กฎหมายใหม่ของ OSHA เพื่อการจัดการโควิด -19 ในสถานพยาบาล

โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

กฎหมายใหม่ของ OSHA
เพื่อการจัดการโควิด -19 ในสถานพยาบาล

            ระบบการออกกฎหมายของสหรัฐอเมริกา เอื้อให้สามารถออกกฎหมายแบบฉุกเฉินได้เป็นการชั่วคราว แต่กว่าจะออกกฎหมายมาจัดการกับเจ้าโควิด-19 ได้ ก็ใช้เวลามาก็ปีสองปีแล้ว เกินกว่าจะเรียกว่าฉุกเฉินแล้วกระมัง อันนี้เป็นผลมากจากรัฐบาลไบเดนที่ผลักดันให้ออกกฎหมายใหม่นี้ออกมา ซึ่งจะเรียกเป็น Emergency Temporary Standard

            กฎหมายนี้ถึงแม้จะบังคับใช้กับสถานพยาบาล แต่ก็มีรายละเอียดยกเว้นบางลักษณะงานที่ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้

            หัวใจสำคัญของกฎหมายคือการกำหนดให้นายจ้างจัดทำ Covid-19 Plan ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คือการจัดการความปลอดภัยที่จป.วิชาชีพคุ้นเคยนั่นเอง

            ในแผนดังกล่าวต้องมี (เช่น)
                        
- workplace safety coordinator หรือผู้ประสานงานด้านความปลอดภัย (น่าจะเทียบได้กับจป.วิชาชีพในบ้านเรา)
                        
- ประเมินความเสี่ยง
                        
- การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง
                        
- monitor การดำเนินงาน
                        
- จัดทำ Policy & Procedure

            นอกจากนี้ก็มีมาตรการความปลอดภัยที่ต้องกำหนดขึ้นมา เช่น
                        
- Screening & Management
                        
- PPE
                        
- Physical distancing & barrier
                        
- Cleaning and disinfection
                        
- Ventilation
                        
- Training
                        
- Mini respiratory protection program (ทำแบบมินิ ไม่ต้องเต็มที่แบบกฎหมายปกติที่ใช้อยู่ในโรงงาน)
                        
- Recordkeeping & Reporting

            ต่อไปนี้ ขอนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายดังนี้
                        
1) COVID-19 Plan – ให้จัดทำแผนเป็นลายลักษณ์อักษร / แต่งตั้ง workplace safety coordinator(s) ที่มีความรู้ในเรื่องการควบคุมการติดเชื้อ และมีอำนาจที่จะดำเนินการ-ตรวจติดตาม-และสร้างความมั่นใจที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน / ประเมินความเสี่ยง / เสาะหาการมีส่วนร่วมของลูกจ้างระดับปฏิบัติ / เฝ้าติดตามการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนและมีประสิทธิผล / ปรับแผนได้ถ้าจำเป็น / จัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่จะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของลูกจ้าง

                        2) Patient screening and management – จำกัดและเฝ้าดูจุดทางเข้าสถานที่ ณ บริเวณที่มีการรักษาผู้ป่วย / ตรวจสอบเบื้องต้น (Screen) เกี่ยวกับอาการแสดงของโรคโควิดกับทุกคนที่เข้ามา / ดำเนินการแผนกลยุทธ์การจัดการผู้ป่วย

                        3) Standard and Transmission-Based Precautions – จัดทำให้สอดคล้องกับข้อแนะของ CDC

                        4) Personal protective equipment (PPE) – จัดหา และต้องมั่นใจว่าลูกจ้างสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในอาคารและในยานพาหนะที่มีคนอื่นนั่งมาด้วย / ให้มั่นใจว่าสวมใส่คลอบจมูกและปาก / กรณีสัมผัสผู้ติดเชื้อ (ในกรณีสงสัยหรือยืนยันแล้วก็ตาม) ต้องให้ลูกจ้างสวมใส่ respirator และ PPE อื่นที่จำเป็น / จัดหา respirator ที่ได้มาตรฐาน

                        5) Aerosol-generating procedures on persons with suspected or confirmed COVID-19 – จำกัดจำนวนลูกจ้างที่จะอยู่ในบริเวณที่มี aerosol เกิดขึ้น / ทำในห้อง airborne infection isolation room (ถ้ามี) / และทำความสะอาด ฆ่าเชื้อตามพื้นผิวและอุปกรณ์ เครื่องมือทุกครั้ง            

                        6) Physical distancing – อย่างน้อย 6 ฟุต (ภายในอาคาร)

                        7) Physical barriers – ในพื้นที่ที่เป็น non-patient care area หากไม่สามารถให้ห่าง 6 ฟุตได้ ก็ให้ทำฉากกั้นระหว่างกัน

                        8) Cleaning and disinfection – ปฏิบัติตามวิธีที่ CDC แนะนำ / กรณีเป็นพื้นที่ทั่วไปที่ไม่ใช่ patient care areas, resident rooms, and for medical devices and equipment ก็ให้เน้นที่พื้นผิวที่จะมีการสัมผัสบ่อยอย่างน้อยวันละครั้ง / จัดให้มี 60%แอลกอฮอล์ หรือที่ล้างมือที่เข้าถึงได้ง่าย

                        9) Ventilation – ต้องมั่นใจว่าใช้งานตามคู่มือของผู้ผลิต / ตัวกรองอากาศ ต้องได้เกรด Minimum Efficiency Reporting Value (MERV) 13 หรือสูงกว่า / การบำรุงรักษาและการใช้ห้อง airborne infection isolation rooms เป็นไปตามเกณฑ์ที่ออกแบบและก่อสร้าง / รวมถึงการทำความสะอาดระบบ

                        10) Health screening and medical management – ตรวจสอบเบื้องต้นก่อนการทำงานในแต่ละวันหรือแต่ละกะ (อาจเป็นการซักถามให้ self-monitor) / หากต้องทำการทดสอบการติดเชื้อ ก็ให้เป็นนายจ้างออกเงิน / ต้องมีการกำหนดชัดเจนว่าหากลูกจ้างติดเชื้อ สงสัยว่าจะติด หรือมีอาการบางอย่างที่น่าสงสัย ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบ / แจ้งลูกจ้างที่เกี่ยวข้องภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อมีคนที่เข้ามาในสถานที่ติดเชื้อ (ตรวจพบเชื้อ) / ปฏิบัติการย้ายลูกจ้างออกจากพื้นที่ตามขั้นตอน และยังคงให้ได้รับเงินเดือน / และย้ายกลับตามวิธีที่ CDC กำหนด หรือตาม licensed healthcare provider กำหนด            

                        11) Vaccination – ให้ได้รับการฉีดวัคซีนในเวลาที่เหมาะสม และยังคงได้รับเงินหากต้องมีการพักเนื่องจากผลของการฉีดวัคซีน

                        12) Training – ให้ความรู้ที่เหมาะสมกับระดับ (ความรู้) และในภาษาที่ลูกจ้างจะเข้าใจ เพื่อการป้องกันโควิด และเพื่อเข้าใจในนโยบาย ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ และให้การอบรมเพิ่มหากจำเป็น หรือมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                        13) Anti-Retaliation – แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐาน (กฎหมาย) นี้

                        14) Requirements must be implemented at no cost to employees                        

                        15) Recordkeeping – จัดทำ COVID-19 log (กรณีมีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป) สำหรับการบันทึกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นจากการสัมผัสจากการทำงานหรือไม่ก็ตาม / ข้อมูลนี้ต้องให้ลูกจ้างได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 

                        16) Reporting COVID-19 fatalities and hospitalizations to OSHA – ต้องรายงานให้ OSHA ทราบภายใน 8 ชั่วโมงเมื่อเกิดการเสียชีวิตจากโควิดอันเนื่องจากการทำงาน (work-related COVID-19 fatality) และภายใน 24 ชั่วโมงกรณีเสียชีวิตจากการรักษาในโรงพยาบาล (in-patient hospitalization)

                        17) Mini respiratory protection program (29 CFR 1910.504) – เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องจัดให้กับลูกจ้างที่ไม่เสี่ยง (นั่นคือคนที่ไม่ได้ทำงานสัมผัสกับ suspected/confirmed sources of COVID-19) เข้ารับการอบรมในเรื่องต่อไปนี้ / การตรวจ การใช้ การสวมใส่ และการถอด respirator เช่นพวก N95 / ข้อจำกัดการใช้งาน / การจัดเก็บและบำรุงรักษา / การทำ seal check / และการรู้ถึงอาการและอาการแสดงที่มีผลต่อการสวมใส่ respirator

 

            สำหรับรายละเอียดทั้งหมด เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ต่อไปนี้
             http://www.osha.gov/coronavirus/ets

 

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในแง่การเรียนรู้นะครับ และจะเห็นได้ว่า หากเราเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างถึงแก่นแล้วละก็ จะเป็นอันตรายจากสารเคมี สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ หรือด้านอื่นใดก็ตาม เราสามารถประยุกต์ความรู้มาใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ครับ

 

#Meet_OHSWA_President

Visitors: 368,808