การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน น้ำยางหกรั่วไหล

เผยแพร่เมื่อ 08/08/2564...,
เขียนโดย คุณอดุลรอพา เจ๊ะกา
               เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
               บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด...,

 

เรื่อง การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน น้ำยางหกรั่วไหล

          อะไรคือเหตุฉุกเฉิน (Emergency)
                    
เหตุฉุกเฉิน (Emergency) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยไม่ได้มีการคาดคิดมาล่วงหน้า โดยเหตุฉุกเฉิน ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าอุบัติภัยต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใด  บางครั้งอุบัติภัยหนึ่งๆ ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงโดยที่ไม่มีการแจ้ง เตือนล่วงหน้าใดๆ หรือมีสิ่งบ่งชี้ล่วงหน้าให้ทราบเพียงเล็กน้อย
                    
น้ำยาง (latex) คือวัสดุพอลิเมอร์ที่มีต้นกำเนิดจากของเหลวของพืชบางชนิด ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว คล้ายน้ำนม มีสมบัติเป็นคอลลอยด์ อนุภาคเล็ก มีตัวกลางเป็นน้ำ น้ำยางเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย จุกนมยาง ยางยืด และ กาว เป็นต้น
                    
ระบบการจัดการกับเหตุฉุกเฉินนี้ควรได้รับการระบุและจัดการกับเหตุฉุกเฉินที่มาจากคนและเหตุภัยธรรมชาติ องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการเหตุฉุกเฉินจะมี 4 ประเด็นได้แก่
                              
1. การป้องกัน (Prevention)         
                              2. การเตรียมการ (Preparedness)
                              
3. การตอบสนอง/ตอบโต้  (Response) 
                              
4. ฟื้นฟูเยียวยา (Recovery) 

 

          ขั้นตอนการระงับเหตุกรณีน้ำยางหกรั่วไหล
                    1. 
มองหากระสอบทราย/วัสดุดูดซับ จุดที่อยู่ใกล้ที่สุด  ยกกระสอบมากั้นล้อมพื้นที่ ที่มีการหกรั่วไหล เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยางไหลรั่วไหล กระจายเป็นวงกว้าง

 

                    2. กวาดหรือเก็บน้ำยางที่หกบนพื้น  ลงภาชนะให้ได้มากที่สุด ห้ามฉีดล้างด้วยน้ำ เนื่องจากเกิดกระจายเป็นวงกว้าง ปล่อยให้น้ำยางเริ่มจับตัว แล้วลอกออก

 

                    3. ใช้ปั้มไดโว่ดูดน้ำยางใส่ภาชนะ เพื่อนำไปกำจัด ห้ามใช้สารเคมีในการจับตัว

 

                    4. เมื่อใช้ปั๊มไดโว่ดูดน้ำยางในคูระบายน้ำเกือบจะหมดแล้ว ฉีดน้ำไล่ พร้อมกับดูดน้ำไปเรื่อยๆจนน้ำเป็นสีใส 

 

          การทำรายงาน

                    ให้ผู้ประสานงานของแผนฉุกเฉินเป็นผู้รวบรวมข้อมูล สาเหตุ ผลความเสียหาย และสรุปรายงานต่อผู้อํานวยการแผนฉุกเฉิน และจัดประชุมเกี่ยวกับกรณีเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ เสนอแนะมาตรการและแนวทางและวิธีการป้องกัน การเกิดซํ้า และการปรับปรุงแผนฉุกเฉิน

 

Visitors: 366,605