เสียง

เผยแพร่เมื่อ 25/08/2564...,
เขียนโดย คุณภัชฎาธาร ทองประศรี
               ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย 
               มหาวิทยาลัยบูรพา...,

 

เรื่อง "เสียง"

          การปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทการได้ยิน ทำให้เกิดการบกพร่องทางการได้ยิน หรือสูญเสียการได้ยิน ซึ่งมาตรฐานความดังของเสียงตามกฎกระทรวงฯ อยู่ที่ 85 เดซิเบล เป็นเวลา 8 ชั่วโมง อันตรายจากการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
                    1. การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว
                        
จะเกิดขึ้นจากการสัมผัสเสียงดังเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เซลล์ขนในหูเกิดการกระทบกระเทือน และไม่สามารถทำงานได้ชั่วคราว แต่เซลล์ขนจะกลับสู่สภาพเดิมได้หลังสิ้นสุดการสัมผัสเสียงเป็นเวลาประมาณ 
14-16 ชั่วโมง
                    2. การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร
                        จะไม่สามารถทำการรักษาการได้ยินให้กลับคืนสภาพเดิมได้

          ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันและควบคุมเสียง ไม่ว่าจะเป็นด้านแหล่งกำเนิดเสียง ทางผ่านของเสียง และที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน
                    o การปรับปรุงที่แหล่งกำเนิดของเสียง เช่น การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ติดตั้งเครื่องจักรบนพื้นที่มีความมั่นคงแข็งแรง การเลือกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ไม่ก่อให้เกิดเสียงดังมาก
                    o การป้องกันที่ทางผ่านของเสียง เช่น ปิดครอบเครื่องจักรที่มีเสียงดัง ทำฉากกั้นระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับตัวผู้ปฏิบัติงาน หรือทำวัสดุดูดซับเสียง สุดท้ายคือ
                    o 
การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ได้แก่
                              - ปลั๊กลดเสียง (Ear Plugs) และ
                              - ที่ครอบหูลดเสียง (Ear Muff)
                        ซึ่งทั้งสองชนิดนี้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ทุกครั้งก่อนปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้อาจจะมีการลดระยะเวลาการสัมผัสเสียง โดยการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงาน ทั้งนี้ ต้องมีการเฝ้าระวังการสูญเสียการได้ยินอยู่เสมอ โดยการตรวจสมรรถภาพการได้ปีละ 1 ครั้ง

 

Visitors: 366,613