Safety Starts with Me (EP.2 do it myself)

เผยแพร่เมื่อ 03/08/2564...,
เขียนโดย คุณอัจฉรา คำอ้น
               Safety Manager
               บริษัท พรีไซซ อีเลคโทร-แมคคานิเคิล เวอร์คส์ จำกัด...,

เรื่อง Safety Starts with Me (EP.2 doit myself)

 

          จากที่ผู้เขียนได้บรรยายในหัวข้อ Safety Starts with Me (EP.1 wake me up) ครั้งที่แล้ว ทำให้ตัวเราที่เป็น จป.วิชาชีพที่ต้องตื่นเป็นคนแรกและปลุกทุกคนในทีมให้ตื่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กรให้มีชีวิต (Alive) ซึ่งในครั้งนี้จะกล่าวต่อเนื่องถึงเทคนิคหรือแนวปฏิบัติที่ทำแล้วเกิดการพัฒนาสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็งและยั่งยืน (Safety Culture) โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
                    1. 
สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง: ด้วยการหมั่นหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ รวมทั้งการเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์  “รู้จักตน รู้จักคน” มีศาสตร์และศิลป์
                    2. 
กำหนดช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์: กำหนดช่องทางการสื่อสารเป็นแบบ 2 ทางร่วม และมีหลายช่องทาง เน้นการให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วม
                    3. 
จัดทำสื่อความรู้ประชาสัมพันธ์: จัดทำสื่อที่สามารถทำให้เข้าใจได้ง่าย เป็นรูปธรรม เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว
                    4. 
แสดงความจริงใจตรงไปตรงมา:
                              
4.1)    รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หลักการ เหตุและผล มีความกล้าที่จะนำไปปรึกษาหารือหรือรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เห็นภาพเหมือนที่ผู้เขียนมองเห็นผลลัพธ์ที่ได้คือผู้บริหารเข้าใจ และเกิดการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างด้านอาชีวอนามัยและความลอดภัยรวมทั้งการสื่อสารกับพนักงาน จึงทำให้ Safety Leadership ของผู้บริหารสูงสุดได้ถูกพัฒนาให้เข้มแข็งขึ้น และเกิดเป็นแรงกระเพื่อมส่งต่อไปยังผู้บริหารในลำดับต่อ ๆไป จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ความปลอดภัยฯได้ถูกบูรณาการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุกิจขององค์กรอย่างแท้จริง (ต้องใช้เวลาและทำอย่างต่อเนื่อง)
                              
4.2)    ให้ข้อมูล ความรู้ที่ถูกต้อง ให้คำปรึกษา มีความเข้าอกเข้าใจและเห็นใจพนักงานเป็นที่พึ่งให้พนักงานได้ มีนุษยสัมพันธ์ที่ดี แสดงความหวังดีเป็นห่วงต่อพนักงานอยู่เสมอมากกว่าการออกคำสั่ง (ทำไมต้องทำ? ทำแล้วผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร? ถ้าไม่ทำจะเกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง?)
                   
5. 
ทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ: คาดการณ์สิ่งที่จะเกิด จากข้อมูลที่มีอยู่ วางแผนล่วงหน้า บริหารจัดการ วิจารณญาณ และความรอบคอบ ตอบสนองความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือการทำงานในลักษณะแบบ “กันไว้ดีกว่าแก้”
                    6. 
พูดให้น้อยฟังให้มาก:  การพูดในลักษณะที่บั่นทอนจิตใจหรือการบ่นให้น้อยลงและฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แทนที่เราจะบ่นว่า “ผู้จัดการ/หัวหน้างาน/พนักงานไม่ให้ความร่วมมือ” เราควรจะหาสาเหตุว่า ทำไมเขานั้นถึงไม่ทำ และหาข้อตกลงร่วมกันกับพนักงานแบบ win-win       
                    7. 
มีวินัยในตนเอง: คล้ายกับการออกกำลังกาย ผู้เขียนเองตั้งเป้าหมายว่า ต้องมีกล้ามท้องให้ได้ภายใน 6 เดือน ดังนั้นก็ต้องเริ่มหาวิธีการ แผนงานที่จะต้องทำให้สำเร็จ และหนึ่งในนั้นก็คือการมีวินัย ทำอย่างต่อเนื่อง งานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจติดตามวัดผลประเมินผลอยู่เป็นประจำ และเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ สามารถประเมินได้ซึ่งมีหลายวิธี เช่น จากผลการเดินตรวจสอบความปลอดภัยประจำเดือน สถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน-โรคจากการทำงาน ไม่มีข้อร้องเรียนทั้งในและภายนอก เป็นต้น
                    8. 
เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ: ต้องรู้จักเข้าหาผู้อื่นและหยิบยื่นความรู้เรื่องความอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเข้าไป ชี้ให้เห็นว่าสามารถช่วยการทำงานของเขาได้อย่างไร ช่วยองค์กรได้อย่างไร ช่วยชีวิตของเขาได้อย่างไร
                    9. 
มีทัศคติเชิงบวก และมีความคิดสร้างสรรค์: เวลาเราจะตัดสินใจทำอะไร มักจะเกิดจากความคิด ดังนั้น หากเราคิดว่าเป็นไปได้ มันก็จะส่งผลให้เราสามารถทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้สำเร็จ  แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราคิดว่า “ทำยังไงพนักงานก็ไม่ยอมใส่ PPE ,ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ” ถ้าเราคิดแบบนี้มันก็ได้แค่บ่น ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปรับปรุงอะไรเลย  สิ่งที่เราควรทำคือการหาเหตุ และผลเพื่อแก้ไขปรับปรุงพลิกปัญหาให้เป็นโอกาส
                    10. 
ให้เกียรติตนเองและผู้อื่น: ใช้กริยาวาจา สุภาพ อ่อนน้อม ที่แสดงความเห็นอกเห็นใจ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นโดยปราศจากอคติ เอาใจเขามาใส่ใจเรา  มีความจริงใจต่อผู้อื่นทั้งในการให้บริการ และการดูแลปกป้องสิทธิประโยชน์ ทำให้ได้รับสิทธิ์ที่ควรจะได้อย่างตรงไปตรงมา

          ทั้งหมด 10 ข้อที่กล่าวมานี้ ผู้เขียนได้ทำอย่างต่อเนื่อง และผลลัพธ์ที่ได้กลับมา คือ
                    1. 
ผู้บริหาร Chairman, Managing ประกาศนโยบาย วิสัยทัศน์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามวาระสำคัญต่างๆของบริษัทฯ และเรื่องความปลอดภัยฯอยู่ในวาระการประชุมของ Exclusive Board  
                    2. 
ผู้บริหารระดับรองลงมาเข้ามามีบทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัยตามกฎหมายเพิ่มขึ้น และหนึ่งในผู้บริหารกลุ่มนี้ได้กล่าวต่อหน้าทุกคนในการประชุมว่า “เมื่อก่อน ตัวเขาเองยอมรับว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยฯ มากนัก เข้าประชุมบ้างไม่เข้าบ้าง สนใจแต่การผลิตเป็นหลัก แต่ตอนนี้ต้องขอบคุณสิ่งที่ผู้เขียนได้ทำมาตลอด มันส่งผลกระทบต่อตัวเขา ทำให้เขาเห็นและเข้าใจ จึงทำให้เกิดเปลี่ยนความคิดของเขา”   
                    3. 
สร้างทีมงานให้เข้มแข็ง คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เข้าร่วมประชุมเพิ่มมากขึ้นจนครบองค์ประชุม และร่วมเดินตรวจสอบความปลอดภัยประจำเดือน มีการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะโดยไม่ต้องร้องขอจากหน่วยงานความปลอดภัยฯ
                    4. 
พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและความปลอดภัยในการทำงาน มีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือพนักงานกล้าที่จะทักทายเราอย่างเป็นมิตร และแจ้งหรือรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เสนอแนะเรื่อง PPE หรือการปรับปรุงงานให้ปลอดภัยขึ้น รวมทั้งแจ้งเรื่องอื่นๆที่อาจจะไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบหลักของเรา แต่เราก็ยินดีที่จะรับเรื่องไว้และประสานงานกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับทราบพร้อมกับแนะนำพนักงานกลับไปว่าถ้าเรื่องนี้จะต้องแจ้งหน่วยงานใด
                    5. 
สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานลดลง

 

 

ที่มารูปภาพ : https://www.vectorstock.com/royalty-free-vector/safety-starts-with-me-handwritten-phrase-with-vector-35134974

          การที่เราจะทำสิ่งใดให้สำเร็จตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มันจะเกิดขึ้นที่คนอื่นไม่ได้ แต่มันต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา ปรับ Mindset ของเรา ดังเช่น เรื่องความปลอดภัยฯ ถ้าเรามัวแต่สร้างข้ออ้างว่า “ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ” “พนักงานไม่ให้ความร่วมมือ” และยอมรับว่า “มันก็เป็นแบบนี้แหละ” นั่นหมายความว่า อาจจะเป็นตัวเราเองที่ขาด Safety mind and Safety awareness ไม่ให้ความสำคัญกับมันมากพอที่จะทำให้ผู้บริหาร คณะกรรมการฯ และพนักงานเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ

          ดังนั้น เรื่องความปลอดภัย จะต้องเริ่มต้นที่ตัวฉัน “Safety starts with me. และทำอย่างต่อเนื่อง”  แล้วจึงไปขยายผลต่อให้กับทุกคนในองค์กร “Safety starts with you” ต่อไป                 

Visitors: 367,244