PSM เรื่องที่จป. และคนวงการ HSE ต้องรู้

เผยแพร่เมื่อ: 28/08/2564....,
เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา, นายกสมาคม ส.อ.ป.,

 

PSM เรื่องที่จป. และคนวงการ HSE ต้องรู้

          ในช่วงทศวรรษ 1980 โรงงานพวก Gas & Oil ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่าลำพัง Process Safety Technology เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถป้องกันอุบัติภัยร้ายแรงได้เลย ต้องมี Process Safety Management เข้ามาบูรณาการด้วยจึงจะไปได้ดี (ILO, 1998)

          ในสหรัฐอเมริกา ก็เกิดเหตุร้ายแรงจากสารเคมีอันตรายร้ายแรง (highly hazardous chemicals) เช่นที่เกิดกับโรงงาน Phillips Petroleum Company (ปี 1989), BASF (ปี 1990), IMC (ปี 1991) และแม้แต่กรณีสารเคมีรั่วไหลจากโรงงานบริษัทอเมริกันเมื่อปี 1984 ที่เมือง Bhopal ประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิต 2,000 คน บาดเจ็บเจ็บป่วยอีก 20,000 คน และต้องอพประชาชนถึง 200,000 คน จน OSHA นอนไม่หลับ และมั่นใจว่ากฎหมายความปลอดภัยที่มีอยู่ “เอาไม่อยู่” ต้องมีกฎหมายใหม่ที่ป็นโปรแกรมการจัดการแบบที่มีความครอบคลุมหลายด้าน (comprehensive management program) นั่นคือต้องมีการบูรณาการใน 3 ด้าน ได้แก่ technologies, procedures, และ management practices จึงเกิดเป็นกฎหมายใหม่ PSM ในปี 1992 (OSHA, 2000)

          ในสหรัฐอเมริกามีหลายองค์กรทีเดียวที่กำหนดมาตรฐาน PSM เช่น CCPS, CMA, API, NPRA และ OSHA ส่วนในยุโรป แน่นอนว่าก็มีระดับประเทศ เช่น UK & Germany และระดับทวีป คือ EU Directive เป็นต้น

          เมื่อมีหลายองค์กรเหลือเกินที่กำหนดมาตรฐาน PSM ออกมา ก็ทำให้หน้าตาไม่เหมือนกัน แต่หลัก ๆ ก็ไม่แตกต่างกันดอกครับ ซึ่งทาง Richard S. Kraus ได้เขียนสรุปใน ILO’ s Encyclopedia of Occupational Health and Safety 4th Edition, Vol. II สรุปรวมก็มี 16 องค์ประกอบด้วยกัน (ขณะที่ของ OSHA มี 14 องค์ประกอบ และในส่วนของกนอ.เราก็ดูเหมือนมี 13 องค์ประกอบ แต่จริง ๆ ก็ 14 เหมือน OSHA (ก็ copy เขามา) โดยเรื่อง Employee Participation ไปอยู่แยกอีกข้อต่างหาก) ได้แก่
                    
(1) ข้อมูลความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Information : PSI)
                    
(2) การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต (Process Hazard Analysis : PHA)
                    
(3) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Operating Procedures : OP)
                    
(4) การฝึกอบรม (Training)
                    
(5) การจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา (Contractor Safety Management : CSM)
                    
(6) การทบทวนความปลอดภัยก่อนการเริ่มเดินเครื่อง (Pre-Startup Safety Review : PSSR)
                    
(7) ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ (Mechanical Integrity : MI)
                    
(8) การอนุญาตทํางานที่อาจทําให้เกิดความร้อนและประกายไฟ (Hot Work Permits) และการอนุญาตทํางานที่ไม่ใช่งานประจํา (Non-Routine Work Permits)
                    
(9) การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Management of Change : MOC)
                    
(10) การสอบสวนอุบัติการณ์ (Incident Investigation : II)
                    
(11) การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Planning and Response : EPR)
                    
(12) การตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกําหนด (Compliance Audits)
                    
(13) ความลับทางการค้า (Trade Secrets)

          จป.วิชาชีพที่ไม่ได้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หรือไม่ได้มีกิจการที่เข้าข่าย อาจคิดว่า PSM นี้ไกลตัว แต่จริง ๆ แล้ว การเรียนรู้แต่ละข้อกำหนด ไม่เป็นเรื่องไร้สาระเลย แต่จะเพิ่มมุมมอง และให้ข้อคิดกับเรา ทำให้เราสามารถทำงานที่รับผิดชอบในปัจจุบันได้รอบคอบและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำไป

          พรุ่งนี้มารู้จัก OHSWA New Initiative โครงการใหม่ล่าสุดของสอป. ในรูปแบบใหม่ที่จะทำให้พวกเราทั้งจป.วิชาชีพและคนวงการ HSE ได้รู้จักและเข้าใจกับเรื่อง PSM

 

#OHSWA
#สอป

 

Visitors: 365,789