Lesson Learned กรณีศึกษาการเสียชีวิตในที่อับอากาศจากสิงคโปร์

เผยแพร่เมื่อ 28/5/2564
โดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา

Lesson Learned
กรณีศึกษาการเสียชีวิตในที่อับอากาศจากสิงคโปร์

          เมื่อ 19 พค.นี้เอง WSH Council ส่ง WSH Alert เป็น Lesson Learned ให้กับคนที่เป็นสมาชิก Bulletin ของเขา (ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน เขาไม่ปิดข้อมูล ถือว่าเรื่อง H&S ไม่ใช่เรื่องลับ แต่กลับควรให้ได้เรียนรู้กันถ้วนหน้า เรื่องนี้เมืองไทยควรคิดทำได้แล้ว)
          
อ่านเนื้อข่าวนะครับ … ถังบรรจุน้ำอับเฉาเพื่อการทรงตัวของเรือ (Ballast Tank) (ดูภาพ เป็นเรือขุด) มีปากทางเข้าขนาดตามที่เห็น ทางหัวหน้างานลงไปเพื่อทำการสำรวจ (Inspection) โดย
                    
- ไม่ได้ใช้ PPE ที่เหมาะสม
                    
- ไม่ได้ตรวจสอบว่าภายในที่อับอากาศนั้นปลอดภัยหรือไม่ 
          
เข้าไปได้ไม่นาน ก็ล้ม สลบไสล ไม่ได้สติ สักพัก คนงานคนหนึ่งก็ลงไปเพื่อช่วยเหลือ แต่ก็สลบไปอีกคน ต่อมาคนงานอีกคน ก็เข้าไปช่วยอีก ก็สลบไปอีก (เหตุการณ์แบบนี้ จะเกิดขึ้นเสมอหากไม่มีการทำความเข้าใจเรื่องการช่วยชีวิตในที่อับอากาศ - อ.สราวุธ พูดเอง)
          
หลังจากนั้น คนงานอื่น ๆ ก็ช่วยกันโดยเป่าอากาศเข้าไป ทำให้คนงานคนที่สอง (ที่เข้าไปช่วย) เริ่มฟื้นได้สติ และพยายามขึ้นมาออกจากตัวถัง ส่วนอีกสองคนก็ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล อนิจจา ทั้งสองเสียชีวิตในเวลาต่อมา

          เขาแนะนำ (Recommendations) อะไรบ้าง
                    1) ต้องไม่เปิดฝาช่องทางเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
                    2) ต้องไม่เข้าไปในที่อับอากาศโดยที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมมา
                    3) ต้องไม่เข้าไปช่วยเหลือ หากไม่มี PPE ที่เหมาะสม

          ทั้งนี้กฎหมาย WSH (Confined Spaces) Regulations 2009 กำหนดชัดเจนเรื่องมาตรการความปลอดภัย เช่น
                    - ต้องมี Work Permit
                    - ต้องมีการระบายอากาศ และผ่านการทดสอบโดย (ชื่อเรียกของเขา) confined space safety assessor ซึ่งได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร “WSQ Assess Confined Space for Safe Entry and Work course” มาก่อนแล้ว
                    - คนงานที่เข้าไปทำงาน ก็ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร “WSQ Perform Work in
Confined Space Operation course”
                    - ในบรรดาคนคนงานในนั้น ต้องมีคนงานอย่างน้อย 1 คน ที่มีอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณ O2 และสารอันตรายอื่น ๆ
                    - มีผู้ช่วยเหลืออยู่บนปากทางเข้า
                    - แผนรับมือเหตุฉุกเฉินต้องพร้อม
                    - จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต

          ว่าไปแล้ว ข้อแนะนำต่าง ๆ เหล่านี้ Simply the best คือก็ไม่ได้วิลิศมาหราแต่อย่างใด ง่าย ๆ ตรง ๆ ไม่ได้ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย แต่ทำไมยังเกิดขึ้นเสมอ ๆ
          เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง (หากจะนำมาเป็นอุทาหรณ์สำหรับบ้านเรา) (ตัวอย่าง)
                    1. เรื่อง safety เป็นเรื่องที่
                              - ทุกคน (ในแต่ละงาน) ต้องทำตาม safe work procedure (ในกรณีที่เกิดขึ้น หัวหน้างานไม่ทำตาม procedure)
                              - จป.บริหารต้อง monitor ว่าทุกอย่างในแผนกของตน ยังปฏิบัติตามกฎที่กำหนด (เรื่องที่เกิด อาจละเลยเป็นประจำ หากมีการตรวจติดตาม ก็จะป้องกันการละเลย และทำให้ลูกน้องเห็นว่า เจ้านายเอาจริงเรื่อง safety ไม่ใช่เพียงปากพูดเท่านั้น)
                              - เป็นเรื่องวิชาการ ต้องอบรม ต้องให้ความเข้าใจ และต้อง refresh คือกระตุ้นความรู้อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ (ในเรื่องที่เกิด หัวหน้าอาจคิดว่าเพียงลงไปดูแป๊บเดียว คงไม่มีปัญหา ที่ไหนได้ เรื่อง O2 ไม่พอนี้ เดี๋ยวเดียวก็สลบหรือขึ้นสวรรค์แล้ว)
                    2. ฝ่ายจป. วิชาชีพ ต้องทวนสอบ และตรวจประเมินว่ากฎ กติกา ระเบียบปฏิบัติ ได้ถูกปฏิบัติจริง เช่น อาจดู work permit เปรียบเทียบกับการลงไปทำงานจริง นำมาดูว่าจำนวนที่ของอนุญาต เท่ากับจำนวนครั้งที่ลงไปไหม เพียงเท่านี้ก็อาจทำให้รู้ได้ว่ามีการแหกกฎบ่อยมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
                    3. การฝึกซ้อมกรณีเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเรื่องไฟไหม้ น้ำท่วม สารเคมีรั่วไหล ฯลฯ (ตามแต่ priority ของโรงงานนั้น ๆ) จะช่วยได้มากเวลาเหตุเกิดขึ้นจริง (อย่างในกรณีนี้ คนงานคนที่ 2&3 ลงไปช่วยทั้ง ๆ ที่ไม่มี PPE และน่าจะเดาได้ว่าเพราะ o2 ไม่พอ (ไม่งั้นหัวหน้างานคงไม่สลบ) แต่ถ้าได้ฝึกซ้อมมา จะช่วยให้รู้ว่าต้องทำอย่างไร (นั่นคือการเติมอากาศดีเข้าไปในถัง ทำให้คนในนั้นเริ่มได้สติกลับมา)

          ยกตัวอย่างเท่านี้นะครับ คงพอได้ไอเดียว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษานี้บ้าง

ที่มา: WSH Alert Accident Notification, 24 May 2021 -Two workers passed out and died in dredger's ballast tank

#Meet_OHSWA_President 

Visitors: 367,562