ทำไมต้องมีพรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม

โดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา

 

เรื่อง ทำไมต้องมีพรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชี

และโรคจากสิ่งแวดล้อม

 

          เรื่องที่ 1 ทำไมต้องออกพรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 และข้อระวังเรื่องความไม่สอดคล้องของกฎหมายที่มีอยู่เดิม
          หลายคนคงจำได้ว่า หลายรัฐบาลรวมถึงรัฐบาลหลังปฏิวัติ จะมีแนวคิดเรื่องการชำระกฎหมายจำนวนมากที่ซ้ำซ้อน และเป็นภาระทั้งภาครัฐและเอกชนในการปฏิบัติ รวมถึงเป็นเรื่องที่กระทบไปถึงการค้าระหว่างประเทศไปด้วย          
          ประเทศไทยเรามีกฎหมายแม่ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเมื่อปี 54 (นี้เอง) และกฎหมายแม่ด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อปี 35 รวมถึงพรบ.โรงงานที่มีข้อกำหนดเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยด้วย แต่ก็ดูเหมือนจะไม่พอหรืออย่างไรไม่ทราบ จึงมีการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาอีก ดังนั้น จึงต้องมาอ่านเหตุผลและความจำเป็นในการออกกฎหมายนี้ ก็พบว่ามี 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
                    1. เพื่อกำหนดกลไกการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุม โดยใช้ระบบการแจ้งข้อมูลที่จำเป็นแก่ลูกจ้างและประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
                    2. เพื่อกำหนดให้บุคคลท่ีเก่ียวข้องมีหน้าที่แจ้งหรือรายงานเกี่ยวกับการพบหรือมีเหตุสงสัยว่าเกิดโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากส่ิงแวดล้อมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกรมควบคุมโรค

                    จากข้อ 1 ข้างต้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่ต้องมีการออกกฎหมายลูกในเรื่องกลไกการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุม ที่น่าสนใจมาก ๆ คือความสอดคล้อง หรือ “ความไม่ขัดแย้ง” ของกฎหมายฉบับนี้ที่ว่าด้วยเรื่องการบริการอาชีวเวชกรรม และเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ว่าไปด้วยกันได้ไหมกับกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                    ยกตัวอย่างเช่น พรบ.ความปลอดภัยฯ และกฎกระทรวงล่าสุดของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กำหนดว่า “บุคคล” ก็สามารถให้บริการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้ แต่ในพรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพฯ นี้ กำหนดว่าเป็น “หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม” เป็นคนทำอีกทั้งเรื่องการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม (ภายนอกโรงงาน) ก็ต้องดำเนินการโดยหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมามีกรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดอยู่ ทั้งเรื่องการกำหนดวิธีการตรวจวัด และมาตรฐานการตรวจวัด เป็นต้น โดยทั้งสองหน่วยบริการ ต้องดำเนินการตาม “มาตรฐานการให้บริการ” ที่จะออกเป็นกฎหมายรองด้วย แล้วถ้ามาตรฐานที่ออกมาไปขัดแย้งกัน จะทำไง เพราะโทษมีถึงจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

***** นี้จึงเป็นเรื่องที่คนวงการ HSE ต้องมาช่วยกันเสนอแนะแล้วละครับ (จัดวันที่ 24 เมย. ผ่านทาง ZOOM Meeting จะได้มีกฎหมายรองที่ออกมาแล้วมีความสุขทั้งคนออกกฎหมายและคนปฏิบัติตามกฎหมาย *****

                    ส่วนข้อ 2 เรื่องการแจ้งข้อมูลผลตรวจสุขภาพที่พบ เรื่องนี้ต้องยกมือให้คนที่คิดเรื่องนี้ เพราะต้องยอมรับกันว่าในมุมมองนายจ้าง คงไม่มีที่ไหนแจ้งคนอื่น (ที่เกี่ยวข้อง) รู้แน่ แต่หากมีกฎหมายรองออกมาแล้ว หากไม่แจ้งอันนี้เป็นเรื่องแน่ โดยหากพบว่าไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
 
                    กลับมาที่ข้อ 1 จะเห็นว่ามีเรื่อง “กลไก” การเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุม จึงจะเห็นในหมวด 3 ที่มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ในแต่ละจังหวัด) และคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากส่ิงแวดล้อมกรงุเทพมหานคร ซึ่งกลไกเหล่านี้ก็จะเป็นคณะกรรมการที่จะมีบทบาทในเรื่องการป้องกันและควบคุม รวมถึงการสอบสวนกรณีพบว่าลูกจ้าง หรือประชาชน “มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการปะกอบอาชีพ หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม” (พูดง่าย ๆ เราจะพบผู้เล่นใหม่ จากเดิมที่พบจากกสร. กรอ. และท้องถิ่น ฯลฯ)

                   
พรุ่งนี้ มารู้จักกฎหมายรอง 2 ฉบับที่ประกาศออกมาแล้ว เพื่อดูว่าเราต้องทำอะไรบ้างในระหว่างนี้
 

 

Visitors: 366,500