ทำไมต้องทำ Dust Hazard Analysis

เผยแพร่เมื่อ: 04/11/2564
เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา
                นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)...,

 

ทำไมต้องทำ Dust Hazard Analysis

          หากจปว. และคนวงการ HSE ติดตามเรื่อง Fire & Explosion มาตลอด จะทราบดีว่าเรื่องฝุ่นระเบิดนั้น ไม่ได้เสี่ยงเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก หรือเหมืองแร่เท่านั้น กระบวนการผลิตใด ๆ ที่ให้ฝุ่นออกมา หรือพื้นที่และบริเวณใดที่มีฝุ่นสะสม เช่นฝุ่นจากสายการผลิตที่ปิดคลุม (เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย) หรือภายใน Air pollution control unit ก็ล้วนมีโอกาสจะเกิดฝุ่นระเบิดขึ้นมาได้

          แน่นอนว่าพื้นฐานการทำ Walkthrough survey เมื่อเดินสำรวจทั่วโรงงาน เราก็สามารถชี้บ่งอันตรายที่จะเกิดจากฝุ่นระเบิดได้ แต่ NFPA เขาบอกว่าหากจะทำให้ละเอียดขึ้น จะได้มั่นใจมากยิ่งขึ้น ก็ควรทำการวิเคราะห์เพื่อชี้บ่งจุดที่จะเกิดฝุ่นระเบิดเลยจะดีกว่า เขาเลยทำมาตรฐาน NFPA 652 Dust Hazard Analysis (DHA) ออกมาให้ใช้งานกัน

          วิธีการวิเคราะห์เพื่อหาจุดเสี่ยงจากฝุ่นระเบิดนั้น จะว่าไปแล้วจปว.สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ดำเนินการได้
                    - เราไล่ดู facilities & processes ว่าตรงไหนบ้างที่น่าจะมีโอกาสเกิดเหตุ
                    - นึกภาพ 5 เหลี่ยมของการเกิดระเบิด แล้วไล่ชี้บ่งทีละเหลี่ยม (ปัจจัย)
                    - จำไว้ เรื่อง poor housekeeping ที่ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่น คือสิ่งที่ต้องค้นหา เพราะที่ผ่านมา เวลาเกิด initial explosion มันจะตามมาด้วยแรงดันสูงที่ทำให้ฝุ่น (ที่สะสมบนพื้นผิว) ฟุ้งขึ้นมา นั่นทำให้เกิด secondary explosions ตามมา และนี่คือหายนะเลย

          ในที่สุด เมื่อวิเคราะห์ DHA ได้ดีแล้ว เราจะสามารถกำหนดพื้นที่การทำงานได้ว่าบริเวณใดคือจุดเสี่ยงเรื่องการระเบิด ซึ่งปกติเราจะแบ่งออกเป็น

                    - พื้นที่ที่ไม่เสี่ยง (Not a hazard)
                    - พื้นที่ที่มีโอกาสเกิด (Potential hazard)
                    - และพื้นที่ที่เสี่ยงสูงมาก (Deflagration (fire or flashfire) hazard)

          แต่จะให้มั่นใจมากยิ่งขึ้น เรียนเชิญมา Refresh ความรู้กันดีกว่า ในงาน 29th OHSWA Conference 2021 ระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายนนี้ เวลา 9.00-16.00 น.คุ้มค่าเวลาที่นั่งหน้าจออย่างแน่นอน

#OHSWA_Conference_2021

 

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน >> คลิ๊ก !!

ดูรายละเอียดงานประชุมวิชาการเพิ่มเติม >> คลิ๊ก !!


หรือสแกน QR Code

    

 

Visitors: 367,367