ทักษะสำคัญของผู้ให้คำปรึกษา นักอาชีวอนามัย กับ การเป็นผู้ให้คำปรึกษา

เผยแพร่เมื่อ 20/3/2567
เขียนโดย มิสเตอร์เซฟตี้

 

ทักษะสำคัญของผู้ให้คำปรึกษา

นักอาชีวอนามัย กับ การเป็นผู้ให้คำปรึกษา 

          คราวนี้มากล่าวถึงทักษะที่สำคัญของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพกันครับ ตามที่เคยเกร่นไปแล้วว่า บริบทของการทำงานเป็นนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฯ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บทบาทในการทำงานนั้นส่วนใหญ่นั้นต้อง หาทางตอบคำถาม ว่าอย่างนี้อย่างนั้นปลอดภัยไหม และถ้าไม่ปลอดภัยมักจะถูกถามว่าแล้วจะทำอย่างไร แน่นอนนักอาชีวอนามัย ไม่ใช่จะรู้ไปทุกเรื่อง เก่งไปเสียทุกอย่าง แน่นอนครับ เราต้องมีคำตอบ “ที่ดี” “ที่ปลอดภัย” หรือ “เป็นที่พอใจ” ให้กับผู้ขอคำปรึกษา ดังนั้นการใช้กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ ทักษะการให้คำปรึกษา (Consulting Skills) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทักษะด้านต่างๆ ตามที่ได้เกร่นไว้ในบทความก่อนหน้า มีประเด็นที่สำคัญอีกหลายด้าน ที่ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องพัฒนาเพื่อจะมีทักษะในการให้คำปรึกษาที่ครบถ้วน และการใช้กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ เช่น ทักษะในการวิเคราะห์ (Analytical skills) ความสนใจใฝ่รู้อย่างชาญฉลาด (Intellectual curiosity) ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (People skills) แม้แต่ทักษะการนำเสนอและทักษะการใช้ PowerPoint (Presentation skills & PowerPoint skills) และทักษะความเป็นผู้นำและทักษะการขาย (Leadership skills & Sales skills) ที่จะนำนำเสนอแนวคิดให้เห็นภาพ ทำให้ผู้ฟัง มี mindset ที่ถูกต้อง และที่สำคัญเห็นภาพ Vision อย่างชัดเจน ผู้ฟังถึงจะสามารถไปประยุกต์ไปสร้างแผนงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนแผนที่ดีนี้ ก็จะทำให้เกิดประสิทธิผล

       1. ทักษะในการวิเคราะห์ (Analytical skills) 
               
ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นทักษะอันดับหนึ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาทุกคนจะต้องมีในระดับที่สูงมากถึงมากที่สุด ให้ลองนึกภาพถึงวันที่เดินเข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือโรงงาน  กวาดสายตาไปโดยรอบ แล้วเห็นผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในสายการผลิต  หรือมองเห็นสภาพแวดล้อมทั่วไป ที่ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นห้องพยาบาล ตู้น้ำดื่ม สุขา ห้องรับประทานอาหาร สถานที่นั่งพักผ่อน สนามกีฬา ฯลฯ เป็นข้อมูลที่ต้องเลือกเก็บและนำเอาไปวิเคราะห์เพื่อได้คำอธิบายประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อใช้ในการให้คำปรึกษาได้ ดังนั้น การเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี ไม่ว่าจะอาวุโสน้อยหรืออาวุโสมาก จะต้องสามารถทำงานกับข้อมูลจำนวนมากได้ ขอแบ่งตามลำดับขั้นการทำงานดัง
                    1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
                    
ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ให้คำปรึกษาต้องรู้วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่อยากได้ อาจโดยการสัมภาษณ์ ขอดูเอกสาร สังเกตการณ์  (3P- Paper/People/Practice) หรือทำแบบสำรวจ หรือ แบบสอบถาม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลที่ได้มามากเกินไปจนไม่รู้จะวิเคราะห์ส่วนไหนดี หรือได้ข้อมูลมาไม่ตรงกับที่ต้องการ จะไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ให้คำปรึกษา ต้องหาวิธีอธิบายให้สถานประกอบกิจการฟังอย่างง่ายๆ ว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไร เมื่อรับข้อมูลมาต้องกลั่นกรอง ตัดและลดทอนอคติและอารมณ์ของผู้ให้ข้อมูลออกไป หรือกรณีไม่ได้ข้อมูลเลย ซึ่งอาจเกิดจากผู้รับคำปรึกษาไม่ทราบเกี่ยวกับข้อมูลนั้นจริงๆ หรือใครเป็นเจ้าของข้อมูล หรือคิดว่าข้อมูลสำคัญ (confidential) เกินกว่าที่จะให้เราได้ ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษาต้องชัดเจนว่าจะเอาข้อมูลไปทำอะไร เพื่ออะไร และหากขอข้อมูลเป็นจำนวนมากจากหลายหน่วยงาน ต้องหาวิธีการติดตามว่าได้ข้อมูลใด จากใคร เป็นต้น  และจะรักษาข้อมูลเป็นความลับด้วย
                   
 1.2 การวิจัย (Research)
                    
อาจมีบางครั้งหรือบ่อยครั้งที่สถานประกอบกิจการถามถึงข้อปฏิบัติที่ดี (best practice) โครงร่างงาน (framework) ข้อมูลเปรียบเทียบในแวดวงธุรกิจ/อุตสาหกรรมเดียวกัน ฯลฯ  แน่นอนว่าสถานประกอบกิจการไม่ผิดที่ถามคำถามแบบนี้  ดังนั้นทักษะการค้นคว้าหาข้อมูลจึงสำคัญและจำเป็นยิ่ง การค้นหาจากอินเตอร์เน็ตก็ต้องรู้ด้วยว่าแหล่งข้อมูลไหนที่น่าเชื่อถือและสามารถเอาไปอ้างอิงได้ โครงร่างงานหรือมาตรฐานใดที่ใช้กันในแวดวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หลายครั้งข้อมูลที่ต้องการอาจไม่ได้มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ก็ต้องรู้ว่าจะไปหาได้จากที่ใด โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานให้คำปรึกษาจะมีแหล่งหรือฐานข้อมูลความรู้  (portal orknowledge base) ไว้สำหรับเก็บและแชร์ข้อมูล ใครในหน่วยงานให้คำปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ควรจะมีข้อมูลด้านนั้นๆ หรือการใช้เส้นสาย คนรู้จัก สืบเสาะหาข้อมูลกันไป การค้นคว้าหาข้อมูลทั้งหมดนี้ต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาไม่มากเกินไป เพื่อให้ทันต่อการดำเนินการให้คำปรึกษา
                    1
.3 การวิเคราะห์และการสรุปข้อมูล (Data Analysis & Visualization)
                    
หลังจากที่ได้ข้อมูลที่ต้องการมาแล้ว ข้อมูลอาจมีจำนวนมากและหลากหลาย จึงต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ (qualitative and quantitative) ได้ โดยการสรุปและแสดงข้อมูลออกมาให้อยู่ในรูปของแผนภาพ กราฟ หรือวิดีโอที่อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการจะแสดง  เพื่อให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายกว่าเดิม

          จะเห็นว่า “ภาพ” ที่ชัดเจนและถูกต้องเชื่อมโยงกับ ผู้รับคำปรึกษา นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะให้คำปรึกษาที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงขององค์กรนั้นๆ

 

Visitors: 367,898