“การตรวจสอบ” และ “การทดสอบ” เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

เผยแพร่เมื่อ 30/5/2565
เขียนโดย คุณถาวร ตันเสถียร
               ที่ปรึกษาอาสุโส (Senior Consultant)
               บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด

 

EP.1 เรื่อง “การตรวจสอบ” และ “การทดสอบ”
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

          หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประกาศใช้กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. 2564 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564 และอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง แบบคำขอและรับคำขอใบสำคัญ หรือใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนบุคคลแบบคำขอและรับคำขอใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต หรือการต่ออายุใบอนุญาตของนิติบุคคลใบสำคัญ ใบแทนใบสำคัญ ใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตลงวันที่ 30 กันยายน 2564ผมก็ได้รับคำถามเกี่ยวกับการ ตรวจสอบและ ทดสอบ” เครื่องจักร เข้ามาเป็นระยะๆ โดยคำถามที่มักพบ เช่น

“รถกระเช้าไฟฟ้า ต้องทดสอบโดยวิศวกรไหม?”

“รถยกต้องมีวิศวกรทดสอบประจำปีหรือเปล่า?”

“ปั้นจั่น พิกัดยก10 ตันต้องให้วิศวกรระดับไหนตรวจสอบ?”

“ตรวจสอบลิฟต์เสร็จแล้ว ต้องส่งรายงานไปที่ไหน?”

“วิศวกรตรวจสอบเครื่องปั๊มโลหะ ต้องไปขึ้นทะเบียนหรือเปล่า?”

          จากคำถามข้างต้น ผมคิดว่าปัญหาอาจจะเกิดจากการที่หลายๆท่านเข้าใจว่า “ตรวจสอบ” กับ “ทดสอบ” ก็คงเหมือนกัน   จึงใช้ปนกันไปทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติได้ เราลองมาพิจารณาคำจำกัดความของทั้งสองคำกันครับ

          “การตรวจสอบ” หมายความว่า การตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนหรือกลไกการทำงานของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ภาชนะรับความดัน หรือภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน (1)

          การทดสอบ” หมายความว่า การตรวจสอบ ทดลอง และรับรองการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือกลไกการทำงานของอุปกรณ์เพื่อความถูกต้องและปลอดภัย โดยบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แล้วแต่กรณี (1)

          วิศวกร” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร(1)

          เมื่อพิจารณาคำจำกัดความ ก็พบความแตกต่างที่ชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งเรื่องคือ การตรวจสอบ ไม่ได้ระบุคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบ ส่วนการทดสอบต้องกระทำโดยบุคคลที่ขึ้นทะเบียน หรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาต

          ซึ่งเมื่อเราเข้าใจว่าทั้งสองคำมีความหมายแตกต่างกันแล้ว จึงควรอ่านข้อกฎหมายอย่างรอบคอบและทำความเข้าใจให้ชัดเจน ในที่นี้ผมอยากให้พวกเราลองใช้วิธีง่ายๆ ในการทำความเข้าใจนั่นคือ ใช้คำถามชุด 5W1H ที่พวกเรารู้จักกันดี นั่นเอง

 

          สถานการณ์ตัวอย่าง 1
          
รถกระเช้าไฟฟ้า ต้องทดสอบโดยวิศวกรไหม?”
          
รถกระเช้าไฟฟ้า หรือ Boom lift หมายถึง เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง

          ข้อกฎหมาย
          
ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง นายจ้างต้องตรวจสอบสภาพเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มีสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้งและต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ (2)

          สถานการณ์ตัวอย่าง 2
          
ปั้นจั่น พิกัดยก10 ตันต้องให้วิศวกรระดับไหนตรวจสอบ?”

          ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามประเภทและลักษณะของงานตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งาน ตำมแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

          จากตัวอย่าง สถานการณ์ทั้ง 2 เรื่อง  ผมหวังว่าจะช่วยให้ผู้อ่านจะมีความเข้าใจในเรื่อง การตรวจสอบ และ การทดสอบตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมากเพิ่มขึ้น และสามารถตอบคำถามที่เหลืออีก 3 ข้อได้นะครับ

 

อ้างอิง

(1)กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. 2564 , ข้อ 3

(2)กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. 2564 , ข้อ 49(3)

(3)กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. 2564 , ข้อ 8

(4)กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. 2564 , ข้อ 56

(5)กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ. 2564 , ข้อ 58

(6)ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับสาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2551 , ข้อ 5(4)

(7)ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับสาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2551 , ข้อ 6(4)

(8)กฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 ข้อ 3(5)

 

 

Visitors: 361,575