

NIOSH. (2013). Current Strategies for Engineering Controls in Nanomaterial Production and Downstream Handling Processes. U.S. Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. http://www.cdc.gov/niosh/docs/2014-102/pdfs/2014-102.pdf 

OSHA. (2013). Working Safely with Nanomaterials. U.S. Department of Labour, Occupational Safety and Health Administration. https://www.osha.gov/Publications/OSHA_FS-3634.pdf

 

Visitors: 361,546