ตอนที่ 2 สถานประกอบการปลอดโรค

เผยแพร่เมื่อ 29/08/2564...,
เขียนโดย ดร.สมนึก หงษ์ยิ้ม 
               สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี...,


ตอนที่ 2  "สถานประกอบการปลอดโรค"

ที่มารูป : https://www.tosh.or.th/index.php/tosh-news/tosh-promote/401-2019-covid

          สวัสดีครับ พบกันใน EP 2  นะครับ  ในประเด็น  “สถานประกอบการ ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข” EP นี้ ผมขอเสนอในประเด็น “สถานประกอบการปลอดโรค”ก่อนเลยนะครับ  เนื่องด้วยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 มีการระบาดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดในสถานประกอบกิจการ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม หลายประเภท โดยผู้ติดเชื้อมีโอกาสแพร่เชื้อในสถานประกอบกิจการและชุมชนรอบนอก การแพร่เชื้อใน สถานประกอบกิจการส่งผลต่อการขาดแรงงานทั้งการหยุดพักรักษาตัวและกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสที่ต้องกักกันตัว เกิดการสูญเสียรายได้ เกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและการดำเนินการของ สถานประกอบกิจการ และเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการระบาดของโรคโควิด 19  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานประกอบการต้องมีมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันการระบาดของโรค โควิด 19 

          มาตรการเชิงป้องกัน สถานประกอบการปลอดโรค  โควิด 19
                    1. 
การกำหนดนโยบายความปลอดภัยโดยผู้บริหาร
                              
1.1   มีนโยบายของสถานประกอบการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
                              
1.2   มีทีมหรือคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม การแพร่ ระบาดของโรคโควิด – 19 พร้อมจัดทำรายละเอียดการ ประสานงาน
                              
1.3   มีการสื่อสาร ถ่ายทอดนโยบาย แผนการดำเนินงาน ขั้นตอน และ รายละเอียดการทำ Bubble and Seal เพื่อป้องกันการแพร่ ระบาดของโรค ให้แก่คณะทำงาน และผู้ปฏิบัติงานทุกคน
                              
1.4   มีการเตรียมทำแผนงาน ขั้นตอน และรายละเอียด มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการป้องกันโรค โดยคัดเลือกหัวหน้า กลุ่ม และรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                              
1.5   มีการจัดเตรียมแผนการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถาน ประกอบกิจการทุกคน (ตามบริบทของสถานประกอบกิจการ)

                    2. การคัดกรองก่อนเข้าพื้นที่ในสถานประกอบการ
                              
2.1. มีการประเมินความเสี่ยงโรคโควิด 19 รายบุคคลก่อนเข้าสถานที่
                              
2.2  มีการเก็บข้อมูลการเดินทางของบุคลากรกรณีที่ มีความเสี่ยง และมีการจัดทำไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อ (กรณีมีผู้ติดเชื้อ)

                    3. การดำเนินงานเมื่อพนักงานเข้าทำงานในพื้นที่ของสถานประกอบการ หรือนอกพื้นที่  
                              
3.1  มาตรการรักษาระยะห่าง
                                        o 
บุคคล
                                                  
- มีมาตรการป้องกันไม่ให้มีการรวมตัวทำกิจกรรมของพนักงานเพื่อลดความเสี่ยงต่อการ แพร่ระบาด คือ
                                                  
- การไม่รวมกลุ่มรับประทานอาหาร ร่วมกันการไม่รวมกลุ่มสังสรรค์หลังเลิกงาน หรือในบ้านพัก
                                                  
- มีการเหลื่อมเวลาพักที่ครอบคลุม ทั้ง เวลาพักรับประทานอาหารกลางวันและพักเบรก
                                                  
- การจัดรถรับส่งพนักงานแบบไม่แออัด และมีจำนวนเพียงพอ
                                                  
- มีมาตรการสำหรับยานพาหนะ ส่วนกลาง และคนขับรถ
                                        o 
สถานที่
                                                  
- การจัดสถานที่ อาคารผลิต และบริเวณต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อลดความแออัดของโรงอาหาร   ห้องประชุม   องเปลี่ยนเสื้อผ้า  ห้องน้ำ หรืออื่นๆ
                              
3.2   ส่งเสริมมาตรการทำงานที่บ้าน (Work from Home)   อาจพิจารณามีมาตรการการทำงานที่บ้านมีการทำงานออนไลน์ในกลุ่มพนักงานที่มี โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคทางภูมิคุ้มกัน เป็นต้นในกรณีที่ลักษณะงานเอื้ออำนวย
                              
3.3   มีมาตรการส่งเสริมการล้างมือ  มีจุดล้างมือ พร้อมสบู่ และน้ำสะอาด อย่างเพียงพอ พร้อมวิธีการล้างมือและมีการจัดหา แอลกอฮอลล์เจล 70% ขึ้น ไป ในจุดสัมผัสร่วมตลอดจนมีการประเมินการล้างมืออย่างถูกวิธี
                              
3.4   มีมาตรการทางสุขอนามัยและการทำความสะอาด  มีมาตรการป้องกันการใช้ของร่วมกันของ พนักงาน รวมถึงจุดสัมผัสร่วมต่างๆ เช่นการใช้แก้วน้ำร่วมกัน การสแกนนิ้วมือลูกบิด เป็นต้น มีการทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมอย่าง เหมาะสม  มีการรณรงค์ให้ใช้ของใช้ส่วนตัวและ มีจุดบริการน้ำดื่มที่เพียงพอ
                              
3.5   มีมาตรการการสวมหน้ากากอนามัย  การจัดหา หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า อย่างพอเพียง  พนักงานสวมหน้ากากอนามัยหรือ หน้ากากผ้าอย่างถูกต้องขณะปฏิบัติงาน ตลอดเวลา และเปลี่ยนใหม่ ตามความ เหมาะสมการจัดหาที่ทิ้งขยะติดเชื้อ อย่างเพียงพอ
                              
3.6    การค้นหาและคัดแยกผู้ป่วยมีการคัดกรองอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นก่อนเดินทางมาปฏิบัติงาน   มีระบบการรายงานอาการเจ็บป่วยให้ ผู้บังคับบัญชาตามสายงานทราบ  มีแนวทางการส่งต่อ   ในกรณีเมื่อพบ พนักงานเจ็บป่วย หรือพบพนักงานต้อง สงสัยมีความเสี่ยง ในการเป็นโรคโควิด 19เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ในโรงพยาบาล  มีการติดตามผู้ปฏิบัติงานที่ต้องกักกันตัวที่ บ้านอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การสนับสนุน ในด้านต่าง ๆ เช่น การโทรศัพท์เยี่ยม VDO Call  มีมาตรการการประเมินกลับเข้าทำงาน
                              
3.7   การอบรมให้ความรู้พนักงานการอบรมหัวข้อสุขลักษณะของพนักงาน เมื่อ อยู่ที่พักอาศัย เช่น การทำความสะอาดที่พัก เครื่องแต่งกาย การใช้ห้องสุขา การ รับประทานอาหาร การเว้นระยะห่างในชุมชนเพื่อนบ้าน  มีการอบรมให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับการ ประเมินความเสี่ยงของการระบาดของโรคโค วิด 19  มีการประเมินความรู้ และทบทวนความรู้ให้ พนักงาน
                              
3.8   การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร  มีการแจ้ง การงดไปพื้นที่เสี่ยงมีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ข้อมูลด้าน การป้องกันโรคอย่างถูกต้องเช่น การมี safety talk ระบบไอที การใช้สื่อต่างๆ ในการแจ้ง มาตรการของสถานประกอบกิจการ   มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้ สื่อสาร  มีการจัดการระบบสื่อสารข้อมูลกับหน่วยงาน ภายนอกในกรณีเกิดการเหตุภายในองค์กรมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับครอบครัวของ พนักงานในกรณีเกิดเหตุ

                    4. การดำเนินงานเพื่อป้องกันการระบาดในวงกว้าง (Early Control) มีการคัดแยกและการดำเนินการในกลุ่มผู้สัมผัสในสถานประกอบการ

                    5. การดำเนินงานเมื่อพบพนักงานป่วย
                              
5.1     มีการแจ้งต่อพนักงานควบคุมโรคติดต่อ กรณีพบผู้ป่วย
                              
5.2    มีความพร้อมในการดำเนินการตามมาตรการBubble and seal หรือไม่   มีสถานที่แยกสำหรับจัดตั้งเป็นโรงพยาบาล สนาม ภายในสถานประกอบการ (อาจเป็น อาคารหอพัก หรือเป็นพื้นที่โล่งที่สามารถ จัดทำเป็นโรงพยาบาลสนามได้)   มีสถานที่พัก และรถรับส่งพนักงานตาม มาตรการ  มีบุคลากรและการบริหารจัดการเพื่อรองรับ การดำเนินงานตามมาตรการ
                              
5.3     มีการสื่อสารให้ชุมชนโดยรอบเข้าใจ
                              
5.4    จัดตั้งทีมประสานงาน ระหว่างสถานประกอบการและโรงพยาบาลแม่ข่ายและจัดบุคลากรเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยไม่มีอาการ และทำการแยกกักเพื่อสังเกตอาการได้

          การดำเนินงานสถานประกอบการปลอดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ปลอดจากโรคระบาดโควิด 19 ควรดำเนินการอย่างเข้มงวด และดำเนินการในเชิงป้องกัน โดยเน้นมาตรการ Bubble and Seal เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  แนวคิดหลักของมาตรการนี้ คือ  จัดกลุ่มให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานหรือทำกิจกรรมภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แนะนำการจัดกลุ่มให้เล็กที่สุด ตามบริบทของสถานประกอบกิจการทั้งนี้ควรคำนึงถึงลักษณะงาน กิจกรรม พฤติกรรมเสี่ยง ความเสี่ยงต่างๆร่วมด้วย โดยแต่ละกลุ่มต้องทำงานและทำกิจกรรมร่วมกันภายในกลุ่ม ไม่มีการข้ามกลุ่ม คุมไวกรณีพบผู้ปฏิบัติงานติดเชื้อในกลุ่มย่อยนั้น เมื่อแยกผู้ติดเชื้อออกไปรักษา ในการจัดกลุ่มย่อยนี้จะทำให้ทราบกลุ่มเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้อได้เร็วคือผู้ที่อยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกัน ลดระยะเวลาการประเมินและติดตามผู้สัมผัสกลุ่มเสี่ยง ทำให้สามารถจัดการกักกันหรือควบคุมได้เร็ว คือเข้าสู่มาตรการต่างๆ ได้รวดเร็ว ลดการแพร่กระจายเนื่องจากการจัดกลุ่มย่อย ไม่ข้ามกลุ่ม เป็นการออกแบบและจัดระบบไว้ไม่ให้ปะปนกันตั้งแต่ต้นรายได้ไม่สูญเสีย ถึงแม้จะพบผู้ติดเชื้อ ผู้ปฏิบัติงานที่เหลือในกลุ่มที่มีความเสี่ยง ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มย่อยอื่นยังคงสามารถทำงานหรือทำกิจกรรมได้ภายใต้เงื่อนไข ซึ่งเป็นผลดีต่อสถานประกอบกิจการทำให้ไม่ต้องหยุดดำเนินกิจการ ผู้ปฏิบัติงานและสถานประกอบกิจการมีรายได้

          EP  นี้พบกันแค่นี้ก่อนนะครับ ขอบคุณข้อมูล จากกรมควบคุมโรค หวังว่าทุกสถานประกอบการจะปลอดโรค  และปลอดภัยจากโรคโควิด 19 นะครับ

 

เอกสารอ้างอิง

          กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2564).คู่มือการดำเนินงานมาตรการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ Bubble and Seal.กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

 

 

Visitors: 367,421