ท่านถาม วิทยากรตอบ “เทคนิคการสื่อสารความเสี่ยงยุคโควิด -19”

โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

 

ท่านถาม วิทยากรตอบ “เทคนิคการสื่อสารความเสี่ยงยุคโควิด -19”

          สืบเนื่องจากการจัดอบรมหลักสูตร “เทคนิคการสื่อสารความเสี่ยงยุคโควิด -19” มีคำถามใน chats ซึ่งท่านอ.วิยะดา วรธนานันท์ ได้กรุณาตอบคำถามที่ไม่มีเวลาตอบในระหว่างการอบรมได้
          
สอป. ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้

          1. ในภาวะที่ต้องเผชิญคนหมู่มาก มีคำถามเยอะ แต่มีเวลาน้อยมากในการตอบ เช่น คนทำงานในบริเวณตรวจโควิดในชุมชน แล้วมีคนเยอะมาก จะมีเทคนิคการรับมือหรือตอบคำถามอย่างไรครับ
               
คำตอบ: เทคนิคการรับมือคือเข้าใจผู้ถามคัดเลือกประเด็นที่ควรตอบ ส่วนคำถามอื่นๆ รับไว้ เราค่อยตอบภายหลัง แสดงให้ผู้ฟังทราบว่าเราตั้งใจ เรายินดีที่จะตอบคำถาม แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดทางเวลา จึงจำเป็นต้องตอบในบางคำถามก่อน และต้องเลือกตอบคำถามที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต้องรู้ก่อน การตอบคำถามที่ดีต้องมีข้อมูลชัดเจนและใช้ถ้อยคำภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจง่าย

          2. would like to get some advices/guides from ArJarn Wiyada for media response/communication ka. any short guide that we can apply or prepare?
               
คำตอบ: การสื่อสารโต้ตอบของสื่อในช่วงวิกฤติหรือกรณีมีเหตุการณ์ต่างๆควรมีหลักและแนวทางสำคัญคือ
                                        
1. สื่อสารด้วยเหตุผลและปราศจากอคติ
                                        
2. สื่อสารข้อมูลที่เป็นจริงไม่ตัดสินสิ่งใดด้วยทัศนะของตัวเองเท่านั้น
                                        
3. ต้องมีจริยธรรมในการสื่อสาร ไม่โกหก ไม่เป็นเครื่องมือของใคร
                                        
4. สารหรือข้อมูลถูกต้อง กระจ่าง ชัดเจน กะทัดรัด เป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร

          3. ในปัจจุบัน มีความแตกต่างทางความคิดอย่างชัดเจน ผู้ส่งสารไม่ว่าจะมาจากด้านไหน อีกด้านก็จะไม่ให้ความร่วมมือ ในกรณีสถานการณ์โควิดนี้ เราควรจะพิจารณาการสื่อสารอย่างไรให้สามารถสื่อสารได้ทั้งทุกกลุ่มคะ
               
คำตอบ: การสื่อสารในสถานการณ์เช่นนี้ ต้องใช้จิตวิทยาและความเข้าใจความแตกต่างของบุคคล พยายามทำให้ผู้ฟังกับผู้พูดเป็นพวกเดียวกันดังนี้
                                        
1. อย่ามีอคติกับผู้ฟัง แต่พยายามเน้นจุดที่เขายอมรับได้
                                        
2. ใช้ท่าทีที่เป็นมิตร น้ำเสียงที่ดี บุคลิกภาพที่สุภาพ เป็นกลไกช่วยสร้างความยอมรับในตัวผู้พูด
                                        
3. เลือกเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับผู้ฟังโดยรวม ใช้ภาษาสื่อสารที่เข้าใจได้ง่าย
                                        
4. เน้นประเด็นที่เป็นประโยชน์สำคัญ เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังยอมรับได้
                                        
5. หากต้องตอบคำถามก็ต้องตอบตรงไปตรงมา
                                        
6. มีความมุ่งมั่นที่จะสื่อสารให้ดีตามเป้าหมาย
                                        
7. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง ไม่ตอบโต้ด้วยความก้าวร้าว แต่ต้องจริงใจและปรารถนาดีเป็นสำคัญ

 

#OHSWA
#โครงการสอป_อาสา

Visitors: 367,140