เหตุการณ์ การระเบิดในโรงงานกระดาษที่รัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา

เผยแพร่เมื่อ 02/8/2564
เขียนโดย คุณพิชิต ชำนิงาน
                วิศวกรความปลอดภัย
                บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)...,

เรื่อง เหตุการณ์ การระเบิดในโรงงานกระดาษที่รัฐลุยเซียนา
ประเทศสหรัฐอเมริกา

“ถังบรรจุ Foul condensate ระเบิดที่โรงงานกระดาษ แรงจากการระเบิดดันถัง Foul condensate การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บอีก 7 คน นอกจากนี้การระเบิดทำให้โครงสร้างชั้นวางท่อ และโครงสร้างอื่นๆ เสียหาย ซึ่งมีสาเหตุที่น่าสนใจติดตามได้ในรายละเอียดของบทความ”

      

          เมื่อเวลาประมาณ 11:05 น. ของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560 ถังบรรจุ Foul condensate ระเบิดที่โรงงานกระดาษ PCA DeRidder ในรัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุเป็นช่วงกิจกรรมหยุดซ่อมบำรุงประจำปี (ระหว่างวันที่ 5-12 กุมภาพันธ์ 2560) คนงานได้ย้ายท่อน้ำขนาด 8 นิ้ว กลับเข้าตำแหน่งที่เหมาะสมบนชั้นวางและทำการซ่อมแซมรอยร้าวในท่อน้ำขนาด 3 นิ้ว และขั้นตอนสุดท้ายพวกเขาทำการการเชื่อมชั้นวางท่อเพื่อยึดท่อเข้ากับส่วนรองรับให้มั่นคง ซึ่งอยู่เหนือถัง Foul condensate โดยมีช่างเชื่อม 2 คนและช่างประกอบ 1 คน (ผู้เสียชีวิตจากการระเบิด) ที่ปฏิบัติงานอยู่บนชั้นวางท่อและบนโครงสร้างที่อยู่ติดกัน แรงจากการระเบิดดันถัง Foul condensate ลอยขึ้นจากพื้นประมาณตึก 6 ชั้นและตกห่างออกไป 375 ฟุต การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บอีก 7 คน ซึ่งทั้ง 10 คนเป็นผู้รับเหมาที่ทำงานใกล้ถัง Foul condensate นอกจากนี้การระเบิดทำให้โครงสร้างชั้นวางท่อ และโครงสร้างอื่นๆ เสียหาย

          สาเหตุขณะนั้นที่เป็นไปได้มากที่สุด
                    1. อากาศไหลเข้าไปในถัง Foul condensate ผ่านทางpressure vacuum breaker
                    2. 
ส่วนประกอบของ Foul condensate จะมีส่วนประกอบที่ระเหยง่าย เช่น Total reduced sulfur(TRS) เมทานอล และน้ำมันสน
                        ซึ่งน้ำมันสนจะลอยอยู่บนของเหลวชั้นบนสุด และสะสมอยู่ภายในถัง
                    3. 
ไม่ได้ทำการวิเคราะห์อันตรายของถัง Foul condensate ไม่ได้กำหนดความรับผิดชอบให้ชัดเจนกับกลุ่มปฏิบัติการ และไม่ได้ติดตั้ง
                        เครื่องมือวัดบนถังที่สามารถตรวจจับได้เมื่ออากาศไหลเข้าภายในถัง
                    4.
 ผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานเหนือถัง Foul condensate น่าจะทำให้เกิดประกายไฟที่ทำให้เกิดการระเบิด เนื่องจากขาดหลักฐานที่แน่ชัด
                        จึงไม่สามารถระบุแหล่งกำเนิดประกายไฟที่แน่ชัดได้

          สิ่งที่ได้เรียนรู้
                    1. 
ต้องมีระบบการจัดการความปลอดภัยของกระบวนการผลิตที่ดี ได้แก่ ติดตั้งระบบป้องกันการระเบิด เช่น เครื่องวิเคราะห์ออกซิเจน
                        พร้อม safety interlock เป็นต้น
                    2. 
ต้องมีการออกแบบที่ปลอดภัย คือ เปลี่ยนถัง Foul condensate เป็นแบบสำหรับสุญญากาศ และการออกแบบถัง Foul
                        condensate ให้เป็นหลังคาแบบบางเพื่อระบายแรงระเบิด
                    3. 
ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์อันตรายให้ครบถ้วนและครอบคลุม
                    4. 
ต้องมีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
                                 - 
ห้ามทำงานเกี่ยวกับความร้อนและประกายไฟใกล้ถัง Foul condensate
                                 - 
ติดป้ายเตือนสำหรับสารไวไฟที่ถัง Foul condensate
                                 - 
จัดอบรมให้กับพนักงานเกี่ยวกับอันตรายของ Foul condensate
                                 - 
จัดทำระเบียบปฏิบัติสำหรับการระบาย การชะล้าง และการทำให้เป็นแก๊สเฉื่อย สำหรับ Foul condensate ก่อนที่จะทำงาน
                                    ที่มีความร้อนและประกายไฟ
                    5. 
ต้องมีการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่มีความร้อนและประกายไฟที่ดี อ้างอิงตาม PSM element หัวข้อ Hot work
                        Permit ได้แก่
                                 - 
ต้องมีใบอนุญาตทำงานและกำหนดขั้นตอนการขออนุญาตก่อนเริ่มงาน
                                 - 
ต้องตรวจวัดสารไวไฟให้ครอบคลุมในพื้นที่ปฏิบัติงานและให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย รวมถึงตรวจวัดตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้
                                 - 
ต้องมีการตัดแยกอุปกรณ์เพื่อป้องกันสารไวไฟ

 

ที่มา: https://www.csb.gov/packaging-corporation-of-america-hot-work-explosion-/

Visitors: 361,535