Demonstration สาธิตเพื่อซักซ้อม

เผยแพร่เมื่อ 31/07/2564...,
เขียนโดย คุณประสงค์ แถวเนิน 
               รองผู้จัดการแผนกความปลอดภัย
               บริษัท Thai Rotary Engineering Co., Ltd....,

 

เรื่อง Demonstration สาธิตเพื่อซักซ้อม 

          โดยทั่วไปแล้ว การซ้อมแผนระงับเหตุฉุกเฉินส่วนมากที่เราทำกันก็เพราะกฎหมายบังคับ และที่พบเห็นและทำกันเป็นประจำก็คือ  ซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้และอพยพในคราเดียวกัน ถามว่าเมื่อทำแล้วเราจะได้อะไรจากการทำตามกฎหมายปีละครั้ง ติ๊กต๊อก ติ๊กต๊อก เราก็ได้ Report มา 1 ฉบับถ้วน เพื่อส่งให้ราชการไงล่ะ ถามต่อว่าถ้ากฎหมายไม่บังคับจะทำไหม ก็อาจจะมีทั้งทำ และไม่ทำ 

          สำหรับตัวผู้เขียนเองโชคดีที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม และบวกกับอยู่ในอุตสาหกรรรมก่อสร้างในกลุ่ม Oil&Gas และปิโตรเคมี ทำให้ต้องมีการซ้อมแผนฉุกเฉินปีละประมาณ 5-6 แผน เช่น ไฟไหม้และอพยพ, ที่อับอากาศ, ที่สูง, สารเคมีรั่วไหล, รังสีรั่วไหล, แก๊สรั่วไหล และสุดท้ายล่าสุด คือ โรคโควิด19 เมื่อซ้อมบ่อยย่อมทำให้ทีมงานย่อมเกิดความชำนาญ, รู้ขั้นตอน, รู้หน้าที่ ทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ และสูญเสียน้อยที่สุด

          แต่ในวันนี้สิ่งที่ผู้เขียนอยากแชร์ ไม่ใช่การซ้อมแผน แต่คือ Demonstration หรือสาธิตสาธิตเพื่อซักซ้อมขั้นตอนระงับเหตุ และการช่วยเหลือกรณีพบผู้ประสบอันตราย ก่อนเริ่มงานที่ความเสี่ยงสูง เช่น การทำงานในที่อับอากาศ เป็นต้น แม้เราจะมีแผนระงับเหตุซึ่งเป็นแผนหลักอยู่แล้ว แต่ในงานของผู้เขียนมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งพื้นที่ปฏิบัติงาน ทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งตัวผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ผู้เขียนต้องเตรียมความพร้อมของทีมงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                    
1. ตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน และ JSA (Job Safety Analysis) หรือผลการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง
                    
2. Brief ขั้นตอนการระงับเหตุ และการช่วยเหลือกรณีพบผู้ประสบอันตราย ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบและเข้าใจ (ผู้ปฏิบัติงาน, ทีมช่วยเหลือ, ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ถ้ามี)
                    
3. สำรวจพื้นที่หน้างานที่ต้องปฏิบัติงานจริง
                    
4. พิจารณาเลือกวิธีการที่เหมาะสม โดยดูจาก
                              4
.1 พื้นที่ที่ปฏิบัติงาน
                              4
.2 อุปกรณ์ที่มี (เท่าที่หาได้ตอนนั้น และหากงานจำเป็นต้องทำ รอไม่ได้ หรือถ้าต้องจัดหาแต่ใช้เวลานาน)
                              4
.3 ทีมงานที่มีอยู่ ณ เวลานั้น
                              4
.4 ผู้ปฏิบัติงาน (โดยเฉพาะกรณีที่ใช้ ผู้รับเหมา)
                    
5. สาธิตวิธีการแต่ละขั้นตอน จนมั่นใจว่าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที
                    
6. ทำซ้ำจนมั่นใจว่าผู้เกี่ยวข้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีการตรงกัน
                    
7. ตรวจสอบสภาพ และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้ได้ทันที
                    8. 
ทบทวนตามข้อ 1-7 อีกครั้งเพื่อความพร้อมทุกครั้งก่อนเริ่มงาน

          ผู้เขียนแนะนำว่าควรทำ Demonstration หรือสาธิตเพื่อซักซ้อมขั้นตอนทุกครั้งที่มีกิจกรรมใหม่ เช่น เปลี่ยนพื้นที่ใหม่, อุปกรณ์ใหม่, เปลี่ยนผู้ปฏิบัติงาน หรือปัจจัยที่ทำให้งานที่ต้องทำนั้นมีความเสี่ยงสูงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความมั่นใจตลอดระยะเวลาที่มีการทำงาน

Visitors: 367,519