เหตุการณ์ระเบิดและไฟไหม้ที่ Husky Energy Refinery, Wisconsin

เผยแพร่เมื่อ: 05/07/2564
เขียนโดย คุณพงษ์บัญชา พันธุ์ชัยภูมิ
                วิศวกรความปลอดภัย
                บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)...,

 

เรื่อง เหตุการณ์ระเบิดและไฟไหม้ที่
Husky Energy Refinery, Wisconsin

          ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันหยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงและการตรวจสอบ (Maintenance and Inspection) หน่วยการผลิต Fluid Catalytic Cracking Unit (FCCU) ซึ่งการกระบวนการผลิต FCCU เป็นการบวนการแยกสารไฮโดรคาร์บอนออกจากน้ำมันดิบเพื่อนำไปผลิต Gasoline โดยกระบวนการผลิตจะมีวาล์วควบคุมการไหล (Slide valve) ของสารเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ที่อยู่ระหว่างถังปฏิกรณ์ (Reactor) และถังฟื้นฟูสภาพตัวเร่งปฏิกิริยา(Regenerator) ซึ่งวาล์วควบคุมการไหล (Slide valve) มีความสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดการผสมกันระหว่างไฮโดรคาร์บอนใน Reactor และอากาศจาก Regenerator เพื่อไม่ให้ครบองค์ประกอบของการติดไฟ

 

          เมื่อมีการหยุดการผลิต ผู้ปฏิบัติงานจะต้องหยุดการส่งไฮโดรคาร์บอนเข้าสู่ Reactor และจะต้องปิดวาล์วควบคุมการไหลของสารเร่งปฏิกิริยา(Slide valve) ทั้งหมด แต่!!! มีวาล์วควบคุมการไหล (Slide valve) ตัวหนึ่ง เกิดมีการสึกกร่อน ทำให้วาล์วควบคุมการไหล (Slide valve) ปิดไม่สนิท จึงทำให้อากาศจาก Regenerator ไหลย้อนกลับเข้าไปผสมกับไฮโดรคาร์บอนและไหลย้อนกลับไปที่กระบวนการผลิตอื่นๆ ที่ต่อจาก Reactor เมื่อไฮโดรคาร์บอนที่ผสมกับอากาศไหลไปเจอกับแหล่งความร้อน (Ignition Source) ทำให้เกิดการระเบิดเกิดขึ้น เศษซากชิ้นส่วนจากการระเบิดลอยไปประมาณ 200 ฟุต และกระแทกถังเก็บยางมะตอยขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรประมาณ 50,000 บาร์เรลด้านข้างของถังถูก ส่งผลให้มีการปล่อยยางมะตอยร้อนกว่า 15,000 บาร์เรลไหลล้นแนวกั้นเข้าสู่โรงกลั่นและลุกติดไฟ

 

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์นี้
                    1. การประเมินความเสี่ยงในกระบวนการผลิตจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อชี้บ่งอันตรายในกระบวนนการผลิตให้ครอบคลุมทั้งหมด (Process Safety Management : Process Hazard Analysis)
                    2. 
การประเมินความเสี่ยงทางด้านอุปกรณ์จะต้องจัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์(Critical Process Equipment Classification) ในกระบวนการผลิตที่มีโอกาศทำให้ให้เกิด Major Accident เพื่อกำหนดแผนการซ่อมบำรุงและแผนการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็น Critical Process Equipment ได้รับการซ่อมบำรุงและตรวจสอบให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา (Mechanical Integrity) ซึ่งตามประกาศข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็มีกำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ให้มีความพร้อมใช้อยู่เสมอโดยเฉพาะอุปกรณ์วิกฤตในกระบวนการผลิต (Critical Process Equipment) เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์นั้นได้รับการออกแบบและติดตั้งอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและหลักวิศวกรรม และมีการใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์การออกแบบอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นหนึ่งในการจัดการด้าน Process Safety Management: Mechanical Integrity
                    3. 
การออกแบบหรือกำหนดเขื่อนกั้นเมื่อมีการรั่วไหลต้องออกแบบให้เพียงพอต่อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในถัง (Storage Tank) เมื่อมีการหกรั่วไหล
                    4. 
วิธีการจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล (Emergency Operating Procedure) รวมถึงวิธีการตัดแยกระบบ (Isolation plan) ต้องมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานเพื่อควบคุมเหตุได้อย่างถูกต้อง (Process Safety Management : Operating Procedure and Safe Practice)
                    5. 
การตอบโต้เหตุฉุกเฉินจะต้องมีการจัดทำแผนตอบโต้เหตุฉุกเฉิน(Pre-Incident Plan) กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ล่ะบุคคลและซ้อมอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอให้เกิดความคุ้นเคย ซ้อมให้เหมือนเกิดเหตุการณ์จริงเมื่อเกิดเกตุการณ์จริงจะได้ทำอย่างถูกต้องเหมือนที่เคยซ้อม (Process Safety Management : Emergency Planning and Response)

 

     Reference :
          1. Husky Energy Refinery Explosion and Fire | CSB
          2. Animation of April 26, 2018, Explosion and Fire at the Husky Energy Refinery in Superior, Wisconsin - YouTube

 

 

 

 

 

Visitors: 365,819