Human error Prevention Program ตอนที่ 1

เผยแพร่เมื่อ: 19/07/2564
เขียนโดย คุณกรกช เขียวขำ
                เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
                บริษัท ไทยโพลีคาร์บอเนต จำกัด...,

 

เรื่อง HeP2 (Human error Prevention Program) ตอนที่ 1

          จากบันทึกสถิติอุบัติเหตุและวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุเปรียบเทียบกับทฎษีที่เราได้ร่ำเรียนมา จากประสบการณ์การการทำงานที่ผ่านมา 20 ปี พบว่า
                    
ข้อ 1 พบว่าอุบัติเหตุจากการทำงานมีสาเหตุมาจากข้อผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงานหรือการกระทำที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ในแต่ละปีอยู่ที่ระหว่าง 70% - 80% (ได้จาก Project นักศึกษาฝึกงาน) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับทฤษฎีประมาณ 80%
                    
ข้อ 2 มักจะพบว่ามีวงรอบจะเกิดขึ้นซ้ำๆ หรือคล้ายกันอีกทุกๆ3-5 ปี (ปีที่1และปีที่2 หลังเกิดอุบัติเหตุ์ เราจะมีการรณรงค์หนัก หมดแรงในปีที่ 2-3 เป็นต้นไป)

 

          จากตัวเลขดังกล่าวหากสามารถลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆจากผู้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะส่งผลให้จำนวนเกิดอุบัติเหตุรวมลดลงไปด้วยถ้าเราลดการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะเดิมซ้ำๆได้

          คำถามใหญ่คือ? เราจะแก้ปัญหาโลกแตกเดิมๆได้ยังไง ทั้งที่เราก็มีระบบบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยที่ดำเนินการอยู่มากมายแล้ว

          คำตอบ ทำได้ไหมไม่รู้ แต่ต้องลองทำดู ในฐานะหน่วยงานความปลอดภัย จึงได้ทำโครงการ HeP2(Human error Prevention Program) เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกัน(ก่อนเกิด)ข้อผิดพลาดในการทำงานของมนุษย์โดยมนุษย์ (เครื่องมือตรวจจับอื่นที่มีอยู่ไม่ได้ผล) โดยระยะเวลาของโครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องใช้เวลาและความร่วมมือของคนในหน่วยงานทีเข้าร่วมโครงการ ทั้งผู้ปฏิบัติงานและหัวหน้างานรวมถึงผู้จัดการและประธานบริษัท ยึดหลักการพูดคุยเปิดใจ (No Blame Culture) ลดความผิดพลาดที่สามารถลดได้ (Predictable and Preventable Human Errors)

          กระบวนการการจัดการป้องกันก่อนเกิดความผิดพลาด:

 

          จากรูปภาพข้างต้น สรุปขั้นตอนดำเนินการ 4 ขั้นตอน (แก้ไขให้คนทำงานถูกทั้งวิธีคิดและวิธีการ) ดังนี้
                    1. 
ค้นหาข้อผิดพลาดหรือการกระทำที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ
                        
ทบทวนและวิเคราะห์รายละเอียดของอุบัติเหตุจากรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุย้อนหลัง 5 ปีและจัดทำรายการข้อผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานหรือการกระทำที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อที่จะได้ทราบว่า เราจะต้องกำหนดมาตรการใดในการกำจัดหรือลดข้อผิดพลาด(ป้องกันก่อนเกิด)เหล่านั้นซึ่งขั้นตอนนี้จะอยู่ในวิธีการสร้างระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (ขั้นตอนที่ 3)
                    2. 
ค้นหากลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมความปลอดภัยต่ำกว่าค่ามาตรฐาน (low performer)
                         
เราต้องหาให้เจอว่า ใครบ้างที่มีพฤติกรรมความปลอดภัยต่ำกว่าค่ามาตรฐาน (low performer) โดยจากการสำรวจพบว่ามีคนจำนวน 10 % ที่มีทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยต่ำกว่าค่ามาตรฐาน โดยใช้แบบทดสอบเจตคติด้านความปลอดภัยซึ่งทำโดยตนเองและเพื่อนร่วมงาน เพื่อป้องกันการอคติของข้อมูล ขึ้นตอนนี้เป็นการคัดกรองเบื้องต้นและจะนำไปประเมินพฤติกรรมความปลอดภัยในขั้นตอนที่4 ขั้นตอนสุดท้าย
                    3. 
สร้างระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Operational Discipline) โดยเครื่องมือที่เรียกว่า HeP2 มาตราการเสริมจากการเครื่องมือการจัดการความปลอดภัยอื่นๆที่มี ติดตามได้ในตอนที่ 2
                    4. 
ประเมินพฤติกรรมความปลอดภัยของกลุ่มคนคนที่มีพฤติกรรมความปลอดภัยต่ำว่ามาตรฐาน (low performer) ว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้แล้วหรือไม่ หลังจากที่เราได้ใส่เครื่องมือที่เรียกว่า HeP2 ลงไปแล้ว ติดตามได้ใน ตอนที่2

          โดยสรุป หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ จะเป็นผู้วิเคราะห์ปัญหาและสะท้อนปัญหานั้นๆ ให้แก่ผู้ที่ส่วนได้เสีย (หัวหน้างาน ผู้บริหาร ตัวพนักงาน) รวมถึง เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหานั้นๆด้วย ติดตามขั้นตอนที่ 3 และ 4 ในตอนที่ 2

ขอขอบทุกท่านที่ติดตามเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของนักอาชีวอนามัยคนหนึ่งและยินดีรับข้อคิดเห็นครับ

 

Visitors: 367,556