แนะนำผู้เขียน Human Factors of Automated Driving Series

โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

พบ ผศ.ดร.ทศพล บุตรมี
ผู้เขียนซีรีส์ใหม่ล่าสุด Human Factors of Automated Driving

หากคุยกันเรื่องรถยนต์ ก็มีเรื่องให้คุยกันมากมาย และพัฒนาการของรถยนต์ก็กำลังก้าวข้ามรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ไปสู่ Hybrid และไปสู่ EV ในที่สุด ปัจจุบันก็มีบางประเทศ (หรือบางเมือง) ประกาศออกมาแล้วว่า ภายในปี ….. (ตามแต่ประเทศ/เมืองนั้น ๆ จะกำหนด) จะไม่ให้ใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาวิ่งบนถนนอีกแล้ว

แต่ที่ก้าวข้ามมากขึ้นไปอีกก็คือเรื่องรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ (ที่เห็นมีการทดลองกันอยู่) แต่ก็สร้างความน่าสนใจได้มากทีเดียว มีการคุยกันว่าเราจะกล้านั่งเหรอ? หากมัน “ดื้อ” หรือ “เพี้ยน” (หมายถึง fail ขึ้นมา จะทำไงกันละ)

เรื่องนี้จึงต้องให้ ผศ.ดร.ทศพล บุตรมี แห่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มาช่วยให้คำตอบ อาจารย์เขาเลยบอกว่า “อาจารย์สราวุธครับ ผมจะเขียนซีรีส์ใหม่ให้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่อาจารย์เกริ่นนำมาเลย”

และนี้คือซีรีส์ Human Factors of Automated Driving หรือ “รถยนต์ระบบอัจฉริยะในมุมของทางด้านการยศาสตร์และปัจจัยมนุษย์” ซึ่งเนื้อหาจะเป็นแนวประมาณนี้ครับ

>>> ในอนาคตอันใกล้รถยนต์อัจฉริยะ (Automated Driving) จะถูกนำมาใช้มากขึ้น ผู้ขับขี่อาจจะถูกเปลี่ยนบทบาทจาก driver เป็น passenger แต่ในมุมมองของนักการยศาสตร์และนักปัจจัยมนุษย์ มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย เช่น การใช้รถประเภทนี้ปลอดภัยหรือไม่ ทำให้ทักษะการขับขี่และการตระหนักถึงอันตรายลดลงหรือไม่ สังคมยอมให้ใช้รถแบบนี้บนท้องถนนหรือไม่ เมื่อระบบเกิดความผิดพลาดขึ้นผู้ขับขี่จะกลับเข้าสู่ driving loop ทันท่วงทีก่อนการเกิดอุบัติหรือไม่ ในซีรี่ส์นี้จะพูดถึงการใช้รถยนต์อัจฉริยะในมุมมองของนักการยศาสตร์และปัจจัยมนุษย์ <<<

ฟังแล้วน่าสนใจมาก ๆ ทีเดียว งั้นมารู้จักอาจารย์ท่านนี้กันหน่อยครับ อาจารย์จบสาธารณสุขศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยทักษิณ แล้วต่อปริญญาโทอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำงานได้สักพักหนึ่ง ก็ไปศึกษาต่อปริญญเอก ได้ PhD. in Human Factors, Heriot-Watt University, UK

ซีรีส์นี้จะเริ่มโพสต์ในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ และพบได้ในทุก ๆ วันที่ 20 ของทุก ๆ เดือนนะครับ

#OHSWA_Meet_the_Academic

Visitors: 361,758