การจัดการความเสี่ยง

เผยแพร่เมื่อ 05/08/2564...,
เขียนโดย อาจารย์ชวินทร มัยยะภักดี
               คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...,

 

เรื่อง การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

ที่มาภาพ Recommended Practices for Safety&Health Programs in Construction, OHSA

          การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชี้อันตรายที่มีอยู่ในการดำเนินงาน โดยการประมาณระดับความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง รวมถึงการเฝ้าระวัง ตรวจประเมินและทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา การจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต้องมีกรอบ (Frame Work) คือ มีการชี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยง และการควบคุมความเสี่ยงด้วยวิธีการต่างๆ โดยต้องมีการทำงานในลักษณะวงจร (Cycle) ที่เคลื่อนหมุนอยู่เสมอ

                    1.  ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ บทบาทโดยตรงในการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้มี   4 ส่วน คือ ส่วนของรัฐบาล ผู้ควบคุมกฎ หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน และนายจ้าง ส่วนอื่นจะเป็นบทบาทโดยอ้อม เช่น สื่อมวลชน  ลูกจ้าง เป็นต้น สถานประกอบกิจการอาจจะกำหนดค่าความเสี่ยงขึ้นมาเองโดยมีหน่วยงาน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ           

                    2. ข้อกำหนดและกระบวนการจัดการความเสี่ยงตามมาตรฐาน AS/NZS 4360: 1998 (Standards Australia/Standards New Zealand) ประกอบด้วยข้อกำหนดหลัก 6 ข้อ แต่ละข้อจะมีความสัมพันธ์ในเชิงกระบวนการจัดการความเสี่ยง คือ เริ่มจากการกำหนดบริบทของการจัดการความเสี่ยง การชี้บ่งความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การประเมินผลและจัดลำดับความเสี่ยงและการลด/ควบคุมความเสี่ยงในขณะเดียวกัน ทุกๆ ข้อกำหนดจะมีการเฝ้าระวังและการทบทวนการดำเนินการควบคู่กันไปด้วย

          สถานประกอบกิจการต่างๆ ที่มีความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการจัดการความเสี่ยงโดยมีหลักการสำคัญในการดำเนินการ 3 ประการ ดังนี้

                    ประการที่ 1 การชี้บ่งอันตราย (Hazard identification)

                    ประการที่ 2 การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)

                    ประการที่ 3 การจัดทำแผนงานจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

ภาพ กระบวนการจัดการความเสี่ยง

 

ที่มา: มาตรฐาน AS/NZS 4360: 1998 และสิริพร ปานเมือง (2559)

 

Visitors: 412,391