ความปลอดภัยในงานระเบิดพื้นที่เปิดเหมืองและในอุโมงค์เพื่อการทำเขื่อน (ในประเทศลาว)

เผยแพร่เมื่อ 20/07/2564...,
เขียนโดย คุณภานุพงศ์  ศรีทองเติม
               Safety & Emergency specialist
               Reckitt benckiser healthcare manufacturing (Thailand)...,

 

เรื่อง ความปลอดภัยในงานระเบิดพื้นที่เปิดเหมืองและในอุโมงค์
เพื่อการทำเขื่อน (ในประเทศลาว)

 

          งานระเบิด (Blasting) ในงานวิศวกรรมถือเป็นเทคนิคหนึ่งในงานโครงการจำพวก Major Civilengineer เช่น งานเขื่อน (Dam) construction) ที่ต้องมีการขุด (Excavation) งานเจาะ (Drilling) เป็นงานหลักในช่วงของ Earth work phase โดยที่มีระยะเวลาของแผนงานจำกัด มักจะต้องพึ่งการระเบิด (Blasting) เพื่อย่นระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้ทันกับช่วงฤดูกาล เช่น หากงานเขื่อนที่เป็น Earth work ทำในช่วงฤดูน้ำหลากหรือฤดูฝน จะมีผลเสียทั้งการจัดการในการขนส่งวัตถุดิบ งานเครื่องจักรที่ถนนถูกตัดขาดจากน้ำป่าไหลหลาก หรืองานดินชั่วคราวเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะ Pre-coffer dam (ภาพที่ 1) ที่ทำหน้าที่กั้นน้ำเพื่อเบี่ยงมวลน้ำหลักเข้าอุโมงค์  หากงานไม่เสร็จทันเวลาที่กำหนด จะเกิดมวลน้ำขนาดใหญ่ที่ทำลายส่วนของ Main dam ได้

  

                                                                             ภาพที่ 1 Pre-Cofferdam of NT1HPP                                          ภาพที่ 2 การระเบิดพื้นที่เปิด

 

          “พื้นที่เปิด” หรือ Open area blasting และเหมือง (Quarry)  จะมีความอันตรายสูงมาก โดยสาเหตุการเสียชีวิตหลัก ๆ จะเกิดจากก้อนหินที่กระเด็นจากแรงอัดของระเบิด ซึ่งสามารถกระเด็นลอยได้ไกลเป็นวงกว้าง  ดังนั้น การบริหารจัดการพื้นที่ของการควบคุมจะเชื่อมโยงกับงานอื่น ๆ เพราะการปิดกั้นพื้นที่จะต้องถูกกำหนดรัศมีเส้นผ่านศูนย์กลาง (Safety ring) 300 เมตร ซึ่งกินบริเวณค่อนข้างมาก โดยเฉพาะแผนงานที่ต้องทำคู่ขนานกันในพื้นที่ที่มีการทำงานระเบิดจะทำให้กระทบกับงานอื่นๆ ดังนั้น การกำหนดเวลาการระเบิดมีผลอย่างมาก โดยเฉพาะงานที่ใช้ Heavy machine ที่ทำงานกลางแจ้งในพื้นที่ จะต้องถูกแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที และมีไซเรนแบบมือหมุนเพื่อส่งสัญญาณก่อนเวลาระเบิด เพื่อให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ทันเวลา ซึ่งงานเหล่านี้จะถูกควบคุมโดยระบบ Work permit system และประเมินความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยที่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพมาเกี่ยวข้อง

          ในการดำเนินงานระเบิดพื้นที่เปิดเหมืองและอุโมงค์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยนั้น ผมจะอธิบายให้มองเห็นภาพชัดใน 7 ขั้นตอน ดังนี้
                    
1. การจัดเก็บระเบิด (Blasting magazine) จะถูกเก็บในพื้นที่ความลับของไซต์งาน โดยมีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด โดยการบริหารของเขื่อน จะให้กุญแจที่มี 3 ฝ่าย ได้แก่ 1) ฝ่ายจัดซื้อ (Procurement) 2) ฝ่ายเซฟตี้ (EHS) และ 3) ทหารของ สปป.ลาว ต้องเปิดพร้อมกันเท่านั้น  โดยจะมี Emulsion (ดินระเบิด)  แก็ปไฟฟ้า (Long delay gap) และแอมเนียมไนเตรท (NH₄NO₃)  แยกเก็บคนละอาคารและมีการทำ Bun ล้อมรั้วลวดหนาม มีการตรวจสอบ อีกทั้งมีทหารและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเฝ้าตลอด 24 ชม.
                    
2. การลำเลียง (Blasting Transport) ในการขนย้ายระเบิดออกจากคลังระเบิด จะใช้รถขนถ่ายอุปกรณ์ในการระเบิดโดยเฉพาะ Emulsion (ดินระเบิด)  แก็ปไฟฟ้า (Long delay gap) และแอมเนียมไนเตรท (NH₄NO₃)  จะต้องถูกเคลื่อนย้ายโดยยานพาะหนะคนละคัน เพื่อป้องกันการก่อการร้าย การโจรกรรม ซึ่งจะลำเลียงโดยการสุ่มการขนส่ง และสลับตำแหน่งรถในขบวน เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล
                    
3. การขุดเจาะเตรียมหลุมระเบิด (Drilling for blasting) จะใช้รถเจาะที่มีคนบังคับ ทีมเจาะจะต้องเจาะหลุมให้เสร็จก่อน โดยมีการควบคุมงานจาก Blasting engineer เพื่อการคำนวณการระเบิดตามแบบที่แจ้งเพื่ออนุมัติ (ภาพที่ 3) ซึ่งข้อควรระวังคือ “ห้ามเจาะและใส่ระเบิดพร้อมกันเด็ดขาด”

 

ภาพที่ 3 การคำนวณการระเบิด

 

                    4. งานใส่ระเบิดลงหลุม (Explosion) พนักงานจะต้องใส่ Emulsion และแอมโมเนียมไนเตรทลงหลุมและติดตั้งแก็ปไฟฟ้า และลากสายมาที่หลุมหลบภัย (Bunker) ที่ใกล้ที่สุด     
                    
5. ก่อนเวลาที่กำหนด 30 นาที เซฟตี้จะนั่งรถเปิดไซเรนแจ้งทางไมโครโฟน และขับรถรอบไซต์งานเพื่อตรวจสอบพื้นที่ไซต์งาน โดยหากงานใดติดปัญหา เช่น ครื่องจักรเสีย จะต้องประสานงานทีม Work shop ซ่อมบำรุงลากรถหลบออกจากพื้นที่รัศมีระเบิด และเริ่มแจ้งให้ผู้ที่ทำงานในพื้นที่อพยพออกจากพื้นที่ โดยจะมีผู้ช่วยขึ้นไปเปิดไซเรนอพยพ และมีการสื่อสารทางวิทยุ ส่วนผู้ช่วยคนอื่น ๆ จะทำการปิดกั้นพื้นที่โดยปิดถนนทุกเส้นทาง

 

ภาพที่ 4 การควบคุมเครื่องกดระเบิด

                    6. เมื่อถึงเวลาระเบิด เซฟตี้จะเข้าประกบผู้ควบคุมเครื่องกดระเบิดใน Bunker(ภาพที่ 4) เพื่อประสานสั่งการในการ Count down และตรวจสอบพื้นที่โดยรอบอีกครั้งว่ามีการปิดกั้นได้สมบูรณ์ จากนั้นจะอนุญาตให้ผู้ควบคุมเครื่องกดระเบิดชาร์จไฟฟ้าเข้าไปในเครื่อง และกดระเบิดโดยการปลดกุญแจ Safety และกดด้วยสองมือแบบ Double switch activatebutton และมีการทดสอบ 10 Minute miss fire เพื่อตรวจสอบระเบิดด้าน

 

ภาพที่ 5 การระเบิดอุโมงค์

                     7. ในงานระเบิดในอุโมงค์ (ภาพที่ 5) จะมี Marshall ตรวจเช็คคนที่อยู่ภายใน โดยตรวจสอบกับชื่อ In-Out หน้าอุโมงค์ เพื่อไม่ให้คนเข้าขณะปฏิบัติงานระเบิด โดยมีการกำหนดแผนและเวลาอย่างชัดเจน (ภายในอุโมงค์ เงื่อนไขด้านสภาพแวดล้อมจะมีค่อนข้างน้อย แต่จะเน้นเรื่องความสั่นสะเทือนและการระบายอากาศของพนักงานด้านในที่ทำการ

          การเจาะยัดและระเบิด จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างของอุโมงค์จากทั้ง Geomancy specialist และ Structure engineer ในการใช้เทคนิค Shotcrete เพื่อสร้างกำแพงพืด โดยจะมีการ Ventilation ในอุโมงค์โดยใช้ Hood ventilation fan ขนาดใหญ่  ซึ่งการควบคุมมักจะง่ายกว่าการระเบิดแบบ Open-area ที่ต้องมีการควบคุมบุคคล/ งาน/ ทรัพย์สิน/ เครื่องจักรอื่น ๆ ซึ่งอุโมงค์ในเขื่อนจะมีการระบุจุดและเจาะระบิดในแนวตั้ง

          ดังนั้น สิ่งที่ทางเซฟตี้ หรือ จป.วิชาชีพ ต้องให้ความสำคัญนอกเหนือจากการอบรม นั่นคือการปฏิบัติตาม Standard operation procedure ให้สอดคล้องกับหน้างาน ซึ่งต้องลงไปตรวจสอบหน้างานเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้เกิดการยอมรับได้ อีกทั้งต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับต่างชาติ (ทำงานกับเวียดนาม ลาว ไทยและอิตาลี) และต้องมีความรู้ ความเข้าใจใน Lay out หรือ Drawing design ของไซต์งาน ทั้งนี้ ในงานก่อสร้างระดับใหญ่ ๆ ต้องคำนึงถึง Progress plan และ S-Curve ในแผนงาน ร่วมกับทางทีมวิศวกร ดังนั้น เซฟตี้จะต้องรู้จริงและรู้จักแนวทางการแก้ไขปัญหา เพราะความปลอดภัยคือชีวิต ธุรกิจคือลมหายใจ

 

 

Visitors: 367,528