จาก “เป็ด” สู่ “เป็ดพลัส”

          วันนี้ ขอรื้นฟื้นความหลังนิดนึง (30 กว่าปีก่อน) ตั้งแต่สมัยเรียนก็มักจะได้ยินรุ่นพี่บอกว่า พวกเราชาว Occ หรือ จป นี่แหละ เรียนอะไรก็ไม่รู้ เยอะแยะไปหมด จบมาแล้ว “เหมือนเป็ด” เรียนวิชาการหลากหลายด้านวิทยาศาสตร์ จะสายสุขภาพเสียทีเดียวก็ใช่ สายวิศวะก็ไม่เชิง สายสถิติวิเคราะห์ก็ห่างไกล แต่มีการเรียนวิชาต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ในประเด็นที่ว่ามากลายๆ เริ่มจากช่วง ม.ปลาย พวกเราต้องเป็นนักเรียนสายวิทย์ จึงจะเข้าคณะนี้ได้ ซึ่งต้องมี ชีวะ Physics เคมี เลข เป็นทุนเดิมแน่ๆ และเมื่อเข้ามหาวิทยาลัย เนื้อหาหลักสูตร ก็เพิ่มเติมให้เข้มข้น ลึกลงไปในกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิศวกรรมความปลอดภัย เช่น Biochem, Organic Chem, Physiology, Anatomy, Biostatistics, Epidemiology, Parasite, Community Health, Health Education, Ventilation, Industrial Hygiene, Nutrition, Process Safety, Acc Investigation, Sanitation นี่แค่ตัวอย่างบางส่วน ยังมีวิชาภาคอีกหลายตัว

          ที่เกริ่นยาว ก็เพียงแต่จะบอกว่า พอเรียนจบไปแล้ว และเข้าสู่วงจรการทำงานในฐานะ “จป วิชาชีพ” พบว่า มันทำให้เราต่างจากวิชาชีพอื่นตรงที่เราคล่องตัว และที่สำคัญ ยังพบว่า เมื่อมี issue ต่างๆ ที่หน้างาน มักจะถูก link เข้ามาที่งานด้าน OHSE ของเรา (อารมณ์ เกี่ยวข้องกับเขาไปทั่ว) ให้เราได้ช่วยแก้ไข จึงมักถูกเปรียบเปรยว่า “เป็นเป็ด” นั่นเอง และเมื่อจำเป็นต้องลงมือทำงานในความหลากหลายของหน้างาน อันนี้ แล้วแต่พวกเราแต่ละคนจะเลือกเส้นทางว่าจะเข้าไปอยู่ในวงการไหน เช่น ยานยนต์ ก่อสร้าง อาหาร ไฟฟ้า อิเล็กโทรนิก ปิโตรเคมี ก็สามารถ apply ใช้วิชาการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นจากศูนย์ แต่ Philosophy of Safety หรือกระบวนการความคิดเพื่อให้พนักงานทำงานให้ปลอดภัย สุขภาพดี มันเป็นเป้าหมายเดียวกันในการทำงานของพวกเรา

          หลังจากที่ทุกคน ออกไปประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น จป วิชาชีพ หรือนักวิชาด้าน OHSE กันแล้ว จะพบว่า มีประสบการณ์ต่างกัน หลากหลาย แล้วแต่บริบทที่ตัวเองไปประสบและทำงานร่วมกับทีมต่างๆ ในองค์กรนั้นๆ ทุกๆ คนก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวกันไป

          มีรุ่นพี่ในวิชีพเรามากมายที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน หลากหลายสาขาธุรกิจทั้ง ภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน เช่น พี่วิโรจน์ (สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด) พี่แจ๋ว (หัวหน้าภาค OHS : KKU) พี่หมี (HSE Manager : EGAT) พี่บัส (รองผู้อำนวยการ สสปท) พี่ต้น HSE Manager : การบินไทย) พี่ชูเกียรติ (HSE VP : TPAC) พี่ปราโมทย์ (Safety Coach : Business Owner) พี่เบิ้ล (QSHE Region Manager : Blue Scope) พี่โด่ง (Technical Safety VP : GC) พี่เกียรติ (HSE Manager : SCGC) พี่ชลาธิป (HSSE Manager เชี่ยวชาญด้านโครงการก่อสร้าง : Artelia Cornerstone) พี่สงคราม (HSE Manager : SCG) เป็นต้น

          เป็นเพียงตัวอย่างที่พอนึกได้ในขณะนี้ ซึ่งผมมีข้อสังเกตหนึ่งที่ “เป็ด” ทุกท่านดังกล่าวข้างต้น มีคุณลักษณะที่คล้ายๆ กัน คือ การคิดนอกกรอบ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมแพ้ มักจะมองหาโอกาส Trend ใหม่ๆ หาช่องว่างเพื่อช่วยแก้ปัญหา (ถึงแม้บางครั้งจะไม่เกี่ยวกับงานด้าน OHSE ก็ตาม) และเป็นหนึ่งเดียวในการทำธุรกิจขององค์กรที่ตัวเองสังกัด หรือกล่าวโดยรวมว่ามี Growth Mindset ที่แข็งแรงมาก นี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดความต่างและทำให้เกิดความก้าวหน้าในการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรืออาจกล่าวได้ว่า พี่ๆ เหล่านี้ คือ “เป็ดพลัส” หรือ “Generalist Plus”

          ขอแตะเรื่องชุด Mindset ไว้เพียงเล็กน้อย ซึ่ง 2 คำนี้ จะมาควบคู่กัน คือ Growth Mindset กับ Fixed Mindset มักมีความหมายเชิงทัศนคติตรงข้ามกัน พวกเราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก website หรือ Youtube ตามอัธยาสัย บางคนทำงานมาระยะหนึ่ง พบว่า ทำอะไรก็รู้สึกติดขัด ไม่ราบรื่น มีแต่อุปสรรค์ ก็ลองเข้าไปศึกษาวิธีคิดแบบ Growth Mindset ดูครับ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เพื่อปลด Lock ความคิดบางอย่างในหัวเรา เผื่อจะเปลี่ยนวิธีคิด บิดไปอีกนิด สู่แนวทางที่ควรจะเป็น ชีวิต หน้าที่การงานจะราบรื่นขึ้น หรือพวกเราคนไหน มีประสบการณ์ หรือได้ทดลองศึกษาเพิ่มเติมมาแล้ว และได้ผลอย่างไร ก็สามารถ share ให้สมาชิก ส.อ.ป. ทราบกันบ้างนะครับ

 

           วันนี้ ได้พูดถึง “เป็ด” หรือ “Generalist” ในจุดเริ่มการประกอบอาชีพ และเมื่อมีประสบการณ์ ใส่กระบวนการทางความคิด ทัศนคติในมุม Growth Mindset พี่ๆ เหล่านั้น จึงยกระดับป็น “เป็ดพลัส” หรือ “Generalist Plus” ไว้เพียงเท่านี้ก่อน ฉบับหน้า จะขอพูดถึง ทำอย่างไร ให้พวกเราชาวเป็ด หรือเป็ดพลัส แปลงกาย (Transform) ไปสู่ “เป็ดพรีเมี่ยม” หรือ “Premium Generalist” โดยจะมีพี่น้องเราชาว Occ หรือ จป เป็นตัวอย่างตัวเป็นๆ ให้เราได้เรียนรู้กัน …. ติดตามตอนต่อไปนะครับ

 

Visitors: 367,705