แนะนำผู้เขียน ซีรีส์ความเสี่ยงเลี่ยง (ไม่) ได้

โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

พบซีรีส์ใหม่ “ความเสี่ยงเลี่ยง (ไม่) ได้”

โดยอ.ดร.วรวิช นาคแป้น แห่งวส.มสธ.

ผมเชื่อว่า คนที่ทำงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมายาวนาน จะเห็นด้วยกับผมว่า สุดยอดวิชาหนึ่งของงานด้านนี้คือเรื่องการประเมินความเสี่ยง Risk Assessment เพราะมันคือแก่นแท้ของการทำงานว่า หากเราชี้บ่งอันตรายได้ แล้วนำมาประมาณระดับความเสี่ยง จากนั้นก็จัดการกับอันตรายที่มีความเสี่ยง ก็มืออาชีพแล้ว


ผมเคยเสนอให้จำง่าย ๆ ด้วยคำว่า HAM ที่มาจาก H = Hazard Identification , A = Assess the hazards และ M = Manage the risks

แต่ Model การทำ Risk Assessment มีมากเหลือเกิน เช่นของ Australian std., American std., British std. เป็นต้น และยังมี ISO 31000 Risk Management อีก (นี้ยังไม่นับที่เป็น Model จากองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ อีกนะ)

อ.ดร.วรวิช นาคแป้น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสธ. เห็นปัญหานี้ทะลุ เพราะหลังจบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากมหิดล ก็ไปต่อปริญญาโทด้าน Risk Control จาก University of Wisconsin-Stout จึงมีดีที่จะเอาทฤษฎีและหลักการทางด้านนี้มาทำให้เข้าใจง่าย โดยยึดเอา Model หนึ่ง (ดูในช่อง comment) มาเป็นตัวอธิบาย แถมอาจารย์ยังจบปริญญาเอก Ph.D. Environmental Health (Industrial Hygiene) จาก University of Cincinnati จึงน่าจะมีข้อมูล สาระสำคัญของเรื่องความเสี่ยงมาอธิบายให้จป.วิชาชีพ/เทคนิคขั้นสูง วิศวกรความปลอดภัย และคนวงการ HSE ได้เรียนรู้กัน

ซีรีส์ใหม่ “ความเสี่ยงเลี่ยง (ไม่) ได้” คืออะไร ลองอ่านที่อาจารย์พรรณนาสั้น ๆ มาให้นะครับ
….. ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ต้องพบเจอเป็นปกติ แต่ความเสี่ยงนั้นสามารถจัดการได้ ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนั้นจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือปัจจัยภายใน เช่น พฤติกรรมในการทำงาน การรับรู้ความเสี่ยง และสภาวะทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น กระบวนการในการจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีส่วนประกอบมากมายและองค์ประกอบเหล่านั้นเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ที่จะนำเอากระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงไปประยุกต์ใช้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในระดับหนึ่ง และในซีรีส์นี้ จะเป็นการเล่าองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบในการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างคร่าว ๆ …..

พบงานเขียน OHSWA Meet the Academic ในซีรีส์ “ความเสี่ยงเลี่ยง (ไม่) ได้” ได้ที่เว็บไซต์สอป. ทุก ๆ วันที่ 15 ของเดือน เริ่มครั้งแรกวันที่ 15 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป

#OHSWA_Meet_the_Academic
 

Visitors: 365,345