หนึ่งใน..ทักษะการให้คำปรึกษา

เผยแพร่เมื่อ 22/8/2564
เขียนโดย คุณสุชาดา อวยจินดา (โค้ชออนซ์)
               
วิทยากร/ที่ปรึกษา/โค้ช/นักเขียน
               ติดต่อได้ที่ :https://www.safetyandnlpbycoachonze.com/

 

เรื่อง หนึ่งใน..ทักษะการให้คำปรึกษา

          เริ่มต้น EP.2 นี้ ด้วย...WHY?

          “7 เหตุผล ทำไม เราถึงต้องการทักษะการให้คำปรึกษา”1
                    1. 
เพราะทำให้เรารู้...วิธีประยุกต์รูปแบบการให้คำปรึกษาในแต่ละโครงการในแต่ละอุตสาหกรรม
                    2. 
เพราะทำให้เรารู้...วิธีใช้กลยุทธ์พิเศษในการรับมือกับผู้รับคำปรึกษา
                    3. 
เพราะทำให้เรารู้...วิธีดำเนินการสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูล
                    4. 
เพราะทำให้เรารู้...วิธีชั่งน้ำหนักข้อดี ข้อเสียของเทคนิคการรวบรวมข้อมูลต่างๆ
                    5. 
เพราะทำให้เรารู้...วิธีพูดคุย/อธิบายในสิ่งที่ “ต้องมี” ในแต่ละกระบวนการการให้คำปรึกษาเพื่อไปสู่ความสำเร็จ
                    6. 
เพราะทำให้เรารู้...วิธีวางแผนสำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมในการประชุม
                    7. 
เพราะทำให้เรารู้...วิธีการหารือและแบ่งปันกลยุทธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือ

          ตามด้วย...WHAT?

          “อะไรบ้าง คือ 8 คุณลักษณะของที่ปรึกษาที่ดี”2
                          
1. ยืดหยุ่นปรับตัว เข้ากับโครงการใหม่ วัฒนธรรมการทำงาน และเพื่อนร่วมงานใหม่ได้ง่าย พร้อมที่จะทำงานให้เสร็จด้วย Soft Skill และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคภายใต้บทบาทที่ปรึกษาอย่างรวดเร็วและง่ายดาย
                    2. 
มีวินัย ทำงานแบบ work hard และ work smart รู้วิธีบรรลุผลลัพธ์ที่ดีภายในเวลาที่สั้นที่สุด เป็นนักแก้ปัญหา
                    3. 
มั่นใจในทักษะและความสามารถ เล่นเป็นทีมโดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายของบริษัทและความเป็นทีมก่อน
                    4. 
ไม่ยอมแพ้ ต่อแรงกดดัน ต่อสถานการณ์ไม่คาดคิดและการให้ Feedback เชิงลบ โดยเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
                    5. 
ไม่หยุดเรียนรู้ ต้องเป็นที่สุดใน Field ของตน ต้องนำความรู้และทักษะล่าสุดออกมาใช้เมื่อคนอื่นทำไม่ได้
                    6. 
แก้ปัญหาด้วยความคิดและเครื่องมือ ใช้ทักษะและความรู้จากโครงการอื่นในแก้ปัญหาและความท้าทายใหม่ๆ
                    7. 
มองการไกล มองเห็นภาพรวมและส่วนเล็กๆ ที่สามารถทำให้ดีขึ้นได้นำเสนอมุมมองใหม่ที่สามารถเสนอข้อมูลเชิงลึกในการแก้ปัญหาและส่งเสริมธุรกิจของผู้รับคำปรึกษาได้
                    8. 
เข้ากับคนง่าย ใช้การฟังก่อน พูดทีหลัง สร้างความไว้วางใจเนื่องจากมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือลูกค้าให้บรรลุเป้าหมาย

          ปิดจบด้วย...HOW?

          “ทักษะการให้คำปรึกษา (Consulting Skill)”3 ประกอบด้วย
                    1. 
การเข้าสู่กระบวนการและการทำสัญญา
                    2. 
การออกแบบโปรแกรม การรวบรวมข้อมูล
                    3. 
การวินิจฉัย
                    4. 
การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา
                    5. 
การให้และรับ Feedback
                    6. 
การประเมินผลการดำเนินการแก้ไข

          มาทำความรู้จัก 1 ในทักษะการให้คำปรึกษา นั่นคือ “การวินิจฉัย4
             
จะเกาได้ถูกที่คัน จำเป็นต้องทราบก่อนว่า สภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร  จึงจะสามารถเข้าใจปัญหา มองหาสาเหตุได้ชัดเจนจนนำไปสู่แนวทางการวางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด
                    o 
การวินิจฉัยบอกอะไร
                       
การสะท้อนภาพของจุดต่างๆ  ให้ออกมาเป็นข้อมูลที่วัดได้ เพื่อให้เห็นสภาพทั้งด้านที่ดีและด้านที่ควรปรับปรุง
                    o 
งานวินิจฉัยตอบคำถาม 4 ข้อ
                              - 
กิจการยืนอยู่ ณ จุดใดในปัจจุบัน
                              - 
กิจการมายืนอยู่ ณ ปัจจุบันได้อย่างไร
                              - 
กิจการกำลังจะไปไหนจากจุดที่ยืนอยู่ปัจจุบัน
                              - 
กิจการจะไปยังจุดที่ต้องการด้วยวิธีการอย่างไร

          ชาว จป.วิชาชีพ ตอบได้หรือไม่ว่า สภาพปัจจุบัน (เรื่อง Safety ในองค์กรของเรา) เป็นอย่างไร

          ช่วยหาคำตอบให้ที...ด้วยการสวมหมวก Internal Consultant เพื่อใช้การวินิจฉัยเฉพาะทาง ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

          Q: เรื่อง Safety ในองค์กรอยู่ ณ จุดใดในปัจจุบัน? นำข้อมูลที่เรา (จป.วิชาชีพ) มีมาวิเคราะห์ โดยเทียบกับสิ่งเหล่านี้
                    o 
เปรียบเทียบกับสิ่งที่ผ่านมาในอดีต
                    o
 เปรียบเทียบกับเป้าหมาย
                    o 
เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
                    o 
ความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง ฯลฯ

          สำหรับองค์กรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาสถานประกอบกิจการตามมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีโอกาสได้พบเจอกับโค้ชออนซ์ในมุมที่โค้ชออนซ์สวมหมวก External Consultant ซึ่งต้องใช้การวินิจฉัยเช่นกัน เพื่อที่จะทราบว่า สภาพปัจจุบัน (เรื่อง Safety ในองค์กร) เป็นอย่างไร โดยใช้การเปรียบเทียบข้อมูลกับข้อกำหนด T-OSHMS เพื่อหา GAP ในการดำเนินการในส่วนต่างๆต่อไปโดยใช้ทักษะการให้คำปรึกษา

พบกันใหม่ใน EP. หน้านะ...

 

Visitors: 417,592