แนะนำผู้เขียน Safety Kaizen and Improvement Idea the Series

โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

แนะนำคุณสิทธิ์ระพี ช้างหมื่นไวย
ผู้เขียน Safety Kaizen and Improvement Idea the Series

แนวทางการดำเนินงานด้าน HSE ของญี่ปุ่นที่โด่งดังมาก ๆ ในบ้านเรา คงหนีไม่พ้น 5ส., KYT, Suggestion System มีหลายบริษัทนำไปใช้งาน และประสบความสำเร็จด้วยดี

และแนวทางตามวิถีไคเซ็นก็น่าสนใจมาก ๆ ที่จะนำมาใช้หรือประยุกต์ในงาน HSE เป็นอีกทางเลือกที่จป.วิชาชีพและคนวงการนี้ไม่ควรพลาดที่จะได้เรียนรู้ และนำไปใช้งานหากถูกใจขึ้นม

คุณสิทธิ์ระพี ช้างหมื่นไวย ศิษย์เก่าอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากมทส. และ Safety Engineer จากมก. และเป็นกรรมการสอป.ด้วย จึงอาสานำเรื่องนี้มาเขียนให้สมาชิกสอป.และผู้สนใจได้ศึกษากัน โดยทำเป็๋นซีรีส์ว่า “Safety Kaizen and Improvement Idea the series” หรือ “แนวคิดการไคเซ็นและการปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน”

อ่านดูคำพรรณนาเกี่ยวกับซีรีส์นี้ครับ ….. “การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารจัดการงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงาน การประเมินความเสี่ยงให้ทราบระดับของความเสี่ยงในการทำงาน รวมถึงขั้นตอนการหาสาเหตุของปัญหาที่มีผลกระทบต่อการทำงานของพนักงาน ควรเลือกใช้วิธีการการค้นหาสาเหตุหรือวิธีการยืนยันผลเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องใช้องค์ความรู้หรือใช้บุคลากรแบบผนึกกำลัง (Synergy) เพื่อให้เกิดแนวคิด (Idea) การปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการค้นหาตัวอย่างแนวทางการปรับปรุงงานจะเป็นช่องทางให้ จป.วิชาชีพ ได้เกิดแนวคิดรูปแบบการปรับปรุงงาน

….. สำหรับการไคเซ็นและการปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยในการทำงานต้องคำนึงถึงว่า... “ทำอย่างไรไม่ให้พนักงานต้องไปสัมผัส” หากไม่มีการสัมผัสก็ย่อมไม่มีอันตรายเกิดขึ้นกับพนักงาน หากจำลำดับการไคเซ็นได้ จะทราบว่าควรจะเริ่มที่การปรับปรุงงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ (Automation Kaizen) หรือเป็นระบบป้องกันความพลั้งเผลอ (Poka Yoke Kaizen) หรือทำงานด้วยตัวอุปกรณ์เอง (Karakuri Kaizen) หรือทำงานด้วยการลดการสัมผัส (No touch Kaizen) หรือการปรับปรุงงานเพื่อความปลอดภัยทั่วไป (General Kaizen) และตามด้วยประเมินผลซ้ำเพื่อยืนยันพร้อมจัดทำมาตรฐานการทำงานที่ปลอดภัย”

พบข้อเขียนของคุณสิทธิ์ระพี ช้างหมื่นไวย ผู้ชำนาญการความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน สำนักความยั่งยืนองค์กร บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ที่เว็บไซต์สอป. ทุก ๆ วันที่ 27 ของเดือน เริ่มครั้งแรกวันที่ 27 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป

#OHSWA_Meet_the_Professional

 

Visitors: 367,503