Safety Alert เตือนภัยในอดีต

เผยแพร่เมื่อ 24/07/2564...,
เขียนโดย คุณประสงค์ แถวเนิน 
               รองผู้จัดการแผนกความปลอดภัย
               บริษัท Thai Rotary Engineering Co., Ltd....,

 

เรื่อง Safety Alert เตือนภัยในอดีต

          เมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะเหตุการณ์ใหญ่ๆ อย่างไฟไหม้จนทำตึกถล่ม มีเจ้าหน้าที่ผจญเพลิงได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต หรืออย่างล่าสุดเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหล จนเกิดเป็นโศกนาฎกรรมอย่างที่หลายคนทราบ ตอนเกิดเหตุการณ์ขึ้นใหม่ๆ เรามีสารพัดสัมมนาจากสารพัดผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมให้ความรู้ จากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ท่านผู้อ่านทุกท่านคงทราบดี

          ในการทำงาน อาจมีเหตุการณ์ที่เราไม่พึงประสงค์ให้เกิด ยกตัวอย่าง เช่น Unsafe act, Unsafe con, Near miss หรือ Accident ในประสบการณ์ของผู้เขียนก็เช่นกัน หลังจากพบเจอเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อทำ Report เสร็จ และรายงานผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเรียบร้อย สิ่งที่ทำขั้นตอนต่อไป คือ เก็บเข้าแฟ้มเป็นอันจบพิธี

          เมื่อกาลเวลาผ่านไปพบว่า อุบัติการณ์ หรืออุบัติเหตุที่เคยขึ้นมักจะเกิดขึ้นซ้ำอีก แม้จะมีการแก้ไขไปแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดการเกิดอุบัติที่เกิดขึ้น ทั้งสาเหตุ และวิธีการแก้ไข ถูกถ่ายทอดให้คนในองค์กรทราบอยู่เสมอ ซึ่งก็มีหลายวิธีด้วยกัน แต่ผู้เขียนขอนำเสนอ หนึ่งในวิธีการที่ใช้เป็นทางเลือก นั่นก็คือการจัดทำ “Safe Alert หรือ เตือนภัยในอดีต” ซึ่งผู้เขียนทำ มีดังนี้
                    
1. รวบรวม และจัดทำบัญชีเหตุการณ์ทั้งหมดที่เคยขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบันขององค์กร
                    
2. แบ่งประเภทเหตุการณ์เป็นหมวดหมู่ เช่น อุบัติเหตุเกิดกับอวัยวะต่าง ใบหน้า มือ เท้า เป็นต้น
                    
3. จัดทำเป็นจุลสาร/วารสารสื่อสารภายในองค์การ, Power point, ทำ Pop up ขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์พนักงาน
                    4
. นำเสนอก่อนเริ่มประชุมทุกครั้งภายในองค์กร รูปแบบ Safety Share, Safety Moment สั้น และกระชับจบใน 5 นาที
                    5
. นำไปใช้อบรมพนักงานใหม่, ผู้รับเหมา รวมทั้งอบรมทบทวนด้านความปลอดภัยประจำปี
                    6
. ถ่ายทอดให้พนักงานทราบ ผ่าน กิจกรรม Safety Talk ประจำวันก่อนเริ่มงาน
                    7
. สื่อสารในการทำ On-the-Job Training ทุกครั้ง

 

          อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องน่าอาย ไม่จำเป็นต้องซ่อนเร้น แต่ควรนำมาสื่อสารเพื่อให้ทุกคนรับทราบ และนำไปปรับใช้ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ซึ่งวิธีการนี้อาจไม่ได้ช่วยให้ไม่เกิดอุบัติเหตุ แต่มันจะช่วยกระตุ้นเตือน ว่าหากพวกเราจะทำแบบนี้แบบที่เราได้รับรู้มา ปลายทางของมันอาจเป็น ‘อุบัติเหตุ’ อีกครั้งก็ได้

 

Visitors: 365,756